ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศึก "กสท-ดีแทค-ทรูมูฟ" ยังวุ่นไม่จบ


ศาลปกครองนัดฟังคำตัดสิน 18 พ.ค.นี้ หลังไต่สวนคดี ดีแทค ฟ้อง กสท ให้ 3 จีทรูมูฟ ร่วม 3 ชั่วโมง นัดส่งรายละเอียดอีกครั้ง 12 พ.ค. …

 

เมื่อเวลา 09.30 น. 10 พ.ค. ศาลปกครองได้ไต่สวนคดีหมายเลขดำที่ 871/2554 ระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ผู้ฟ้อง และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ถูกฟ้อง โดยดีแทคได้ส่งทีมงานด้านกฎหมายมาให้ข้อเท็จจริง ขณะที่ กสท นำทีมโดยนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และฝ่ายกฎหมายรวมทั้ง นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายกฎหมายของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) และทีมกฎหมายของกลุ่มทรูมาในฐานะคู่สัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมแบบใหม่ เพื่อให้บริการ 3 จี กับ กสท โดยการไต่สวนครั้งนี้ศาลเปิดให้ตัวแทนสื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ทั้งนี้ หลังจากศาลใช้เวลาในการรับฟังข้อเท็จจริงจากคู่กรณีกว่า 3 ชั่วโมง ศาลได้ให้คู่กรณีส่งรายละเอียดกลับมายังศาลอีกครั้งในวันที่ 12 พ.ค.นี้ และศาลจึงได้นัดคู่กรณีมาฟังคำตัดสินในวันที่ 18 พ.ค.54 ว่าคดีดังกล่าวจะเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนปี2535) และคำตัดสินว่าจะคุ้มครองฉุกเฉินตามคำฟ้องร้องหรือไม่

สำหรับรายละเอียดของการไต่สวนข้อเท็จจริง ศาลเริ่มสอบถามว่า เหตุใดสัญญาระหว่าง กสท กับบริษัท ฮัทชิสัน จำกัด ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุน โดย กสท ชี้แจงว่า เพราะการทำสัญญากับฮัทชิสันเป็นสัญญาการทำตลาด จึงไม่เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ และการทำสัญญากับบริษัท บีเอฟเคที จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของฮัทชิสันฯ เป็นสัญญาเช่าก็ไม่จำเป็นต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนเช่นกัน แม้ต่อมาคณะกรรมกฤษีกาเคยตีความว่าสัญญาดังกล่าวต้องเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุน แต่เมื่อจะมีการซื้อขายกิจการระหว่างกสทกับฮัทช์แล้ว คณะกรรมการ (บอร์ด) กสท ในช่วงดังกล่าว จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการมาตรา 13 และ 22 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน ส่วนสาเหตุที่ต้องหยุดการให้บริการโทรศัพท์ระบบซีดีเอ็มเอแล้วเปลี่ยนมาเป็นระบบเอชเอสพีเอ เพื่อให้บริการ 3 จีนั้น เพราะเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ล้าสมัย และทำให้ กสท ขาดทุนปีละ 2,000-3,000 ล้านบาท และกลุ่มฮัทชิสัน จะขาดทุน1 ฉะนั้น กสท จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อให้องค์กรและรัฐได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด ไม่เฉพาะผู้ใช้ระบบซีดีเอ็มเอ 1.2 ล้านเลขหมายเท่านั้น เพราะผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ซีดีเอ็มเอจะไม่สามารถติดต่อสื่อสารผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อีก 75 ล้านเลขหมายได้

