ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กมธ.กฎหมายฯพบพิรุธสั่งปิด 13 สถานีแดง หมายศาล-ข้อหาไม่ตรงกัน

วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:18 น.  ข่าวสดออนไลน์ 


กมธ.กฎหมายฯพบพิรุธสั่งปิด 13 สถานีแดง หมายศาล-ข้อหาไม่ตรงกัน

 ที่รัฐสภา นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ สส.กทม. พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร แถลงการณ์ถึงผลประชุมของกมธ.ในวันเดียวกันนี้ว่า ได้พิจารณากรณีที่ชมรมสื่อมวลชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รับผลกระทบจากการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ปิดสถานีวิทยุชุมชน 13 สถานี โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือ อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) สำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) 
 
 โดยนายไพโรจน์ กล่าวว่า รับทราบจากกทช.ว่าตอนนี้ยังไม่มีกฎหมายการควบคุมหรือจัดระเบียบกิจการวิทยุชุมชนกว่าหมื่นสถานีในประเทศไทย เพราะยังไม่มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำให้การออกอากาศของวิทยุชุมชนขณะนี้จึงเป็นลักษณะทดลองการออกอากาศ ดังนั้นกมธ. เห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐจึงไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้หาก 13 สถานี ทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันจริง ทาง สตช. ระบุว่า จะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการสตช.ที่รับผิดชอบเสียก่อน จึงจะสามารถเข้าทำการจับกุมได้ แต่เรื่องดังกล่าวไม่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการชุดดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ร้องยังเชื่อว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นไปเพื่อปกป้องพรรคประชาธิปัตย์

 

 ด้านนายจุติพงษ์ พุ่มมูล เลขาชมรมสื่อฯ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวมีข้อผิดสังเกตหลายประการ ตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นลักษณะเลือกปฏิบัติ เพราะในเมื่อกทช.ระบุว่าไม่มีอำนาจในการปิดวิทยุชุมชน จึงเห็นว่าการออกอากาศดังกล่าวสามารถกระทำได้ ไม่เข้าใจว่าในเมื่อวิทยุชุมชนมีเป็นหมื่นสถานี ทำไมมาปิด เฉพาะ 13 สถานี ถ้าจะปิดก็ต้องปิดทั้งหมด ซึ่งถือว่าเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ที่สำคัญ มีจุดที่ผิดสังเกตคือการอ้างข้อกฎหมายในการจับกุม เพราะข้อกล่าวหาที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ คือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ปรากฏว่าในหมายศาลที่ขอทำการตรวจค้นสถานีวิทยุชุมชน ไม่ได้ระบุข้อหาดังกล่าวเพียงแต่มีการระบุว่าไม่มีใบอนุญาตในการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน จึงสงสัยว่าการดำเนินการดังกล่าวมาจากเหตุผลทางการเมืองหรือไม่


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd05EUTVNelV6Tnc9PQ==&sectionid=


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น