ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กทม.เพิ่มช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ผ่านเฟซบุ๊คปัญหาใดใช้เวลาแก้ไขเกิน 3 วันให้รีบแจ้งประชาชน


กทม.เพิ่มช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์ผ่านเฟซบุ๊คปัญหาใดใช้เวลาแก้ไขเกิน 3 วันให้รีบแจ้งประชาชน

นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม. ได้เพิ่มช่องทางการให้บริการรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่านทางเฟซบุ๊ค (Facebook) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง ภายหลังจากรับเรื่องร้องทุกข์แล้ว ศูนย์ กทม.1555 จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน พร้อมทั้งข้อความสั้น (SMS) ไปยังหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานจะบันทึกผลการดำเนินการแก้ไขเรื่องร้องเรียนโดยละเอียดในระบบงานรับเรื่องร้องทุกข์ของกรุงเทพมหานครในระบบ MIS พร้อมทั้งระบุพิกัดพื้นที่ที่มีปัญหาในระบบแผนที่ GIS เพื่อการติดตามตรวจสอบ

นอกจากนี้ กทม.ยังมีแนวทางการขยายช่องทางบริการรับแจ้งเรื่องร้องเรียนของศูนย์ กทม. 1555 ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ได้แก่ Call Center 1555, Facebook, จส.100, ร่วมด้วยช่วยกัน 96.5, สวพ.91, TV BMA และอื่นๆ โดยในส่วนการแจ้งเรื่องร้องทุกข์ผ่านกระดานข้อความ Facebook ให้พิมพ์ค้นหาด้วยตัวอักษรว่า “ศูนย์กทม. หนึ่งห้าห้าห้า" 

โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า ผู้ว่าฯ กทม.กำชับให้ ศูนย์ กทม.1555 ประสานงานกับประชาชนในเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประชาสัมพันธ์หรือติดต่อกลับไปยังผู้ร้องทุกข์ทราบทุกครั้งภายหลังการรับแจ้งเรื่อง หากปัญหาใดที่ต้องใช้ระยะเวลาเกิน 3 วันให้ชี้แจงทำความเข้าใจต่อผู้ร้องทุกข์ด้วย เพื่อไม่ให้มีการร้องทุกข์ซ้ำ และเกิดความเข้าใจถึงขั้นตอนตลอดจนกระบวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะเป็นการสร้างความพึงพอใจด้านบริการแก่ประชาชน ในส่วนของเรื่องตกค้างและยังดำเนินการแก้ไขปัญหาไม่แล้วเสร็จให้ศูนย์กทม. 1555 จัดทำวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากเหตุใด เพื่อจะเข้าไปแก้ไขให้ตรงจุดและชี้แจงต่อประชาชนโดยเร็วต่อไป

http://bit.ly/qGDjIL

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554 วันที่ 19-21 ธันวาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร

 Home

Printer-friendly version

ประชุม คจสช 

   29 พฤษภาคม 2554 -- คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ลงมติเลือกร่างระเบียบวาระการประชุม 6 เรื่อง เตรียมเสนอสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ.2554

   ที่ประชุมคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ที่มี รองศาสตราจารย์ ดร. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้ประกาศร่างระเบียบวาระ 6 เรื่อง เข้าที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2554 ได้แก่ 1.การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของผู้ใช้แรงงาน 2.การจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน 3.การจัดการภัยพิบัติ 4.การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย (สุขใจ...ไม่คิดสั้น) 5.การจัดการปัญหาโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 6.ความปลอดภัยทางอาหาร : การใช้น้ำมันทอดซ้ำ ซึ่งหลังจาก คจ.สช.ออกประกาศร่างระเบียบวาระในวันที่ 31 พฤษภาคม นี้แล้ว คจ.สช.จะสนับสนุนคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็นที่จะทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการจัดทำเอกสารและข้อเสนอนโยบายแต่ละเรื่อง จัดกระบวนการพัฒนาเอกสารและร่างข้อเสนอนโยบายเพื่อเตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ธันวาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร

ประชุม คจสช 

   รองศาสตราจารย์ ดร. ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ประธานกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554 กล่าวว่า ร่างระเบียบวาระทั้งหกเรื่องได้ผ่านขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพ โดยคณะอนุกรรมการวิชาการที่มีนายแพทย์สุรพจน์ สุวรรณพานิช เป็นประธาน ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคีผู้เสนอประเด็น โดยมีประเด็นข้อเสนอนโยบายสาธารณะจำนวนกว่า 80 เรื่อง ซึ่งมาจากข้อเสนอขององค์กรเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ/วิชาชีพ และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพและประชาสังคมในพื้นที่ทั่วประเทศ

   "ประเด็นที่ภาคีเครือข่ายเสนอกันมาในปีนี้ น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งอนุกรรมการวิชาการก็ได้ทำการพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2554 และที่เป็นพัฒนาการที่น่าดีใจคือ ปีนี้มีประเด็นที่เสนอมาจากเครือข่ายสมัชชาสุขภาพพื้นที่ทั้งจากภาคเหนือ ภาคใต้ และเครือข่ายลุ่มน้ำ รวม 3 ระเบียบวาระ แต่ละเรื่องใช้เวลาในการพัฒนาความพร้อมของข้อมูลเพื่อเสนอเข้ากระบวนการกลั่นกรองกว่าปี สิ่งนี้สะท้อนความมุ่งมั่น และพัฒนาการความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาชน ในรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างมาก" รศ.ดร.ชื่นฤทัย กล่าว

   

 สำนักสื่อสารทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โทร. 02-832-9148 หรือ 081-556-5269

http://www.samatcha.org/?q=node/419

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องฉาวที่อังกฤษ ยิ่งคุ้ยยิ่งลึก-ยิ่งสกปรก!


 

เรื่องฉาวที่อังกฤษ ยิ่งคุ้ยยิ่งลึก-ยิ่งสกปรก!

วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:14:01 น.

Share

ต่างประเทศ

กรณีที่หนังสือพิมพ์ในอังกฤษเรียกขานว่า "แฮกกิ้ง สแกนดัล" ในเวลานี้นั้น เริ่มต้นจากพฤติกรรมของสื่อมวลชนบางคน บางกลุ่ม ก็จริง แต่เริ่มลุกลามบานปลายออกไปมากมายขึ้นเรื่อยๆ

จากจุดเริ่มต้นที่ เดลี่ เมล์, เดลี่ มิร์เรอร์ ขยายวงกว้างไกลออกเป็น นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ของ นิวส์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ นิวส์ คอร์ป. 2 บริษัทในอาณาจักรสื่ออันยิ่งใหญ่ของ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก ชาวออสเตรเลีย ลุกลามออกไปยังสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย แต่ยังไม่ยุติลงแค่นั้น

หลังจากนั้นเรื่องพฤติกรรมฉาวของสื่อ ก็กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในกรมตำรวจ จากสถานีตำรวจเซอร์เรย์ บานปลายกลายเป็นเรื่องของการ "วางเฉย" ของบุคคลระดับผู้บัญชาการตำรวจ ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นประเด็นทางการเมืองที่เชื่อมโยงไปถึงรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ใกล้ชิดกับตัวนายกรัฐมนตรี รวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน จากพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่เพิ่งอยู่ในตำแหน่งมาได้เพียงแค่ 15 เดือนเท่านั้น

ว่ากันด้วยว่า จากกรณีที่จำกัดอยู่แค่เรื่องการ "แฮ็ก" โทรศัพท์ กรณีนี้กำลังจะกลายเป็นคดียาเสพติดคดีใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับการลักลอบค้านำโคเคนจำนวน "ไม่จำกัด" เข้าไปยังอังกฤษอีกต่างหาก

เพื่อทำความเข้าใจเรื่องทั้งหมด ต้องจำชื่อ 3 ชื่อเอาไว้ในใจ หนึ่งคือ โจนาธาน รีส สองคือ สตีฟ วิททามอร์ และสุดท้ายคือ เกล็นน์ มัลแคร์

ทั้งหมดเป็นนักสืบเอกชนที่ถูกกล่าวหามายาวนานนักหนาว่า ทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการ "ขาย" ข้อมูลที่ได้มาโดยผิดกฎหมายให้กับสื่อมวลชน