นอกจากนี้ กสท จะได้รับความเสียหายจากการลงนามในสัญญากับกลุ่มทรู เพราะไม่มีความต่อเนื่องในสัญญาอีกทั้งจะถูกฟ้องร้องระหว่างกัน รวมถึงมีผลกระทบต่อการจัดหาแหล่งเงินกู้และอุปกรณ์โทรคมนาคม กระทบต่อรายได้ของ กสท และต่อเนื่องการนำส่งรายได้เข้ารัฐไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท ขณะที่ประชาชนจะเสียโอกาสในการใช้บริการ 3 จี ทั้งที่ กสท ได้รับคลื่นความถี่จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) อย่างชอบธรรม และหากการทำสัญญาขายส่ง-ขายต่อให้กลุ่มทรูไม่เป็นไปตามกฎระเบียบเหตุใดดีแทคจึงได้ยื่นขอเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเช่าใช้โครงข่าย (เอ็มวีเอ็นโอ) จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ระหว่างที่ กสท ชี้แจงต่อศาลนั้นทางตัวแทนกลุ่มทรูได้ขอสิทธิ์ในการชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมในฐานะพยานและคู่สัญญาที่ได้รับผลเกี่ยวเนื่องจากคดีดังกล่าว โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้สื่อมวลชนออกนอกห้องไต่สวน เพราะเป็นความลับทางธุรกิจไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้ แต่ศาลแจ้งว่าไม่ต้องชี้แจงในรายละเอียด ขอให้ชี้แจงเฉพาะประเด็นการทำสัญญาเท่านั้น ซึ่งศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ตัวแทนสื่อมวลชนออกไปแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนทรูแจ้งว่า ทรูต้องกู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสัญญาเงินกู้ระยะสั้น 6,300 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.-27 ก.ค.นี้ อัตราดอกเบี้ยเดือนละ 50 ล้านบาท และขณะนี้กลุ่มทรูกำลังเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อทำสัญญากู้ระยะยาววงเงิน 49,000 ล้านบาท จากธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทิสโก้ ธนาคารออมสิน ธนาคารธนชาติ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (เอ็กซ์ซิม แบงก์) ซึ่งคาดว่าจะทำสัญญาในเร็วๆ นี้ โดยวงเงินกู้ดังกล่าวจะนำมาใช้หนี้เงินกู้ระยะสั้นธนาคารไทยพาณิชย์บวกดอกเบี้ย รวม 6,600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะนำมาลงทุน อีกทั้งบริษัทบีเอฟเคที ในเครือทรู ได้สั่งซื้ออุปกรณ์ไปแล้ว 3,300 ล้านบาท เพื่อนำมาปรับปรุง (อัพเกรด) โครงข่ายเดิมให้เป็น 3 จี ขณะที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ได้ลงทุน 215 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนระบบการจัดเก็บเงิน (บิลลิ่ง) เพื่อรองรับการเปิดให้บริการ

ขณะที่ตัวแทนฝ่ายดีแทค ในฐานะผู้ฟ้อง โต้แย้งว่า เหตุใดทรูจึงชี้แจงและตอบคำถามการทำสัญญาแทน กสททั้งหมด ซึ่งอาจเป็นเพราะเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือไม่ ซึ่งศาลเปิดโอกาสให้ชี้แจง เพราะเป็นการให้ข้อเท็จจริงเท่านั้น โดยดีแทคชี้แจงเพิ่มเติมว่า หากสัญญาไม่เป็นไปตามกฎหมายก็ต้องผิดกฎหมาย อย่านำมารวมว่าจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ และจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค เพราะผิดกฎหมายคือผิดกฎหมาย ซึ่งทุกคนต้องทำตามกฎหมาย ส่วนกรณีที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์ระบบซีดีเอ็มเอหรือไม่นั้น ดีแทคชี้แจงว่าจะเป็นผลดีต่อลูกค้า เพราะจากเดิมสัญญาจะใช้ระบบซีดีเอ็มเอ 3 จี เป็นเวลา 5 ปี แต่เหลือเวลาแค่ 2 ปี ซึ่งถือว่าลูกค้าเสียประโยชน์ อีกทั้งปัจจุบันการเปิดให้บริการ 3 จี ก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศเท่านั้น ส่วนการประสบปัญหาการขาดทุนของ กสท นั้น เป็นเพราะการบริหารจัดการของ กสท เอง ซึ่งไม่ควรนำผลความเสียหายทางธุรกิจของ กสท มาอ้างได้

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 10 – 05 – 2554


 http://goo.gl/T4YGN

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น