ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ของเล่นจากป่า สะบ้าเณรน้อย

 


  
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7477 ข่าวสดรายวัน


ของเล่นจากป่า สะบ้าเณรน้อย


คอลัมน์ สดจากเยาวชน
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com



เสียงหัวเราะและเสียงเชียร์ดังลั่นวัดเขาเหล็ก เณรน้อยและเพื่อนๆ กำลังดวลเกมสะบ้า

ลูกแข็งๆ กลมๆ แบนๆ บวกความแม่นยำทำแต้มรุกและรับผลัดกันไปมา

สะบ้า ไม้เถาที่มักจะพบอยู่ตามป่าดงดิบทั่วไป เป็นไม้ใหญ่ ออกผลเป็นฝักยาว แข็งและหนา ลูกสะบ้าที่อยู่ข้างในนำมาทำเป็นของเล่นได้ 

การเล่นสะบ้า เป็นการละเล่นของไทยในหลายชุมชนหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เหตุที่เรียกว่า "สะบ้า" ก็เพราะนำเอาลูกสะบ้ามาเป็นเครื่องมือในการเล่น ด้วยลักษณะของลูกสะบ้าที่ธรรมชาติออกแบบให้มีเปลือกแข็ง ลักษณะกลม แบนแต่ตรงกลางนูน ล้อได้ดี จึงถูกนำเอามาเป็นการ ละเล่นที่สร้างความครึกครื้นและเสียงหัวเราะ 

สำหรับชาวกะเหรี่ยงบ้านเขาเหล็ก ต.เขาโจด อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี แล้ว เป็นการเล่นยามว่างต้อนรับฤดูร้อน ฤดูกาลที่ว่างจากการทำไร่และพักผ่อน แต่สำหรับเด็กๆ แล้วอยากจะเล่นเมื่อไหร่ก็นัดกันมา ของเล่นจากธรรมชาติใกล้บ้านจะเล่นเมื่อไหร่ก็ย่อมได้



ความสดใส ความสนุกสนาน สิ่งนี้มาคู่กับเด็กๆ สามเณรก็อยู่ในวัยเด็ก แม้จะมีกิจทางสงฆ์ แต่อย่างไรก็ตามช่วงเวลาการเล่นเพลิดเพลินก็ย่อมต้องการไม่แตกต่างจากเด็กคนอื่น 

ลานวัดเขาเหล็ก จึงเป็นลานแห่งความสุข ความสนุก รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ วันไหนมีนัดเล่นสะบ้า สนามหน้ากุฏิหลวงพ่อจะถูกดัดแปลงเป็นสนามแข่งขันสะบ้าขนาดย่อม ให้สามเณรและเพื่อนๆ ได้วาดลวดลายลีลาการโยนสะบ้ากันเต็มที่ 

การเล่นสะบ้าของแต่ละพื้นที่อาจแตกต่างในเรื่องกติกาและวิธีการเล่น ขึ้นอยู่กับการสืบทอดและการเรียนรู้จากผู้ใหญ่

การเล่นสะบ้าในแบบฉบับของเด็กๆ บ้านเขาเหล็กเป็นอย่างไร ด.ช.สมศักดิ์ บุญมาก หรือ น้องเหล็ก อธิบายว่า "สมมติว่าเล่นเกม 20 ลูกก็ตั้ง 20 ลูกเท่าๆ กัน ลูกที่เขวี้ยง 20 ลูกที่ตั้งก็ 20 ลูก เขวี้ยงของเขาล้มหมดก็เป็นฝ่ายชนะ"

เด็กๆ แบ่งเป็น 2 ทีม มีผู้เล่น 4 คนหรือมากกว่า ตั้งฐานลูกสะบ้าของแต่ละฝ่ายระยะห่างตามตกลงกัน โดยจำนวนลูกสะบ้าที่ใช้เป็นตัวโยนและตัวตั้งจะต้องเท่ากัน ลูกสะบ้าของฝ่ายใดถูกเขวี้ยงล้มหมดก่อน จะตกเป็นฝ่ายแพ้และถูกทำโทษ ช่วงเวลานี้ดูเด็กๆ จะสนุกเป็นพิเศษ



"คนชนะมีสิทธิ์สั่งอะไรได้หมด คนแพ้ต้องทำตามคนชนะ สั่งให้ไปตักน้ำก็ต้องไป ให้มาตั้งให้ ก็ต้องทำ เมื่อกี้ผมให้เขาไปตักน้ำมาให้ครับ" สามเณรชมภู ภูผาพิพัฒน์ผล หรือ สามเณรเกียจ อธิบายฐานะผู้ชนะในเกมแรก 

การเล่นสะบ้าโยนได้หลายท่า แต่ละพื้นที่อาจมีชื่อเรียกที่ต่างกัน ชาวกะเหรี่ยงที่นี่เรียกว่า "สิ" เป็นท่าที่ผู้ใหญ่ใช้แข่งขัน ต้องอาศัยความเร็ว แรงและแม่นยำ คนที่สิไม่เป็นจะใช้วิธีการโยนเช่นเดียวกับเด็กๆ สามเณรชมภูฝึกการ "สิ" ได้แล้ว และบอกว่าวิธีนี้จะทำให้ลูกออกตัวแรงและปั่นดีแถมแม่นดีด้วย

เด็กๆ เรียนรู้ทักษะความแม่นยำความสามัคคีในหมู่เพื่อนพ้อง และความมีน้ำใจได้จากการแข่งขันสะบ้า 

น้องเหล็ก บอกว่า "ลูกสะบ้าที่ใช้โยนต้องแบ่งให้เท่าๆ กันครับ มี 20 ลูก เล่นกัน 4 คน ก็ต้องแบ่งเท่ากัน จะได้ไม่ต้องเอาเปรียบกันครับ"

"รู้ไหม สะบ้าเขาเก็บมาจากไหน" เด็กน้อยถามด้วยน้ำเสียงภูมิใจในสิ่งที่มีในธรรมชาติบ้านของตนเองซึ่งยังคงอุดมสมบูรณ์ มีของเล่นจากธรรมชาติให้พวกเขาได้เล่นสนุกๆ 

"มันอยู่ในป่าที่สมบูรณ์ครับ อยู่ในป่าลึก มีต้นไม้เยอะๆ มีลำห้วย น้ำตก ผมเคยไปเก็บแล้วมันร่วงและไหลมาตามน้ำ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็ไปเก็บมาจากบนต้นครับ" น้องเหล็กอธิบาย

เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเขามีประโยชน์ เห็นคุณค่าและตระหนักในทรัพยากรธรรมชาติที่พวกเขาพึ่งพิง อย่างน้อยมีป่าก็มีสะบ้าเล่น ความคิดเล็กๆ เช่นนี้เองเป็นพื้นฐานนำมาสู่การดูแลรักษาป่าที่อาศัยอยู่

ความสนุกสนาน รอยยิ้มสดใสกับของเล่นจากธรรมชาติฉบับเด็กๆ บ้านเขาเหล็ก ทุ่งแสงตะวันเก็บภาพมาฝาก เสาร์นี้ช่อง 3 เวลา 06.25 น. www.payai.com


หน้า 24

http://goo.gl/u707N



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น