รีส ที่มีสำนักงานอยู่ในลอนดอนใต้ ตกเป็นผู้ต้องหารายสำคัญในการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อปี 1999 ในข้อหาติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจสก็อตแลนยาร์ดเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวที่นำไปขายให้กับหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า "ไม่มีฉบับไหนจ่ายงามเท่า นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ อีกแล้ว"

ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ จ่ายเงินให้กับ โจนาธาน รีส ถึงปีละ 150,000 ปอนด์ หรือราวๆ 4.5 ล้านบาท

วิททามอร์ ถูกเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งอังกฤษบุกเข้าตรวจค้นสำนักงานเมื่อปี 2003 ยึดเอาไฟล์ข้อมูลจำนวนมากที่กลายเป็นรายงานว่าด้วยพฤติกรรม "การนำข้อมูลลับส่วนบุคคลไปจำหน่ายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย" จากคณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งอังกฤษในปี 2006

แต่ปรากฏว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานอื่นใด นำรายงานชิ้นนั้นมาดำเนินการต่อ ทำให้คณะกรรมการต้องออกมาเปิดโปงรายชื่อของสิ่งพิมพ์ 31 ฉบับ "ที่มีหลักฐานบ่งชี้ได้ว่า" ซื้อข้อมูลจากวิททามอร์

ในรายชื่อของ "ผู้ซื้อ" หรือ "ผู้ว่าจ้าง" ดังกล่าวคือ ชื่อของผู้สื่อข่าว 58 คนของเดลี่ เมล์ พร้อมคำสั่งซื้อ 952 คำสั่ง นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ กลับรั้งอยู่ในลำดับที่ 5 ของรายชื่อ มีพนักงาน 19 คนสั่งซื้อข้อมูลรวม 152 รายการ

เกลนน์ มัลแคร์ อดีตนักเตะอาชีพที่ผันตัวมาเป็นนักสืบเอกชน ถูกศาลตัดสินจำคุกไปเมื่อปี 2007 พร้อมกับผู้สื่อข่าวของ นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ อีกคน ฐานแฮ็กเข้าไปเพื่อดึงข้อมูลออกจากเจ้าหน้าที่ในราชสำนักพระราชวังบักกิ้งแฮม

ไฟล์ข้อมูล 11,000 ชิ้นที่เจ้าหน้าที่ยึดมาได้นั้นอยู่ในครอบครองของสก็อตแลนด์ยาร์ดมาตั้งแต่ปี 2006 ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอังกฤษที่เพิ่งลาออกไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสาเหตุโดยตรงมาจากการละเลย ไม่ใส่ใจต่อหลักฐานทั้งหมดที่อยู่ในมือชิ้นนี้

นี่หากไม่บังเกิดกรณี "มิลลี่ ดาวเลอร์" เด็กสาวที่หายสาบสูญไป และ นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ว่าจ้างให้มีการเจาะเข้าไปในระบบโทรศัพท์มือถือของเธอ ก่อนที่จะลบข้อมูลในโทรศัพท์ดังกล่าวทิ้ง เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ข่าว "เอ็กซ์คลูซีฟ" จนเป็นเหตุให้ครอบครัวเข้าใจผิด เชื่อมั่นอย่างผิดๆ ว่า ดาวเลอร์ ยังมีชีวิตอยู่ เกิดขึ้น ยังไม่แน่ใจนักว่าสก็อตแลนด์ยาร์ดจะหันมาสนใจหรือไม่




ไม่เพียงไม่ใส่ใจในหลักฐานที่มีอยู่ในมือ แล้วทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับมัน เจ้าหน้าที่ตำรวจเซอร์เรย์ ยังออกมาให้การประหนึ่งปกป้องการกระทำของผู้สื่อข่าว เตรียมผลักดันให้เรื่องนี้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของการเปิดเผยกรณีที่ "เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ" แทนที่จะจับกุมผู้สื่อข่าวและดำเนินคดีกับสิ่งพิมพ์ นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง

ที่หนักหนาสาหัสกว่าก็คือ ทำไมถึงไม่แจ้งเรื่องต่อครอบครัว การปล่อยให้ครอบครัวผู้รอคอยเข้าใจผิดๆ อยู่อย่างนั้น อำมหิตเลือดเย็นอย่างยิ่ง

ถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามทุกกรณีที่เห็นได้ชัดว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและจับกุมคุมขังผู้สื่อข่าวหลายๆ คนไปตั้งแต่เมื่อปี 1999 คงมีเหยื่อของคนหิวเงินพวกนี้ลดน้อยลงไปกว่านี้เยอะ

ในทัศนะของชาวอังกฤษในเวลานี้ สิ่งที่พวกเขากังขามากกว่าพฤติกรรมของสื่อบางกลุ่มก็คือ พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่รักษากฎหมาย และนั่นทำให้พฤติกรรมฉาวครั้งนี้อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับแวดวงตำรวจเมืองผู้ดีติดตามมา

โจนาธาน รีส เอง เคยแม้แต่กระทั่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยใช้ขวานฟันคู่นอนตัวเองเสียชีวิตเมื่อปี 1987 คดีที่ยังคงปิดไม่ลงในการดูแลของสก็อตแลนด์ยาร์ด เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการในตอนนั้นว่า คู่นอนรายนั้นจำเป็นต้องตายเพราะกำลังจะเปิดโปงขบวนการค้าโคเคนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน

รีสเอง เคยถูกคุมขังในเวลาต่อมาฐานร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขี้ฉ้อรายหนึ่งซึ่งถูกจับพร้อมๆ กัน ยัดหลักฐานโคเคนให้กับสตรีผู้หนึ่ง ฌอน ฮอเร่ ผู้สื่อข่าวของนิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ที่ออกมาเปิดโปงกรณี มิลลี่ ดาวเลอร์ เคยบอกเล่าเอาไว้ว่า ที่ "โต๊ะข่าว" ของสำนักงานของหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ฉบับนี้ มีการเสพโคเคนกันให้ควั่ก

จนไม่มีใครเสียดายแม้แต่น้อยเมื่อจำต้องรูดม่านปิดฉากลง!!


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311671653&grpid=no&catid=&subcatid=

เก็บตก เกร็ดข้อคิดดีๆ จากการอบรม โดยสมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังความไม่เป็นธรรม


 
จาก: Kittiya Sophonphokai <kittiya@ombudsman.go.th>
วันที่: 28 กรกฎาคม 2554, 12:47
หัวเรื่อง: เก็บตก เกร็ดข้อคิดดีๆ จากการอบรม โดยสมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังความไม่เป็นธรรม
ถึง: 

เรียน ท่านสมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังความไม่เป็นธรรมและผู้ที่สนใจทุกท่าน

เราขอประชาสัมพันธ์ว่า จะมีการจัดอบรมรับฟังการบรรยายของอาจารย์บุญเลิศฯ อีกครั้ง เป็นรุ่นที่ 3 ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2554 เวลา 08.30 16.30 น. ณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ชั้น 9 โดยจะเรียนเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกเช่นเดิม แต่ขยายกลุ่มไปที่ข้าราชการของกระทรวงและกรมต่างๆ ตลอดจนพนักงานขององค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรในกำกับที่ยังไม่ได้รับการอบรม 2 รุ่นที่ผ่านมา (วันที่ 27 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2554)

และเราจะมีหนังสือเชิญผู้บริหาร/ผู้รับผิดชอบหลักด้านบุคลากร/ฝึกอบรมของหน่วยงานที่ได้ส่งผู้รับผิดชอบหลักด้านจริยธรรมมารับฟังการอบรมแล้ว(วันที่ 27 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2554)  ให้สามารถส่งเพิ่มเติมได้อีก หน่วยงานละ 1 คน (ถ้ามีผู้สนใจที่เป็นผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบหลักด้านบุคลากร/ฝึกอบรมของหน่วยงาน) ทั้งนี้ กรุณา กรุณาประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในหน่วยงานของท่านได้ทราบด้วยค่ะ หรือหากสนใจ ก็สามารถแจ้งให้เราทราบทางเมล kittiya@ombudsman.go.th และ kosin@ombudsman.go.th หรือโทรสาร 02 1438373 นี้ด้วย เพราะเราจะได้มีหนังสือไปถึงหน่วยงานของท่านต่อไปค่ะ

 

ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

 

กิตติยา โสภณโภไคย

นักวิชาการอาวุโสระดับสูง

สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

'0 2141 9283  70 2143 8375

มือถือ 08 5151 6298

*kittiya@ombudsman.go.th or sophon_kit@hotmail.com

 

