ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

“ทิศทางกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีในยุค กสทช.”

 "ทิศทางกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีในยุค กสทช."

สรุปเนื้อหา ภาพและเอกสารจากงานสัมมนา "ทิศทางกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีในยุค กสทช."

จัดโดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และบริษัทสยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิตจำกัด เมื่อวันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ อาคารหอประชุม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

สำหรับวิดีโอบันทึกงานเสวนา SIU จะนำเสนอบนเว็บไซต์ในเร็วๆ นี้

"ทิศทางกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีในยุคกสทช."

ข่าวที่รายงานตามสื่อต่างๆ

รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม รักษาการคณะกรรมการ กสทช.

รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม รักษาการคณะกรรมการกสทช.

กล่าวเปิดงาน โดย รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม รักษาการคณะกรรมการกสทช.

ที่ผ่านมาธุรกิจเคเบิลทีวีและโทรทัศน์ดาวเทียมมีอัตราการเติบโตสูงมาก แต่ยังไม่มีองค์กรอิสระที่มีอำนาจเต็มมากำกับดูแล หลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และกำลังอยู่ระหว่างการสรรหา กสทช. ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลสื่อดังกล่าวโดยตรง จะต้องทำหน้าที่ทั้งกำกับดูแล สนับสนุน และยกระดับธุรกิจเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงที่มีผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมาก

ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

ตอนนี้มีทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลฯ รวมกัน 200-300 ช่อง สิ่งที่รู้ตรงกัน คือ 2-3 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของเคเบิ้ลทีวี หรือกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่หรือบอกรับสมาชิก เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซี่งการเป็นคณะอนุกรรมการตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 อัตราการใช้บริการเคเบิ้ลอยูที่ร้อยละ 10 หรือประมาณ 2.5 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนทั้งหมด 20 ล้านครัวเรือน แต่ตอนนี้น่าจะเกินร้อยละ 50 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้องค์กรกำกับต้องเข้าใจ ซึ่งมันจะยุ่งขนาดไหนที่จะมีสัญญาใหม่เกิดขึ้นเป็น 10 ล้านสัญญา

ปัญหา ส่วนใหญ่ คือสัญญาเกี่ยวกับการบริการ ซึ่งมีตัวแปรที่ทำให้คุณภาพต่างๆ ลดลง เช่น มาตรการส่งเสริมการขายหรือขายพ่วง เป็นปัญหาที่อ่านสัญญาแล้วยังมีข้อสงสัย และอีกประเด็นคือเรื่องเนื้อหา เพราะไม่ว่าจะเป็นแซทเทิลไลท์ทีวี หรือเคเบิ้ล จะมีปัญหาที่มีการควบคุมน้อยในปัจจุบัน เพราะองค์กรที่กำกับตัวจริงยังไม่มา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่อไปถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งช่วงนี้เกิดช่องว่างและมีคนพยายามแสวงหาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น เช่น กรณีน้ำหมัก  และที่ไม่แพ้กันคือวิทยุชุมชนก็มีปัญหาลักษณะนี้คล้ายกันมาก

สำหรับ ระบบโทรคมนาคม ในการทำสัญญาได้มีระบุไว้เป็นข้อกำหนดไว้ในสัญญา และทุกสัญญาที่ทำจะต้องมีลักษณะนี้และเป็นมาตรฐานกลางที่ใช้ยึดร่วมกัน ในด้านโทรคมนาคม มีความพยามทำมาหลายปี แต่อาจมีปัญหาเรื่องการตรวจและดูสัญญาที่โอเปอเรเตอร์ทำใช้เวลายาวนานมาก ซึ่งถ้าเรานำแนวคิดนี้มาใช้กับกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ก็เป็นเรื่องน่า จะต้องทำตาม เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ทำงานลำบาก โดยแนวคิดจะแยกประกาศออกเป็น 2 ฉบับ คือ ใบอนุญาต และการประกอบกิจการ

เนื้อหาจาก Thai PBS

คุณวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายกสมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย

คุณวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายกสมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย

คุณวิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายกสมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย

การประกาศใช้พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ทำให้เกิดการขยายตัวของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีจำนวนมาก เพราะเปิดโอกาสให้สามารถหารายได้จากโฆษณาได้ จากจำนวน 300-400 ราย เพิ่มเป็น 800 รายที่มายื่นขอใบอนุญาตชั่วคราว 1 ปีกับ กสทช.ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับการขยายตัวของช่องทีวีดาวเทียมกว่า 100 ช่อง

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการแข่งขันสูงในธุรกิจเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม โดยพบว่ามีการแย่งซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศ ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ จากราคา 300 ล้านบาท ราคาประมูลล่าสุดสูงถึง 2,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ราคาค่าสมาชิกรายเดือนการดูกีฬาดังๆ จากต่างประเทศของผู้บริโภคไทยขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000-2,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ไต้หวันอยู่ที่เดือนละ 500 บาทต่อเดือนเท่านั้น

ดังนั้นจึงต้องการให้ กสทช. เข้ามาดูแลการซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศ ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานกลาง ในการซื้อลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะรายการกีฬาดีๆ ที่ผู้ชมคนไทยทุกคนควรมีโอกาสได้รับชม อีกทั้งเพื่อป้องกันการทุ่มตลาดซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนท์รายการต่างประเทศของผู้ประกอบการรายใหญ่ไว้เพียงรายเดียว

นอกจากนี้ กสทช.ควรเข้ามาสนับสนุน ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี ท้องถิ่นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดการรวมตัว เช่น การรวมตัวซื้อคอนเทนท์ จัดตั้งสถานีส่งสัญญาณ เพื่อลดต้นทุน รวมทั้งสนับสนุนเงินทุนในการผลิตรายการสารประโยชน์ เช่น สถานีข่าวท้องถิ่น เพื่อให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรง และเป็นสื่อชุมชนอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท.

วสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท.

วสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท.

คุณวสันต์เล่าถึงประวัติของวงการโทรทัศน์ไทย และพัฒนาการนับตั้งแต่ทีวีขาวดำ มาจนถึงยุคปัจจุบันที่เป็น HD และ 3D ส่วนระบบช่อง จากเดิมที่เป็นระบบสัมปทาน มีฟรีทีวีแค่ 6 ช่อง แต่ปัจจุบันมีเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และกำลังจะปรับการแพร่ภาพดิจิทัลฟรีทีวี ทำให้ฟรีทีวีมีช่องเนื้อหาได้เยอะขึ้นนับสิบเท่า

แนวทางการกำกับดูแลในอดีตเป็นการผูกขาดเนื้อหาและกำกับโดยรัฐ ภายหลังพัฒนามาในทิศทางที่เปิดกว้างมากขึ้น มีระบบ กบว. และมีช่วงที่เป็น "สุญญากาศ" หลังการตั้ง กสช. ไม่สำเร็จ การเกิดขึ้นของ กสทช. ถือเป็นยุคใหม่ของการกำกับดูแล ตามแนวคิดที่ว่า "ความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ" และ กสทช. ต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง

กฎหมายใหม่ระบุว่าสื่อจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สื่อสาธารณะ (แบบเดียวกับ Thai PBS), สื่อบริการชุมชน และสื่อธุรกิจเต็มรูปแบบ โดยกำหนดว่าสื่อภาคประชาชนต้องได้รับการจัดสรรคลื่นไม่น้อยกว่า 20%

วงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น "ทิศทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแล Content"

วงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้าน ทิศทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแล Content

วงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น "ทิศทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแล Content"

ผู้ร่วมเสวนา

  • รศ.ดร.พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
  • คุณธีรัตถ์ รัตนเสวี Internet & Lifestyle Manager Voice TV
  • คุณเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ GMM Broadcasting
  • ดำเนินการเสวนาโดย คุณอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ Siam Intelligence Unit

