ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สปส.เล็งรีดเงินผู้ประกันตน

ข่าวหน้า1 ข่าวหน้า1
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ   
วันพุธที่ 04 พฤษภาคม 2011 เวลา 09:21 น.

สปส.เล็งเก็บเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เพิ่ม หลังพบรายจ่ายมากกว่ารายรับเท่าตัว หวั่นกระทบเงินกองทุนในระยะยาว หลังจากจ่ายบำเหน็จ บำนาญให้ผู้ประกันตนปี 2557 ทั้งเผยความคืบหน้าการคืนสิทธิผู้ประกันตนม.39 อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกาศบังคับใช้
 นางสมพร ทองชื่นจิตต์ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สปส. กำลังศึกษาถึงแนวทางการจัดเก็บเงินสมทบผู้ประกันตนตามพ.ร.บ.ประกันสังคม มาตรา 39  เพิ่มเติม เนื่องจากจำนวนผู้ประกันตนเพิ่มมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีจำนวนสูงถึงประมาณ 7 แสนคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายในปัจจุบัน เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 432 บาท และเป็นอัตราที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2538 รวมแล้วเป็นเวลากว่า 16 ปี ที่ใช้ในอัตราเดิม จึงมองว่าไม่ เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน 
 ทั้งนี้เนื่องจากรายรับกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงไม่สมดุลกัน กล่าวคือรายจ่ายมากกว่ารายรับถึงเท่าตัว ประกอบกับในปี 2557 ที่จะถึงนี้ ทางสปส.จะเริ่มจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตนกรณีชราภาพ ในรูปของบำเหน็จและบำนาญ หากสถานภาพยังเป็นอยู่อย่างนี้ อาจส่งผลให้กองทุนไร้เสถียรภาพได้ เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมชราภาพ
 "จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางคณะผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม จึงมีแนวคิดที่จะปรับเพิ่มฐานเงินเดือนเฉลี่ยใหม่ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับตามสภาพความเป็นจริงของสังคมขณะนั้น  และเมื่อได้ฐานเงินเดือนที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยที่ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเพิ่มเติม หากตัวเลขและแนวคิดดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดประกันสังคม ก็จะสามารถแก้กฎกระทรวงและให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ หากผ่านก็จะสามารถประกาศใช้ได้ทันที"
 นางสมพร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ผู้ประกันตนตามมาตร 39 คือกลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา33 เดิม ที่ออกจากงานและสมัครเข้าประกันสังคมในสถานะผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ จากกองทุนประกันสังคม โดยปัจจุบันสปส.ได้ดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบในอัตรา 9% ของค่าจ้าง 4,800 บาท ยกเว้นกรณีว่างงาน คิดเป็นเงินสมทบเดือนละ 432 บาท  
 ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ซึ่งในจำนวนเงินสมทบนี้ จะแบ่ง อัตรา 3% ของค่าจ้างหรือคิดเป็นเงินจำนวน 144 บาท จัดเก็บไว้เพื่อสิทธิประโยชน์ 4 กรณี คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต และเงินสมทบในอัตราร้อยละ 6 ของค่าจ้าง คิดเป็นเงิน 288 บาท จัดเก็บไว้เป็นเงินออมกรณีชราภาพ และผู้ประกันตนจะได้รับเงินออมคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลง 
 ต่อเรื่องนี้ นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สปส.กำลังศึกษาเรื่องแนวทางการจัดเก็บเงินสมทบเพิ่มเติมจากผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จริง โดยจะปรับให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา33 โดยคิดจากค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท แต่คงไม่ใช่ฐานค่าจ้างเดียวกัน เพื่อสร้างทางเลือกให้กับผู้ประกันตน ซึ่งตัวเลขจะเป็นเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับตามสภาพความเป็นจริงของสังคม 
 "ผมตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะให้แล้วเสร็จก่อนปี 2557 ก่อนที่จะเริ่มจ่ายเงินให้ผู้ประกันตนกรณีชราภาพ แต่จะเป็นไปได้ตามเป้าหมายหรือไม่นั้นก็ต้องดูปัจจัยอื่นเพิ่มเติมเช่น รอความเห็นชอบจากรัฐบาลชุดใหม่ รอผลการทำประชาวิจารณ์ รอสภาอนุมัติ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนใช้ระยะเวลาด้วยกันทั้งสิ้น" 
 ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมถึงตัวเลขที่มีความเป็นไปได้ในการปรับเพิ่มฐานค่าจ้างในการส่งเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นว่า หากพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ตัวเลขที่มีความเหมาะสมก็คือจำนวน  8,000 บาท ซึ่งหากคำนวณวิธีการเก็บเงินสมทบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคืออัตรา 9 % ของค่าจ้าง ผู้ประกันตนก็จะต้องส่งเงินสมทบเพิ่มเป็นเดือนละ 720 บาท
 ส่วนกรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดส่งเงินสมทบเกิน 3 เดือน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน และถูกตัดสิทธิไปแล้ว ซึ่งมีจำนวนมากที่ได้ร้องเรียนให้มีการแก้ไขกฎหมายนั้น  ขณะนี้เรื่องดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากวุฒิสภาแล้ว และอยู่ในขั้นตอนรอการประกาศบังคับใช้ต่อไป   โดยในปัจจุบันมีสถิติผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพจำนวน 715,071 คน ซึ่งมีการกลับเข้ามา เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 บางส่วน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ที่จะได้รับสิทธิกลับคืน 2 กรณี คือ ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกันจำนวน 479,494 คน และภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนจำนวน 19,417 คน 
 ดังนั้นยอดผู้ขาดส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 มีจำนวนทั้งสิ้น 498,911 คน ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการเพื่อคืนสิทธิให้แก่ผู้ประกันตนที่ ถูกตัดสิทธิดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงได้ตามเดิม ทั้งนี้ในปี 2553 ที่ผ่านมากองทุนประกันสังคม มีเงินลงทุนรวม 789,1818 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นผลกำไรจากการลงทุน จำนวน 33,750 ล้านบาท สูงกว่าปี 2552 จำนวน 7,716 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 26.71 %  ซึ่งเป็นผลมาจากราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงปลายปี 
 สำหรับในปี 2554 นี้ สปส.ตั้งเป้าจะให้กองทุนประกันสังคมมีผลกำไรรวม ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท โดยจะนำเงินไปลงทุนประมาณ 150,000 ล้านบาท เน้นการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่า 70% และลงทุนในหุ้นไม่เกิน 10% นอกจากนี้ยังเตรียมนำเงินอีกจำนวน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในตลาดต่างประเทศ หลังจากที่ผ่านมา มีการลงทุนอยู่แล้วราว 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในตัวพันธบัตร ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมรับการเจริญเติบโตของกองทุนที่จะมีมูลค่ามหาศาลในอนาคต ซึ่งตลาดหุ้นไทยไม่สามารถรองรับได้ 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,632   5-7  พฤษภาคม พ.ศ. 2554


http://goo.gl/PO6Ru


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น