 

 

 

 

 

 




 

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขอทาน คนเร่ร่อน ลุ้นของขวัญรัฐบาล

 

 

Pic_188884

ธนู

ขอทาน คนเร่ร่อนจรจัด และคนไร้ที่พึ่ง ที่เห็นเตร็ดเตร่อยู่บนสะพานลอย หรือตามฟุตปาทสองข้างถนน ใช้ชีวิตค่ำไหนนอนนั่น ณ เวลานี้มีอยู่จำนวนเท่าไร ไม่มีใครตอบได้

แต่สิ่งหนึ่งที่ตอบได้ทันที ก็คือ รากเหง้าของปัญหาที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งซึ่ง

เคยมีชีวิตปกติสุข ต้องเปลี่ยนสภาพไปเป็นขอทาน คนเร่ร่อนจรจัด หรือคนไร้ที่พึ่ง (ไร้ญาติ และที่อยู่) กว่าร้อยละ 95 ล้วนมีสาเหตุเชื่อมโยงมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวแทบทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นเพราะถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว ขาดความอบอุ่นในครอบครัว ขัดแย้งขั้นรุนแรงกับสมาชิกอื่นในครอบครัว และอีกสารพัดปัญหา ที่ทำให้ใครบางคนรู้สึกว่า ตนคือส่วนเกิน หรือไม่เป็นที่ต้องการของครอบครัว

ซึ่งสภาพที่เกิดขึ้นดังกล่าวถูกเรียกรวมๆว่า "ภาวะครอบครัวล่มสลาย" นั่นเอง

เมื่อใดก็ตามที่ครอบครัวประสบกับภาวะล่มสลาย มักจะผลักไสให้ใครบางคน ต้องออกไปเผชิญชะตากรรมตามท้องถนน กลายเป็นคนเร่ร่อนจรจัด ขอทาน ไม่ก็คนไร้ที่พึ่ง อย่างหนึ่งอย่างใด เสมือนเป็นการย้ายที่อยู่ใหม่ให้ปัญหา จากภายในบ้านออกสู่ชุมชนและสังคมภายนอก

เคยมีผู้รวบรวมเป็นสูตรสำเร็จไว้ว่า  สถาบันครอบครัว  จะเข้มแข็งหรือไม่ต้องประสบกับภาวะล่มสลาย อย่างน้อยครอบครัวนั้น ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 7 อย่าง

1.ชุมชนที่ครอบครัวนั้นตั้งอยู่ ต้องเข้มแข็ง

2.ครอบครัวนั้นต้องพึ่งพาตนเองได้ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สุขภาพ ฯลฯ

3.ครอบครัวนั้นต้องพึ่งตนเองได้ในระดับชุมชน

4.ชุมชนอันเป็นที่ตั้งของครอบครัว ต้องมีความปลอดภัย ไร้อบายมุข และไร้โรคติดต่อ

5.ครอบครัวนั้นต้องสามารถปรับตัวได้ในภาวะยากลำบาก และสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่างๆ

6.ครอบครัวนั้นต้องมีต้นทุนทางสังคมอยู่บ้าง

และ 7.ภายในครอบครัวนั้น จะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งหมายถึง จะต้องประกอบด้วยความรัก การยอมรับระหว่างกัน การมีส่วนร่วมของทุกคนในครอบครัว เคารพบทบาทของแต่ละคนในครอบครัว และมีการสื่อสารที่ดีระหว่างกันในครอบครัว

กว่าจะครบองค์ประกอบทั้ง 7 อย่างสู่ความเป็น "ครอบครัวที่เข้มแข็ง" ดูเหมือนไม่ง่ายนักสำหรับหลายครอบครัวไทยสมัยนี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่แต่ละครอบครัวสมัยใหม่หลายครอบครัวมีส่วนสร้างปัญหาออกสู่ชุมชนและสังคม ไม่มากก็น้อย

ในวาระที่อีกไม่นาน คนไทยกำลังจะได้รัฐบาลใหม่ แถมยังเป็นรัฐบาล

ประชานิยม เน้นนโยบายโดนใจคนส่วนใหญ่ หากว่า ขอทาน คนเร่ร่อนจรจัด และ คนไร้ที่พึ่ง ซึ่งเป็นอีกคนกลุ่มใหญ่ในสังคม ปรารถนาบางสิ่งจากรัฐบาลที่พวกเขา

คาดหวังว่าน่าจะนำพาความสุข และสมหวังมาให้บ้าง น่าสนใจว่าพวกเขาเหล่านี้ต้องการสิ่งใด

"ถ้าขอพรได้ 1 อย่างเหมือนในนิทาน อยากให้นายกฯคนใหม่ที่เป็นผู้หญิง และท่าทางใจดีเหมือนนางฟ้า ช่วยให้ฉันได้เจอกับนายจ้างผู้ใจบุญ ที่ไม่รังเกียจคนอายุมาก และไร้ที่พึ่งอย่างฉัน ได้มีงานทำกับเค้าสักที จะได้ไม่ต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนให้ถูกจับตัวมาไว้ที่นี่อีก"

น.ส.จำนงค์ ทองอนันต์ อดีตหญิงเร่ร่อน วัย 51 ปี หนึ่งในผู้ซึ่งถูกเรียกตามสถานะใหม่ว่า "ผู้รับบริการฯ" ของสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี โปรยยิ้มให้เล็กน้อย ก่อนฝากความหวังให้ช่วยส่งต่อไปยังว่าที่นายกฯคนใหม่

จำนงค์เล่าว่า ก่อนที่เธอจะเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในสถานแรกรับแห่งนี้ ย่างเข้าเป็นเดือนที่ 5 เธอเคยหาเลี้ยงชีพด้วยการตระเวนเก็บขวดน้ำพลาสติกที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ตามชายหาดพัทยา ชั่งกิโลฯขาย

เธอบอกว่า ตัวเองเป็นคนมือไม้ดี และไม่เคยคิดที่จะงอมืองอเท้าเป็นขอทาน แต่ที่ผ่านมาสังคมไม่ให้โอกาสคนอายุมาก ไร้ที่พึ่ง และไร้ความรู้อย่างเธอ จึงทำให้เธอต้องตกอยู่ในสภาพหญิงเร่ร่อน

"ก่อนจะเก็บของเก่าขาย ฉันเคยไปสมัครล้างจานตามร้านอาหาร ก็ไม่มีใครรับ อ้างว่าเราอายุตั้ง 40-50 ขึ้นไปแล้ว กลัวจะทำงานให้ได้ไม่เต็มที่ เพราะยังงี้ไงเล่าถึงได้เห็นคนแก่เร่ร่อน ไม่มีข้าวจะกิน ไม่มีที่ซุกหัวนอน เที่ยวออกขอทานกันทั่วบ้านทั่วเมืองไปหมด"

เธอว่า ถ้าเลือกได้ ไม่มีใครอยากตกอยู่ในสภาพอย่างที่เธอเป็น ถึงแม้เธอจะมีอายุเกินกว่า 50 ก็ยังอยากจะทำงาน มีรายได้หาเลี้ยงตัวเอง อยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ดังนั้น เธอจึงฝากร้องขอไปยังรัฐบาลใหม่ให้ช่วยส่งเสริมอาชีพแก่ผู้มีอายุ และไร้ที่พึ่งพิง เพื่อเป็นการสกัดปัญหาคนเร่ร่อนที่จะตามมา

นอกจากจำนงค์ เพื่อนร่วมชะตากรรม อย่าง ปราชญ์ พิจิตรชุมพล วัย 48 ปี ผู้มีความสามารถทั้งอ่าน พูด และเขียนอังกฤษได้ ในระดับใช้งาน หรือ พ.จ.อ.สง่า เอี่ยมอ่อน วัย 51 ปี อดีตนาวิกโยธินแห่งทัพเรือไทย พูดภาษารัสเซียได้คล่องปรื๋อ เพราะได้อดีตภรรยาเป็นชาวรัสเซีย

แม้ชะตาชีวิตของทั้งคู่ จะพลิกผันด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ต้องมาเป็น "ผู้รับบริการฯ" ณ สถานที่แห่งนี้ แต่ทั้งคู่ก็เห็นด้วยกับจำนงค์ ภายใต้เหตุผลเดียวกัน นั่นคือ อยากให้สังคมยอมรับพวกเขาอีกครั้ง เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งก่อนจะกลายมาเป็นคนเร่ร่อน ไร้ที่พึ่งพิง พวกเขาเคยได้รับการยอมรับจากสังคม

