ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ชมคลิปงานปาฐกถา "70 ปี อ.ชาญวิทย์" : เศรษฐศาสตร์-ธรรมรัฐ-เสรีภาพ-วรรณกรรม-สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ชมคลิปงานปาฐกถา "70 ปี อ.ชาญวิทย์" : เศรษฐศาสตร์-ธรรมรัฐ-เสรีภาพ-วรรณกรรม-สมบูรณาญาสิทธิราชย์

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:30:00 น.

Share31




เมื่อวันที่  7 พ.ค. ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดงาน "ชุมนุมปาฐกถา 70 ปี ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" โดยในงานมีการปาฐกถาจากนักวิชาการได้แก่ ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร, รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ, รศ.ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, รศ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ และ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล

 

 

 

"เศรษฐศาสตร์(ของ)การเมืองไทย" โดย ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร

 

ศ. ผาสุก กล่าวตอนหนึ่งว่า การกระจุกตัวของทรัพย์สินในประเทศไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ เราไม่มีข้อมูลพอจะตอบ แต่อาจดูได้จากแนวโน้มการกระจายรายได้ ที่ข้อมูลย้อนไปถึง 2503 แสดงให้เห็นว่าเพิ่มตลอด โดยเฉพาะ 2523 รายได้จีพีดีสูงขึ้น แต่การกระจายรายได้เมืองไทยเลวลงตลอด แนวโน้มการกระจุกตัวของทรัพย์สินในเมืองไทยสูงขึ้น

 

 

อ่านสรุปฉบับเต็ม คลิกที่นี่

 

 

 

"ธรรมรัฐ/ธรรมาภิบาล : จากไอเอ็มเอฟ สู่ใต้ร่มธรรมราชา" โดย ผศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ

รศ.ดร. เกษียร ได้วิจารณ์การเข้ามาของวิถีการดำเนินของธรรมรัฐ, ธรรมาภิบาลในสังคมของเราจากมุมมอง หรือแนวพินิจการเมืองทางวัฒนธรรม โดยมุ่งไปที่ "กระบวนการแปล" ธรรมรัฐ, ธรรมาภิบาล และดำเนินไปขับเคลื่อนในความเป็นจริง

 

โดยกล่าวในการปาฐกถาตอนหนึ่งว่า ไทยใช้คำว่า "ไอเอ็มเอฟ" ให้กลายเป็น "Good Governance"   จนกลายเป็น"ธรรมรัฐ" ซึ่งแยกความหมายตามการให้ความหมายของนักวิชาการได้อีกเป็นห้าฝ่าย มีการให้ความหมายหลากหลาย

 

สุดท้าย ธรรมรัฐ กลายมาเป็น "ธรรมาภิบาล" และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรมต่อต้านปชต.ของพลังการเมืองบางกลุ่ม

 

 

อ่านสรุปฉบับเต็ม คลิกที่นี่

 

 

 

"สิทธิเสรีภาพ หลังทักษิณ/หลังอภิสิทธิ์" โดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

 

รศ.ดร.อุบลรัตน์ นำเสนอผลการศึกษาของ"องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน" ที่จัดทำดัชนีเสรีภาพสื่อด้วยการส่งคำถามไปยังสมาชิก   ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยก่อนการรัฐประหารปีพ.ศ. 2549 ทำสถิติอยู่ลำดับที่ 107 อยู่ในครึ่งล่างของจำนวนประเทศที่รับการสำรวจทั้งหมด 167 ประเทศ ซึ่งเป็นแค่ลำดับสูงสุดของไทยที่เคยทำได้ จากนั้นมาก็ดิ่งลงเรื่อยเมื่อพ.ศ. 2549 อยู่ที่อันดับ 122 พ.ศ. 2550 หล่นมาที่อันดับ 135 พ.ศ. 2551 อยู่ที่อันดับ 124 พ.ศ. 2552 หล่นลงมาที่ 130 ขณะที่พ.ศ. 2553 ที่เกิดการปรราบปรามผู้ชุมนุมไทยอยู่ที่อันดับ 153 (จาก170 ประเทศ) เกือบรั้งท้าย

 

 

อ่านสรุปฉบับเต็ม คลิกที่นี่

 

 

 

"ยุคเปลี่ยนผ่านวรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยยุคเปลี่ยนผ่าน" โดย รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

 

รศ.ชูศักดิ์ กล่าวว่า มีความพยายามในยุคสมัยของกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา ในการสร้างนิยามของการเขียน นิยามของวรรณคดีในฐานะอาชีพอิสระที่ปลอดจากรัฐและทุน ในขณะเดียวกันก็พยายามจะสร้างนิยามของการเขียนให้กลายเป็นผู้ยึดมั่นในอาชีวปฏิญาณ หรือจรรยาบรรณวิชาชีพในภาษาปัจจุบัน โดยนิยามความเป็นนักเขียนและสื่อมวลชนว่าเป็นผู้ซื่อสัตย์ต่อความจริง มุ่งผดุงความยุติธรรม และเป็นปากเสียงให้ผู้ต่ำต้อยและผู้ถูกกระทำ

 

แต่ปัจจุบัน กลับไม่แสดงออกต่อเหตุการณ์สังหารประชาชนระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งอธิบายได้ง่ายๆ ว่า นักเขียนในยุคสมัยการเปลี่ยนผ่านปัจจุบัน เกิดปรากฎการณ์วิปริต วิปลาส ไม่ต่างกับที่เกิดขึ้นในแวดวงตุลาการ สื่อมวลชน และนักวิชาการ ฯลฯ อาการวิปลาสเบื้องต้นของเหล่านักเขียน-กวี ที่ไม่ลุกขึ้นมาแสดงออกต่อเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค.2553 คืออาการ หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้

 


 

อ่านสรุปฉบับเต็ม คลิกที่นี่


 

 

"มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน" โดย ดร.ธงชัย วินิจจะกูล

 

ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า ตนพูดในบริบทที่ไม่ใช่เป็นการเปรียบเทียบกับปัจจุบัน แต่จะพูดในเชิงประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง 80 - 100 ปีที่ผ่านมา หรือมองความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นมีการเปลี่ยนแปลงในมุมกว้าง

 

ในมุมมองของ ดร.ธงชัย คิดว่ามรดกของระบอบนี้ยังอยู่ แม้จะมีการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง สิ่งที่สำคัญก็คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยังคงเป็นรากฐานของสังคมอยู่หลายด้าน และคณะราษฎรก็สืบทอดอะไรหลายๆ อย่างจากระบอบนี้ หากมองย้อนไปในอดีตแล้วระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ไม่ได้ลดบทบาทลงด้วย และจะเป็นฐานของสังคมไทยอีกต่อไป

 

 

อ่านสรุปฉบับเต็ม คลิกที่นี่


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304942374&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น