รศ.ดร.พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประกาศใช้พ.ร.บ.การประกอบกิจการฯ ปี 2551 ซึ่งสาระสำคัญกำหนดให้เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม หารายได้จากโฆษณาชั่วโมงละ 6 นาที ทำให้เกิดช่องรายการไม่มีคุณภาพ มีการโฆษณาเกินจริง และเป็นสื่อเครื่องมือทางการเมือง ดังนั้นแนวทางกำกับดูแลที่สามารถดำเนินการได้ แบ่งเป็น การควบคุมเนื้อหาโดยผู้ประกอบกิจการ การควบคุมผู้ให้บริการเครือข่าย และการควบคุมเครื่องมือหรืออุปกรณ์การรับชมสื่อ ทั้งนี้รูปแบบที่สามารถควบคุมและดูแลได้ง่ายที่สุดคือ ด้านคอนเทนท์ ที่ผู้ประกอบการในกิจการสื่อควรให้ความสำคัญและดูแลกันเอง

ดร. พิรงรองยังได้นำเสนอแนวทางการกำกับดูแลสื่อแบบต่างๆ ของต่างประเทศ และตั้งข้อสังเกตว่าสื่อไทยอาจใช้ระบบกำกับดูแลกันเองยาก เพราะไม่ยอมตรวจสอบซึ่งกันและกัน ใช้หลักว่า "แมลงวันย่อมไม่ตอมแมลงวัน"

คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

เครือเนชั่นจะมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติด้านจริยธรรม ในการทำหน้าที่สื่อเป็นขององค์กรเอง ซึ่งกำหนดขึ้นจากการปฏิบัติงานจริงในสื่อต่างๆ ของเครือเนชั่น ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่ต่างจากหลักการดูแลกันเองของสภาวิชาชีพสื่อต่างๆ ดังนั้นโดยหลักการกำกับดูแลสื่อในอนาคตหลังเกิด กสทช. จึงไม่ต้องการให้องค์กรอิสระเข้ามากำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลสื่อ แต่ควรจะปล่อยให้สื่อต่างๆ ได้มีบทบาทในการควบคุมดูแลกันเอง

วงเสวนา

วงเสวนา จากซ้าย: ธีรัตถ์, เดียว, พิรงรอง, อดิศักดิ์

คุณธีรัตถ์ รัตนเสวี Internet & Lifestyle Manager Voice TV

Voice TV เป็นช่องข่าว และคนจำนวนมากมาจาก ITV เดิม ก็มีการถ่ายทอดหลักปฏิบัติในการดูแลเนื้อหา มีระบบบรรณาธิการข่าวลักษณะเดียวกับฟรีทีวีทุกประการ เรียกได้ว่าอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และที่ผ่านมายังไม่เคยมีกรณีถูกฟ้องหรือมีข้อขัดแย้งทางเนื้อหา

ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เองก็ได้รวมกันประกาศใช้ธรรมนูญสภาวิชาชีพกิจการการเผยแพร่และการกระจายเสียง (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นการกำกับดูแลกันเองในหมู่วิชาชีพ รวมถึงสภาพการแข่งขันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้ประกอบการควรกำกับดูแลกันเองมากกว่า รัฐเองไม่สามารถดูแลได้หมด กสทช. ควรทำหน้าที่ส่งเสริมผู้ประกอบการเป็นหลัก

คุณเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ GMM Broadcasting

แกรมมี่ผลิตรายการสำหรับฟรีทีวีมาตลอด และการทำทีวีดาวเทียมก็ใช้มาตรฐานเดียวกับฟรีทีวี มุมมองจะเหมือนกับคุณอดิศักดิ์ และคุณธีรัตถ์ ว่าสื่อควรกำกับดูแลกันเอง ในเรื่องโฆษณาก็ไม่ควรกำหนดว่าโฆษณาได้กี่นาที เพราะจากประสบการณ์ของแกรมมี่ ถ้าหากว่ารายการไหนโฆษณามากเกินไป เรตติ้งของรายการจะตกลงเองอยู่แล้ว

http://www.siamintelligence.com/seminar-cable-satellite-tv-slide/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น