ใช่แต่ผู้รับบริการฯอย่างจำนงค์ ปราชญ์ และสง่า แม้แต่ผู้ให้บริการแก่ผู้ด้อยโอกาสกว่า 240 ชีวิต อย่าง ธนู ธิแก้ว ผู้ปกครองสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ก็อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่างจากว่าที่รัฐบาลใหม่

เขาบอกว่า ก่อนอื่นต้องแยกแยะระหว่างคนไร้ที่พึ่งกับขอทาน ซึ่งเป็นผู้รับบริการคนละกลุ่มกัน พวกไร้ที่พึ่งจะมีลักษณะเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่มีญาติพี่น้อง หรือถึงมีก็ไม่คิดจะกลับไปหาคนเหล่านั้น ส่วนขอทานบางคนยังมีบ้าน มีผู้ดูแล หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่มแก๊ง

ธนูบอกว่า ภารกิจของเขา ก็คือ เมื่อได้รับการส่งตัวทั้งขอทาน และคนไร้ที่พึ่งต่อมาจากตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่บางหน่วย เช่น เจ้าหน้าที่ศูนย์ประชาบดี อปพร. หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาสังคม (ศพส.) ของแต่ละจังหวัด สถานแรกรับฯนนทบุรี จะรับตัวทั้งขอทาน และคนไร้ที่พึ่ง มาดูแลในเบื้องต้นเป็นเวลา 3 เดือน

พ้นระยะ 3 เดือนไปแล้ว จะเริ่มทำการคัดกรองหากเห็นว่าผู้รับบริการฯส่วนหนึ่ง เป็นผู้ที่สามารถส่งตัว กลับคืนสู่ครอบครัว หรือชุมชนได้ ก็จะส่งคืน โดยมีการประสานและติดตามผลกับทางครอบครัวหรือชุมชน

สำหรับผู้รับบริการฯอีกส่วน ที่ไร้ญาติ หรือชุมชนไม่สามารถรับตัวกลับได้ จะถูกส่งตัวต่อไปยังสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง ซึ่งมีทั้งหมด 9 แห่ง เพื่อให้การดูแลคนเหล่านี้ในระยะยาวต่อไป

"เรื่องบุคลากรและงบประมาณจำกัด แม้จะกระทบบ้าง แต่ก็ยังไม่ใช่ประเด็นใหญ่ สิ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญกว่าและอยากฝากความหวังไว้กับรัฐบาลชุดใหม่ ก็คือ ควรเร่งส่งเสริมให้สถาบันครอบครัว มีความมั่นคงมากขึ้น เพราะถ้าทำในจุดนี้ได้สำเร็จ อีกหลายปัญหาที่จะไหลบ่าตามมา

กลายเป็นปัญหาสังคม จะถูกตัดไฟตั้งแต่ต้นลม"

ธนูบอกว่า เวลานี้หลายครอบครัวในสังคมไทย ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอหรือล่มสลาย ความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวมีน้อยลง เกิดความรู้สึกห่างเหิน บางคนอยู่ในครอบครัวแล้วไม่มีความสุข จึงต้องออกไปเร่ร่อน

แต่ถ้าคนในครอบครัวดูแลกันดี มีเมตตาสงสาร มีการสื่อสารที่ดี และมีโอกาสได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมร่วมกันบ้าง สิ่งเหล่านี้จะเป็นปราการอย่างดี ช่วยเสริมให้ครอบครัวมีความเข้มแข็งมากขึ้น

"ขอยกตัวอย่าง มีหลายวิธีที่รัฐบาลอาจใช้ส่งเสริม เพื่อให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็งมากขึ้น เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมในลักษณะค่ายครอบครัว ลดค่าเข้าเที่ยวชมอุทยานฯ หรือสวนสัตว์ของทางราชการ หรือร่วมกับสถานที่ท่องเที่ยวของภาคเอกชน มอบส่วนลดให้ในกรณีที่ไปเที่ยวชมพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว"

"นอกจากนี้ ยังอาจใช้มาตรการจูงใจด้วยการลดหย่อนภาษีให้แก่บางครอบครัว ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น ครอบครัวที่พากันไปเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือคนชรา หรือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากภายในชุมชน  หรือครอบครัวที่พากันไปร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน หรือไปช่วยพัฒนาวัด เป็นต้น"

ธนูบอกว่า บางประเทศใช้วิธีการเหล่านี้ โดยให้คะแนนเป็นแต้ม แลกกับวันหยุดลาพักผ่อน สำหรับเมืองไทยถ้าทำได้สำเร็จ จะได้ผลเกินคาดถึง 2 ต่อ ต่อแรกทำให้เกิดความรักและผูกพันกันมากขึ้นในครอบครัว ต่อที่สอง จะทำให้เกิดความรัก ความผูกพัน เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในชุมชน และสังคม

"เมื่อใดที่ครอบครัว ชุมชน และสังคม ร่มเย็นเป็นสุข ก็เท่ากับปิดประตูปัญหา" เขาทิ้งท้าย.

http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/188884




--
http://www.thaismeplus.com/news-en/business-news/1168.html
http://projects.silodesign.nl/vcm/
http://masterpieces.asemus.museum/default.aspx
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1036185&page=32
http://twitter.com/RAFIKALGER
http://profile.imageshack.us/user/RafikH...
http://www.mixpod.com/playlist/47308482
http://fr-fr.facebook.com/people/Rafik-H...
http://www.tlcb.or.th/index.php?option=com_content&view=frontpage&Itemid=494
http://www.moeradiothai.net/home.php?webid=1
http://www.depthai.go.th/Default.aspx?tabid=114&qCategoryID=61&qKeyword=0
http://www.youtube.com/watch?v=W7giBy862zo&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=6bLZPatq53k&feature=fvw
http://www.youtube.com/watch?v=zN-LR9_IYpA
http://www.kmutt.ac.th/rippc/info.htm
http://www.fccthai.com/TheBulletin.html#517



วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเสวนาเอ็กซ์เรย์วิสัยทัศน์ "ว่าที่กสทช."


 Pic_188992

วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเสวนาเอ็กซ์เรย์วิสัยทัศน์ "ว่าที่กสทช." โดยส่วนมากระบุจะมุ่งเปลี่ยนเทคโนโลยีออกอากาศจากอะนาลอกไปสู่ดิจิตอล พร้อมกำกับดูแลและแก้ปัญหาทีวีดาวเทียม วิทยุชุมชนให้มีประสิทธิภาพกว่านี้...

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเสวนาเอ็กซ์เรย์วิสัยทัศน์ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ทั้ง 44 คน ก่อนเริ่มสู่กระบวนการตรววจสอบประวัติที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันที่ 8 ส.ค.นี้ ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่กำหนดให้วุฒิสภาเป็นผู้คัดเลือกผู้ผ่านการพิจารณาจำนวน 44 คน ได้แสดงความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกเป็นไปอย่างโปร่งใส เพื่อเป็นข้อมูลให้ ส.ว.ประกอบการตัดสินใจโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้ส่งบัญชีรายชื่อ 44 ว่าที่ กสทช. ต่อประธานวุฒิสภาแล้ว เมื่อเปิดประชุมสภาได้ ทางวุฒิสภาจะบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในวาระการประชุมด่วน เพื่อให้ส.ว.คัดเลือกให้เหลือ 11 คน โดยกระบวนการคัดเลือกทั้งหมดจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หรือ กลางเดือน ก.ย.นี้

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ว่าที่กสทช. กล่าวว่า สาเหตุที่สมัครเป็น กสทช. เพราะเห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปมากและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคมของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีกลไกบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโดยกำหนดแนวทางทำงานไว้ 4 ด้าน คือ การจัดทำแผนบริหารคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงวิทยุให้มีประสิทธิภาพ เปลี่ยนระบบวิทยุโทรทัศน์เดิมเป็นระบบดิจิตอล ให้เสร็จภายในปี 2558 รวมถึงการดูแลวิทยุชุมชน ด้านโทรคมนาคมเร่งรัดการทำโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี สานต่อการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ปรับปรุงสำนักงาน กสทช. ให้รองรับการขยายตัวกิจการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำหนดมาตรฐานการป้องกันภัยทั้งด้านเนื้อหา และการทำลายเครือข่ายโทรคมนาคมไม่ให้เกิดความเสียหาย 

