ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ราชประสงค์-รวันดา

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7477 ข่าวสดรายวัน


ราชประสงค์-รวันดา


คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



เวียนมาครบรอบ 1 ปีแล้ว สำหรับเหตุการณ์สลายม็อบแดง 19 พ.ค.ที่แยกราชประสงค์

การชุมนุมเพื่อรำลึก 91 ศพของคนเสื้อแดงเป็นข่าวกระหึ่มไปทั่วโลก

สำนักข่าวต่างประเทศให้ความสนใจติดตามทำข่าวนี้กันถ้วนหน้า

โดยเฉพาะสำนักข่าวเอพีของสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่สกู๊ปข่าวเรื่อง "บาดแผลที่ยังไม่เยียวยา" ของ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด 1 ใน 6 ศพที่ถูกสไนเปอร์สังหารในวัดปทุมวนารามฯ 

ตีแผ่ถึงหัวอกของผู้เป็นแม่ที่ทวงถามถึงความยุติธรรมที่ยังไม่ได้รับหลังผ่านไป 1 ปีเต็มๆ

กรณีของน้องเกดเป็นแค่ 1 ใน 6 ศพที่ถูกฆ่าในวัดปทุมฯ ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน

เป็นเพียงแค่ 1 ใน 91 ศพเหยื่อสังหารหมู่ใจกลางเมืองหลวง

ฉะนั้น การรายงานข่าวของเอพีครั้งนี้

ถือเป็นการตอกย้ำความไม่ยุติธรรมและความ 2 มาตรฐานในเมืองไทย

ประจานไปทั่วโลกถึงเหตุการณ์การสูญเสียของพลเรือนที่เรียกร้องประชาธิปไตย

ประจานการใช้กำลังพร้อมอาวุธสงครามเข้าปราบปรามประชาชน

และเมื่อเกิดการสูญเสียแล้ว

รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากไม่ยอมรับผิดชอบ

ยังโยนความผิดให้คนชุดดำ โยนความผิดให้คน เสื้อแดง

แต่ข้อเท็จจริงก็คือคดีความ 91 ศพ คดีผู้บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันคนไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ หรือ (คอป.) ซึ่งแต่งตั้งโดย นายอภิสิทธิ์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้เลยว่าใครเป็นคนสั่งฆ่า 91 ศพ

ทั้งหมดนี้ นายอภิสิทธิ์ต้องตอบสังคมโลกให้ได้ ไม่ใช่มัวแต่ปัดความรับผิดชอบ

ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่ การสังหารหมู่ครั้งใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้สั่งการแทบไม่มีใครพ้นมลทินไปได้เลย

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาชญากรรมสงครามรวันดาแห่งสหประชาชาติ (ICTR) ตัดสินจำคุก ออกุสติน บิซิมุนกู อดีตผู้บัญชาการกองทัพของรวันดา เป็นเวลา 30 ปี

ในความผิดฐานบัญชาการให้เกิดการสังหารหมู่ทางเชื้อชาติในรวันดาเมื่อปี 2537 ซึ่งเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สะเทือนขวัญไปทั่วโลก

การตัดสินคดีสังหารหมู่ที่รวันดา น่าจะเป็นบทเรียนให้ ผู้นำเผด็จการหลายคนได้ฉุกคิด

และน่าจะเป็นบทเรียนสำหรับไทยด้วยเช่นกัน


เพราะหากมีการนำคดีสังหารหมู่ 91 ศพขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้จริงๆ

2-3 คนในเมืองไทยต้องหนาวๆ ร้อนๆ แน่นอน


หน้า 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น