ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ครม.ตั้งทีมเอาผิดแก้สัมปทานมือถือ

ครม.ตั้งทีมเอาผิดแก้สัมปทานมือถือ

วันที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 01:25:23 น.

Share

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและผู้เกี่ยวข้อง อันเป็นผลจากคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่พิพากษาให้ยึดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 46,373 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย โดยมีนายอำพล วงศ์ศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องก้นและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นประธาน สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้แก่ การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาสัมปทานโทรคมนาคม เพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานและรายละเอียดตามความเสียหายที่เกิดขึ้น การหาตัวผู้กระทำผิดในการแก้ไขสัญญาสัมปทาน เอื้อประโยชน์ให้คู่สัญญาทั้งการแก้ไขสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี และสัญญาสัมปทานที่ทำให้รัฐเสียหาย ส่วนรายชื่อคณะกรรมการสอบสวนฯ ประกอบด้วย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ พ.ต.อ.สีหนาถ ประยูรรัตน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้แทนสำนักงาน ป.ป.ท. ผู้แทนสำนักงาน ปปง. ผู้แทนจากดีเอสไอ ตัวแทนจากกระทรวงไอซีที พ.ต.ท.บรรณฑูรย์ ฉิมกรา นายนที มีชัย นายสุจินต์ สิริอภัย น.ส.ปัทมาวดี พงศ์สวัสดิ์ นายภัทระ หลักทอง นายมนตรี รอดแถม


ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษา 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (นักการเมือง) ข้าราชการประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งที่เกษียณราชการไปแล้ว และยังอยู่ในตำแหน่งทั้งระดับสูงและระดับล่าง คณะกรรมการในหน่วยงานของรัฐ และบุคคลภายนอก ที่ร่วมกันทำการกระทำมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดทางวินัย ความผิดทางอาญา และความผิดทางละเมิด ซึ่งถือว่าเกินขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสอบสวนฯ จึงต้องอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดใหม่ ขณะเดียวกันควรส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อดำเนินการกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อ


                          http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304517410&grpid=03&catid=00

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น