ขณะที่ พ.ท.กฤษฏา เทิดพงษ์ ว่าที่กสทช. กล่าวว่า ต้องการแก้ไขปัญหาชาติ 3 เรื่อง คือ วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี และทีวีดาวเทียม และการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิตอล แนวทางแก้ปัญหาวิทยุชุมชนระยะสั้น จะแบ่งคลื่นความถี่เป็นบล็อก แก่วิทยุชุมชน วิทยุเศรษฐกิจและวิทยุสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาการรบกวนสัญญาณกัน ส่วนแนวทางระยะยาว จะนำระบบวิทยุดิจิตอลมาใช้ ส่วนปัญหาเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม จะเร่งออกใบอนุญาตแยกระหว่างสถานีดาวเทียมกับใบอบุญาตของผู้ผลิตเนื้อหา กสทช.ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการให้ดูแลกันเอง สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ดิจิตอล ต้องวางแผนให้การเข้าถึงทำได้ทั่วประเทศ โดยประชาชนสามารถซื้่ออุปกรณ์ได้ในราคาถูก 

ด้าน นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ว่าที่กสทช. กล่าวว่า คิดว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นกสทช. เพราะมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ทำงานด้านสื่อสารมวลชนกว่า 30 ปี เคยทำงานกับสถาบีวิทยุบีบีซี เป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 และผู้อำนวยการ บมจ.อสมท. จำกัด (มหาชน) และสถานีไทยพีบีเอส งานกสทช.ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน เพราะประเทศเสียโอกาสในการพัฒนามานาน ส่วนการกำกับดูแลต้องดูแลโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ โดยจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 20 การเปิดประมูลควรทำอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม กำกับดูแลกันเองด้านจริจธรรม ส่งเสริมการพัฒนาที่มุ่งไปสู่ระบบดิจิตอล และการพัฒนาโครงข่ายกิจการโทรคมนาคม 

ส่วน รศ.พนา ทองมีอาคม ว่าที่กสทช. กล่าวว่า การกำกับดูแลกิจการคลื่นความถี่และโทรคมนาคม ควรเป็นไปตามกระแสการพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีการหลอมรวมสื่อระหว่างสื่ออะนาลอกสู่ดิจิตอล ทั้งภาพและเสียง ผ่านโครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ดังนั้นภารกิจที่ต้องเร่งทำ คือ การปรับเปลี่ยนระบบจากอะนาลอกเป็นดิจิตอล การพัฒนาโทรทัศน์ชุมชน การดูและการทำทีวีดาวเทียมให้เข้าที่ การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารไฟเบอร์การแก้ไขปัญหาวิทยุธุรกิจและวิทยุชุมชน 

น.ส.ลักษมี ศรีสมเพ็ชร ว่าที่กสทช. กล่าวว่า มีประสบการณ์การทำธุรกิจวิทยุโทรทัศน์ การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงในต่างจังหวัด และการทำวิทยุชุมชน ซึ่งจากประสบการณ์เหล่านี้จึงอยากมาทำงานพัฒนาในด้านที่มีประสบการณ์

นายวรวุฒิ พงษ์ธีระพล ว่าที่กสทช. กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานสื่อสารมวลชน เห็นว่าสิ่งใดกำลังจะเกิดขึ้น สิ่งที่ตนสนใจคือการทำหน้าที่บริหารจัดการกิจการด้านต่างๆ ให้มีระบบระเบียบ ดังนั้นการทำงานของกสทช.จึงอยู่ที่การกำหนดวิธีการกำกับดูแลกิจการด้านต่างๆ อย่างเหมาะสม ภายใต้แผนแม่บทและกรอบการทำงานด้านต่าง ๆ ปัจจุบันมีปัญหาในงานของ กสทช. ค่อนข้างมาก แต่เชื่อว่าจะสามารถทำหน้าที่ได้ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงคือเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนผ่าน และการพัฒนาภายใต้กรอบของกฎหมายและกติกา ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์มากที่สุด.

http://www.thairath.co.th/content/tech/188992

ว่าที่ กสทช.ด้านวิทยุโทรทัศน์ ประเดิมแสดงวิสัยทัศน์

 

ว่าที่ กสทช.ด้านวิทยุโทรทัศน์ ประเดิมแสดงวิสัยทัศน์

วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:37:50 น.

Share

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนา "เอ็กซเรย์ ว่าที่ กสทช.รายบุคคล" โดยในภาคเช้า เชิญผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการกระจายเสียงและด้านกิจการโทรทัศน์ จำนวน 8 คน มาแสดงวิสัยทัศน์ โดยให้ว่าที่ กสทช.ตอบคำถามหลัก คนละ 5 นาทีว่า "ทำไม่ข้าพเจ้าจึงสมควรได้รับเลือกเป็น กสทช." จากนั้นจึงให้ว่าที่ กสทช.ตอบคำถามที่เลือกมาอีกคนละ 5 คำถาม คำถามละ 3 นาที แล้วจึงเปิดให้ผู้ร่วมเสวนาถามคำถาม

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ว่าที่ กสทช. 8 ราย ได้แก่ 

1.พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี 

2.พ.ท.กฤษฎา เทอดพงษ์ 

3.นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ 

4.นายพนา ทองมีอาคม 

5.นางจิราภรณ์ สุวรรณวาจกกสิกิจ 

6.นายวรวุฒิ พงษ์ธีระพล 

7.พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ 

8.น.ส.ลักษมี ศรีสมเพชร 

ได้ตอบคำถามหลักไปในทิศทางเดียวกัน คือ ภารกิจของ กสทช.ที่สำคัญคือ การเร่งจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบวิทยุและโทรทัศน์ การกำกับดูแลต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะโดยจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 20 การเปิดประมูลควรเปิดประมูลอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม กำกับดูแลความ ดูแลกันเองด้านจริยธรรม การเปลี่ยนผ่านเป็นระบบดิจิตอล และวางแผนให้ประชาชนเข้าถึงได้ทั่วประเทศในราคาถูก การจัดทำแผนดูแลวิทยุชุมชน การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมและระบบ 3จี  

 

 

นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ พ.ท.กฤษฎาได้เสนอการแก้ปัญหาวิทยุชุมชนในระยะสั้นควรแบ่งคลื่นความถี่เป็นบล็อก โดยแบ่งให้วิทยุชุมชน วิทยุเศรษฐกิจ และวิทยุสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาการรบกวน ส่วนระยะยาวให้ใช้ระบบวิทยุดิจิตอลเข้ามา ส่วนปัญหาเคเบิลทีวีควรเร่งออกใบอนุญาตที่ครอบคลุมสถานีและโทรข่ายสายรวมกันเป็นใบอนุญาตเดียว ขณะที่ทีวีดาวเทียมควรออกใบอนุญาตแยกระหว่างสถานีดาวเทียมกับใบอนุญาตของผู้ผลิตเนื้อหา 


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311575885&grpid=03&catid=&subcatid=

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันภาษาไทยแห่งชาติ





TTTV fb tw
สวัสดีค่ะ คุณสุวิมล เชื้อชาญวงศ์ รหัสสมาชิก 031216 ฉบับที่ 12 วันที่ 25 กรกฎาคม 2554
           "ภาษาไทย"เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยภาคภูมิใจ โทรทัศน์ครูมีรายการเกี่ยวกับ "ภาษาไทย" หลายรายการมาแนะนำค่ะ เผื่อเป็นไอเดียในการจัดกิจกรรม"วันภาษาไทยแห่งชาติ"ให้กับเพื่อนครูค่ะ
            คำถามที่สมาชิกเขียนมาถามบ่อย อยากได้ถุงผ้า,เสื้อ ต้องทำอย่างไร มีวิธีง่ายๆ ดูรายละเอียดคลิกที่นี่


วีรณา โอฬารรักษ์ธรรม
ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์
   

อักษรสูงกับการผันวรรณยุกต์ด้วยนิ้วมือวิเศษ
           การผันวรรรณยุกต์อักษรกลาง สูง และต่ำ เป็นบทเรียนภาษาไทยที่ค่อนข้างยากของชั้น ป.1 อ.ยุวดี นุชทรัพย์ จึงหาวิธีง่าย ๆ ในการสอน ด้วยการใช้สื่อ "นิ้วมือวิเศษ" ที่ช่วยให้นักเรียนผันวรรณยุกต์สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ตามนิ้วมือทั้งห้าของนักเรียนเอง ประกอบกิจกรรมที่ช่วยสอน ซ้ำ ย้ำ ทวน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้นและสนุกสนาน  เพิ่มเติม
 
คาบเรียนที่คุ้มค่า
           อ.อนุรัตน์ แพนสกุล โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา มีมุมมองว่า ภาษาไทยไม่ได้เป็นแค่วิชา แต่เป็นเรื่องของ "การใช้ชีวิต" ดังนั้นจึงผลิตสื่อต่างๆมาใช้ในการสอน เป็นเกมโชว์ ละคร แอนนิเมชั่นทำให้นักเรียนม.6 สนุกและได้ทบทวนความรู้ และมีชมรมศูนย์ข่าวเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนนำภาษาไทยมาผลิตรายการสารคดี โดยนักเรียนได้ลงมือทำเองจริงทุกขั้นตอน สามารถส่งประกวดจนคว้ารางวัลระดับประเทศมากมาย  เพิ่มเติม
 
สอนนอกกรอบ : ใช้ละครสอนรามเกียรติ์ ตอน 1
           ชมเทคนิคการสอนนอกกรอบโดย การใช้ละครสอนวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ โทรทัศน์ครูพาครูภาษาไทย 2 ท่านจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ไปเรียนรู้ศิลปะการละคร ที่โรงละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ การสอนวรรณคดีของครูภาษาไทยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรต้องติดตาม มีทั้งหมดจำนวน 2 ตอน  เพิ่มเติม
สนุกกับการอ่านเขียน - KS1/2 English : Literacy and Enjoyment at KS2

           ครูชั้น ป. 6 จัดกิจกรรมการพูดคุยเกี่ยวกับ หนังสือในชั้นเรียน และแนะนำ ให้นักเรียนรู้จักนิยายเรื่อง "ราตรีสวัสดิ์ คุณทอม" เริ่มกระบวนการ ด้วยการให้นักเรียนอ่านออกเสียงบทแรก และถกกันเกี่ยวกับช่วงสำคัญๆ ของละคร แบบฝึกหัดการทำงาน เป็นคู่ทำให้เด็กกระตือรือร้น กิจกรรมการแสดง ทำให้เด็กที่เอาจริงเอาจังกับการอ่าน ขณะที่เด็กซึ่งกระตือรือร้นกว่าก็มีเหตุผลที่ดี ที่จะได้เขียนความเรียงยาวเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ  เพิ่มเติม
รับชมเพิ่มเติม : การจัดการเรียนรู้ | การบริหารการศึกษา | พัฒนาครู
 
 
mua moe
 



 

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทำงานของคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ชุดเฉพาะกาล

 
1 ปีที่ผ่านมาสำหรับการทำงานของคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ชุดเฉพาะกาล แม้กรรมการทั้ง 13 คน จะมีมติ "เอกฉันท์" ในการให้ความเห็นต่อโครงการโรงงานผลิตเอทิลีนออกไซด์และเอทิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ว่าไม่เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ แต่ภายใน กอสส. กลับแตกเป็น 2 ขั้ว คือ กรรมการจากสายวิชาการ และกรรมการจากสายเอ็นจีโอ ซึ่งภาพรอยร้าวนี้ได้ค่อยๆ ฉายให้เห็นชัดหลังจาก นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธาน กอสส. ยื่นหนังสือลาออกมีผลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2554 ตามติดมาด้วย นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และ นายวีระพงษ์ เกรียงสิงยศ กรรมการ กอสส. ที่เตรียมจะยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการภายในเดือนกรกฎาคมนี้
 ทั้งนี้ เหตุผลที่แท้จริงในการลาออกนั้น "เพ็ญโฉม" ในฐานะกรรมการ กอสส. และอนุกรรมการพิจารณาโครงการโรงงานผลิตเอทิลีนออกไซด์และเอทิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซีฯ และเป็นหนึ่งในกรรมการสายเอ็นจีโอที่เกาะกลุ่มกันอยู่ 6 คน (เอ็นจีโอ 5 คน และนักวิชาการ 1 คน) ได้เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึง "จุดแตกหัก" ที่ทำให้ต้องลาออก ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ภูมิหลังที่แตกต่าง หากยังโยงถึงจุดยืนผลประโยชน์ และการทุจริตที่เกิดขึ้นใน กอสส. 
+ขัดขา-หักเหลี่ยม-ทุจริต เพ็ญโฉม เปิดประเด็นถึงปมปัญหาในการทำงานที่นำไปสู่การตัดสินใจลาออกว่า เรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อน กอสส. มีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความแตกต่างกันหลายอย่าง ทั้งภูมิหลังที่ต่างกัน ฝ่ายหนึ่งมาจากฟากวิชาการ ฝ่ายหนึ่งมาจากเอ็นจีโอ ทัศนคติต่อการทำงานและแนวคิดต่อประเด็นปัญหาในสังคมที่ต่างกัน รวมถึงเรื่องการทำงานเพื่อสาธารณะก็ต่างกันมาก เมื่อสายวิชาการกับเอ็นจีโอต้องมาทำงานด้วยกัน ก็เหมือนกับมีกำแพงอยู่แล้ว ถ้าใช้คำของอ.ธงชัย (ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์) จะบอกว่า "พวกคุณต่างระแวงซึ่งกันและกัน" ซึ่งก็ถูก เราไม่ได้ปฏิเสธว่ามีความระแวงกันอยู่ แต่เราถือว่าเราเดินตรงไปตรงมา 
 แต่สิ่งที่ยอมรับไม่ได้ คือ การให้ความเห็นโครงการของทีโอซี ที่ผ่านมา กรรมการสายวิชาการมีการดัดแปลงแอบแก้รายงานการให้ความเห็นของกรรมการสายเอ็นจีโอ ทั้งที่มีมติเดิมว่ากรรมการแต่ละคนมีสิทธิ์ให้ความเห็นโดยอิสระและต้องเผยแพร่สู่สาธารณะด้วย จะแก้อะไรไม่ได้ ทั้งนี้ ความไม่โปร่งใสเริ่มส่อให้เห็นตั้งแต่การรวบรวมรายงานของอนุกรรมการ ที่อยู่ดีๆ มีการสรุปว่าเห็นชอบกับโครงการดังกล่าวอย่างมีเงื่อนไข แต่ในฐานะประธานอนุกรรมการ กลับไม่ทราบที่มาของมติเห็นชอบนั้น จึงได้ทำจดหมายทักท้วงว่าที่มาของมตินี้มีความไม่ชอบมาพากล และยืนยันว่าไม่ให้ความเห็นชอบกับโครงการนี้ นอกจากนี้ เมื่อทำรายงานสรุปความเห็น กอสส. เพื่อส่งให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็พบว่ารายงานถูกแก้อีกด้วยการดึงความเห็นบางส่วนของทีมกรรมการสายเอ็นจีโอออกไป
 "สิ่งที่เกิดขึ้นได้สะท้อนว่าเหมือนมีการทุจริตในการรวบรวมความเห็นทั้งในส่วนของอนุกรรมการ และ กอสส. เมื่อมีการแอบเปลี่ยนรายงานการให้ความเห็น เรารับไม่ได้และถือว่าเป็นการทุจริต ต้องสู้กันสุดฤทธิ์ หักเหลี่ยมเฉือนคมกันจนกว่าจะแทรกรายงานฉบับที่สมบูรณ์จริงกลับเข้าไปได้ สิ่งดีอย่างเดียวที่เกิดขึ้นในการทำงานคือมติเอกฉันท์ของ กอสส. ที่ไม่เห็นชอบโครงการของทีโอซี กรรมการสายเอ็นจีโอทำให้มีเหตุผลหนักแน่นชัดเจนจนกรรมการสายวิชาการปฏิเสธไม่ได้ จึงต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ยืนตามความเห็นของเรา"
 นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการทำงานของกรรมการสายเอ็นจีโอยังถูกขัดขวางด้วย ทั้งการเตรียมคณะทำงาน และการลงพื้นที่ ซึ่งอีกฝ่ายแย้งไม่ให้ลงพื้นที่ตลอดเวลาและให้เหตุผลว่าแค่อ่านรายงานและให้ความเห็นไป 4-5 หน้าก็พอ แต่เราได้โต้ในวงประชุมว่า หาก กอสส. ตั้งขึ้นมาแล้วพิจารณาโครงการด้วยการอ่านแค่รายงานก็ไม่จำเป็นต้องตั้งองค์การอิสระขึ้นมา มีแค่คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ก็พอ กอสส. ต้องระบุตัวเองให้ชัดว่าจะมีแนวทางการทำงานอย่างไรบ้าง จะมีหลักเกณฑ์ให้ความเห็นอย่างไร 
 +ผลประโยชน์VSจิตสาธารณะ
 อีกประเด็นที่เพ็ญโฉมเห็นว่าสำคัญมากสำหรับการทำงานในฐานะ กอสส. คือ เรื่อง "จิตสาธารณะ" แต่นับตั้งแต่ กอสส. ประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 กลับพบว่า ประเด็นแรกๆ ที่หารือกันเป็นเรื่องใหญ่ยาวนานกว่าครึ่งปีคือเรื่องเงินเดือน มีความพยายามผลักดันให้ได้หลักแสนเทียบกับองค์กรอิสระอื่นๆ โดยไม่ได้คำนึงว่าเป็นเพียง กอสส. ชุดเฉพาะกาล และกรรมการแต่ละคนไม่ได้ทำงานเต็มเวลา สุดท้ายได้ข้อสรุปที่ 45,000 บาทต่อเดือน แต่เมื่อมีการตกเบิกราวเดือนสิงหาคม 2553 และให้เงินเดือนย้อนถึงวันที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้ง กอสส. อย่างเป็นทางการ (8 มิถุนายน 2553) กรรมการสายวิชาการกลับไม่พอใจและเรียกร้องให้จ่ายเงินเดือนย้อนถึงวันที่ 30 เมษายน 2553 กรณีนี้กรรมการสายเอ็นจีโอได้ทำหนังสือค้านและยืนกรานให้ยึดวันที่ตามคำสั่งนายกฯ รวมถึงเห็นชอบกับการคืนเบี้ยประชุมในช่วงที่ยังไม่ได้รับเงินเดือนกลับสู่คลัง ซึ่งกรรมการสายวิชาการ 7 คนยังไม่คืนเงิน แม้ภาครัฐจะทำจดหมายขอคืน 2 ครั้งแล้ว
 "นี่เป็นความต่างในเรื่องจิตสาธารณะที่ต้องเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ อันนี้ควรเป็นประเด็นที่ใหญ่ที่สุดที่อยากฝาก คณะกรรมการที่จะเข้ามาทำงานจริงว่า ถ้าคุณไม่พร้อมที่จะเข้ามาทำงานเพื่อประเทศ เพื่อสังคม อย่าเข้ามาเลย เพราะจะเสียเงินภาษีของประชาชนมากกว่า แล้วคุณก็เข้ามากอบโกยผลประโยชน์"
 อย่างไรก็ตาม ยังมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นใน กอสส.ชุดเฉพาะกาล ถือเป็นเรื่องดี เพราะเหมือนกับเป็นชุดทดลองทำให้เห็นว่า เมื่อตั้งองค์การอิสระขึ้นมากลไกควรเป็นอย่างไรบ้างตั้งแต่กระบวนการสรรหา การตรวจสอบประวัติของผู้ที่เข้ามาเป็นตัวแทนที่ผู้สมัครจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ปรึกษา หรือเป็นที่ปรึกษาของบริษัทที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการให้ความเห็นของ กอสส. หรือถึงแม้จะรู้ภายหลังว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก็ต้องออกจาก กอสส. นอกจากนี้ ควรกำหนดด้วยว่า กรรมการต้องทำงานเต็มเวลาและรับเงินทางเดียว มีการตรวจสอบความโปร่งใสในเรื่องทรัพย์สินก่อนที่จะมารับตำแหน่งและวันสุดท้ายที่ออกจากตำแหน่ง เพราะ กอสส. เกี่ยวข้องกับการให้ความเห็นโครงการที่มีมูลค่าสูงมาก มีโอกาสสูงที่จะถูกแทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ 
+หวัง กอสส. ยึดเจตนารมณ์ รธน.
 เมื่อถามถึงมุมมองความคาดหวังต่อ กอสส. เพ็ญโฉม บอกชัดเจนว่า โดยส่วนตัวไม่ได้อยากเข้ามาเป็น กอสส. แต่ก็มีความคาดหวังว่า องค์กรนี้จะเป็นหนึ่งในกลไกที่เข้ามาคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งมีวิกฤติศรัทธาจนถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้แล้ว ทั้งนี้ กอสส. เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นโดยถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะเมืองไทยจำเป็นต้องมีตัวกรองว่าการพัฒนารูปแบบไหนที่ควรรับเข้ามาหรือต้องมีการควบคุมเพื่อไม่ให้ปัญหารุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ นี่คือบทบาท กอสส. และ กอสส. ต้องยึดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย คือ เคารพกับสิทธิของชุมชน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน  แต่ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของ กอสส. ชุดเฉพาะกาลนี้ คือ กรรมการสายวิชาการมองไม่เห็นความสำคัญของเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้ความคุ้มครองเรื่องสิทธิชุมชน ให้การยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชน
 "ดังนั้น กรรมการที่จะเข้ามาชุดต่อๆ ไปควรจะต้องให้ความสำคัญตรงนี้ ถ้าคุณไม่สามารถให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชน ไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม ไม่เห็นความสำคัญของการตรวจสอบของภาคประชาชน ไม่เห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติเป็นวิกฤติแล้ว คุณอย่าเข้ามาผลาญงบประมาณแผ่นดิน คุณเข้ามาแล้วคุณไม่ทำงานจะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น บ้านเราจะไม่มีทางออก" 
 ส่วนการตัดสินใจลาออกครั้งนี้ ตั้งใจที่จะทำให้ปัญหาที่มีอยู่ได้รับการแก้ไข โดยต้องการให้ยกเลิก กอสส. ชุดเฉพาะกาลที่มีอยู่ในปัจจุบันยกชุด เพราะถ้าทำงานไม่ได้ คณะกรรมการประสานงานการให้ความเห็นขององค์กรอิสระที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน น่าที่จะรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเสนอว่าเมื่อกรรมการชุดนี้มีปัญหาในการทำงานก็น่าจะยกเลิกไปทั้งหมด แล้วให้เลือกผู้ที่ได้คะแนนรองลงไปขึ้นมาทั้งชุด แต่เชื่อว่าอีกฝ่ายคงไม่ยอมง่ายๆ เพราะหลังจากนายวีรวัธน์ลาออกไปก็มีการรีบร้อนตั้งประธานคนใหม่ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,653  17-20  กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รายงานความเห็นประกอบโครงการรุนแรง โครงการแรกของ องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.)

วันนี้เอา link รายงานความเห็นประกอบโครงการรุนแรง โครงการแรกของ องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) มาฝากเพื่อนๆ ก็คิดไปเอง ว่าบางคนอาจยังไม่เคยเห็นรายงานนี้มาก่อน เลยอยากประชาสัมพันธ์แจกจ่าย เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องต่างๆ

หลังจากที่เราก็ติดตามข่าว องค์กรนี้ ซึ่งกินเงินจากภาษีของพวกเรามาก็มากมาย (เป็นล้านบาทแล้วนะนั่น!!) และก็มีข่าวออกมาให้ตื่นเต้นเป็นระลอกๆ เรามาดูรายงานความเห็นประกอบของเค้าดูกันดีกว่า "กรรมการ กอสส." แต่ละคนมีความเห็นเป็นอย่างไรกันบ้าง 

ขอย้ำ!! ความเห็นของแต่ละคนในคณะนี้จริงๆ นะ เพราะมีใส่ไว้หมดเลย ว่าวิสัยทัศน์ และ ความฉลาด ของ กรรมการ แต่ละคนเป็นอย่างไร สมกับเงินค่าตอบแทนเดือนละ 45,000 บาท ที่เรียกร้องไปในแต่ละเดือน หรือไม่ มาดูกัน

แต่!! หลังจากที่เราอ่านหมดแล้ว อยากให้เพื่อนๆ ทำใจไว้บ้างนะ ว่าอาจไม่น่ารื่นรมณ์ ในเอกสารความเห็นบางหน้า เท่าใดนัก 

กดเล๊ย  ;)

http://www.greenvoice-committee.org/index.html

แล้วเลือกที่ แบนเนอร์ ด้านซ้าย อันที่เขียนว่า " รายงานความเห็นประกอบโครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล" 

ไฟล์อาจใหญ่หน่อยนะ แต่รับรอง โหลดเร็วใช้ได้อยู่ เอ้าโหลดดดด 

แล้วใครมีความเห็นอย่างไร ก็แสดงความเห็นกันบ้างนะ จะได้รู้ว่า องค์กรนี้ ควรพัฒนาไปในแนวทางไหนอีกหรือไม่ แล้วข่าวแต่ละอันที่ออกมา เราจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ต้องลองศึกษากันดูล่ะ
 

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Emil Nolde จิตรกรที่ฮิตเลอร์เกลียด


 
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:31:45 น.

Emil Nolde จิตรกรที่ฮิตเลอร์เกลียด

Share



โดย อายตนะ

 

 


Emil Nolde เป็นจิตรกรชาวเยอรมัน ผลงานของเขาถูกจัดอยู่ในประเภท expressionism คือเป็นผลงานที่ใช้สีอย่างมีชีวิตชีวา แสดงออกถึงอารมณ์แท้จริงของผู้วาดโดยไม่คำนึงถึงสัดส่วนหรือความเป็นจริงของสิ่งที่วาดมากนักEmil Nolde เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของศตวรรษที่ 20 เขาวาดทั้งสีน้ำและสีน้ำมัน ลักษณะเด่นของภาพวาดของเขาคือใช้สีที่ชัดเจน คมเข้ม ชอบใช้สีแดงเข้มและเหลืองทองเป็นพิเศษ

 

 

 

 

 



Emil Nolde หรือในชื่อเดิมคือ Emil Hanson เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ.1867 ในฟาร์มชนบทแห่งหนึ่งใกล้กับหมู่บ้านเล็กๆชื่อ Nolde ในประเทศ Denmark เขาเติบโตมาในฟาร์ม เป็นลูกชาวนาขนานแท้ มีพี่น้อง 4 คน Emil Nolde ชอบวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1884-1888 เขาไปฝึกหัดเป็นช่างไม้ในโรงงานผลิตเครื่องเรือนและในขณะเดียวกันก็วาดภาพไปด้วย

 

 

ต่อมาในปี ค.ศ.1888 Emil Nolde มีโอกาสได้เดินทางไปยังเมืองMunich เพื่อชมงานศิลปะ นับเป็นการเปิดหูเปิดตาครั้งแรกของเขากับโลกศิลปะและเป็นแรงบันดาลใจให้ Emil Nolde เข้าโรงเรียนศิลปะที่เมือง Karlsruhe ประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ.1889 โดยในตอนกลางวัน Emil Nolde ทำงานในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ พอตอนเย็นก็ไปเรียนศิลปะ

 

 

อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ.1891เมื่อ Emil Nolde เห็นประกาศรับสมัครครูสอนวาดภาพที่โรงเรียนสำหรับเด็กแห่งหนึ่งใน Switzerland เขาก็สนใจไปสมัครและในที่สุดก็ได้ทำงานเป็นครูสอนวาดภาพอยู่ที่นั่นในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1892-1898 จากนั้นจึงขอลาออกเพื่อไปเรียนศิลปะขั้นสูงและเพื่อเป็นศิลปินอิสระ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



ในปี ค.ศ.1898 Emil Nolde ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 31 ปีต้องการเข้าเรียนศิลปะแต่ก็ถูก Munich Academy of Fine Arts ปฏิเสธเนื่องจากมีอายุมากเกินไป เขาจึงหันไปเรียนวาดภาพเพิ่มเติมกับครูพิเศษตัวต่อตัว ต่อมาในปี ค.ศ. 1899 Emil Nolde เดินทางไปอยู่ที่กรุง Paris เป็นเวลา 9 เดือนเพื่อเที่ยวชมภาพวาดตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว ภาพวาดแบบ impressionism กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก

 

 

 

 

 

 

 


Emil Nolde ย้ายไปอยู่ที่เมือง Copenhagen ประเทศ Denmark ในปี ค.ศ.1900 เขามีโอกาสพบกับ AdaVilstrup นักแสดงชาติเดียวกับเขา ต่อมาในปี ค.ศ.1902 ทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกัน Emil Nolde เปลี่ยนนามสกุลใหม่โดยใช้สถานที่เกิดคือเมือง Nolde มาเป็นนามสกุล

 

 

หลังแต่งงาน Emil Nolde กับภรรยาก็ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุง Berlin ยึดอาชีพศิลปิน เขาวาดภาพจำนวนมากและก็ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมากเนื่องจากภาพวาดของเขามีสีสันสดใสแตกต่างจากภาพวาดของศิลปินอื่นๆในขณะนั้น ในช่วงปี ค.ศ.1906-1907 Emil Nolde มีโอกาสเข้าร่วมกลุ่มกับศิลปินเยอรมันหลายกลุ่ม นอกจากนี้แล้ว Emil Nolde ยังมีโอกาสได้แสดงภาพวาดของเขาร่วมกับ Kadinsky ในปี ค.ศ.1912 อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 


หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1920 Emil Nolde ออกมาแสดงตัวให้การสนับสนุนการดำเนินงานของพรรคNazi อย่างออกนอกหน้า เขาไม่ชอบศิลปินยิว เขาพยายามแสดงให้เห็นว่า expressionism เป็นศิลปะของเยอรมันแต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม Hitler ก็ไม่ชอบงานของเขาและเรียกผลงานของ Emil Nolde ว่า degenerate art ไม่นานผลงานจำนวน 1052 ชิ้นของ Emil Nolde ก็ได้ถูกยกออกไปจากพิพิธภัณฑ์ มากกว่าผลงานของศิลปินคนอื่นๆ เนื่องจาก Hitler เห็นว่าภาพวาดของเขาน่าเกลียดและไม่มีความเป็น "อารยัน" เอาเสียเลย นอกจากนี้ Emil Nolde ก็ยังถูกสั่งห้ามวาดภาพไปจนถึงปี ค.ศ.1941 อีกด้วย

 

 

 

 

 



ในปี ค.ศ.1928 Emil Nolde กับภรรยาซึ่งสุขภาพไม่แข็งแรง ได้ตัดสินใจย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่เมือง Seebull ประเทศเยอรมนี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1939-1945 แม้จะถูกสั่งห้ามวาดภาพ แต่ Emil Nolde ก็ได้แอบวาดภาพสีน้ำขนาดเล็กซ่อนเอาไว้เป็นจำนวนมาก เขาเรียกผลงานชุดนี้ว่า unpainted paintings ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1300 ชิ้น

 

 

 

 

 

 

 



หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภรรยาของ Emil Nolde ซึ่งมีสุขภาพไม่ดีมาเป็นเวลานานก็ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1946 ในปี ค.ศ.1947 Emil Nolde ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของเยอรมนีและมีการจัดแสดงผลงานเนื่องในโอกาสอายุครบ 80 ปีของเขาที่เมือง Kiel และ Lubeck



Emil Nolde แต่งงานใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อมีอายุได้ 81 ปีกับลูกสาวของเพื่อนซึ่งมีอายุเพียง 28 ปี ต่อมาในปี ค.ศ.1952 เขาได้รับเหรียญ German Order of Merit อันเป็นอิสสริยาภรณ์ชั้นสูงที่สุดที่สามารถให้แก่เอกชนได้


 


 

แม้จะมีอายุมาก แต่ Emil Nolde ก็ยังวาดภาพต่อไปเรื่อยๆ เขาวาดภาพด้วยสีน้ำมันภาพสุดท้ายในปี ค.ศ.1951 และสีน้ำภาพสุดท้ายในปี ค.ศ.1955 Emil Noldeเสียชีวิตในเดือนเมษายน ค.ศ.1956 เมื่ออายุได้ 88 ปีที่บ้านของเขาในเมือง Seebull ประเทศเยอรมนี

 



อายตนะ
ayatana2010@live.com
18 กรกฎาคม 2554


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1310967135&grpid=no&catid=12