ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รับมืออาการแปรปรวน ยาเบญจกูล ช่วยปรับสมดุล

รับมืออาการแปรปรวน ยาเบญจกูล ช่วยปรับสมดุล

                                                                                                                                                                                                                                                              วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:08:12 น.

Share1

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทย www.thaihof.org


ฟ้าฝนไม่เป็นใจ พายุฤดูร้อนลมกระโชกแรงมาเป็นระยะๆ และดูเหมือนว่าปีนี้มาถี่กว่าปีก่อน เดี๋ยวร้อนอบอ้าว เดี๋ยวชื้นลมฝน ผู้คนป่วยไข้กันงอมแงม

ถ้าพูดตามความรู้ฝรั่ง ใครป่วยไข้ก็แก้ไขกันตามอาการ มีไข้กินยาลดไข้ ไอเจ็บคอบรรเทาไปตามอาการ

แต่ถ้าว่าตามหลักการหรือทฤษฎีของการดูแลสุขภาพแต่ดั้งเดิม คนไทยให้ความสำคัญกับธาตุในร่างกาย ที่ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ บางทีนับเอาธาตุที่ 5 อากาศธาตุด้วย เมื่อธาตุทั้งหมดสมดุลกันดี ชีวิตเราก็ปกติสุข แต่ถ้าธาตุทั้ง 4 หรือ 5 เสียสมดุลร่างกายก็พลอยป่วยไข้ไม่สบาย

โบราณท่านยังแนะนำอีกว่า เหตุที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุลนั้นมีด้วยกันหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายไม่ทันได้ปรับตัว กระทบกับความร้อนบ้างเย็นบ้าง ความชื้นจากละอองฝนบ้าง ร่างกายของเราจะเสียสมดุลได้ง่าย

ยาฝรั่งชั้นดีแค่ไหนก็ยังไม่เคยได้ยิน ยาประเภทปรับสมดุลของธาตุ แต่ความรู้ตามภูมิปัญญาโบราณที่จารึกไว้ในคัมภีร์ และที่หมอแผนไทยนิยมจ่ายยาให้คนไข้ ท่านมักแนะนำให้รักษาสมดุลธาตุหรือดูแลสุขภาพตนเองไว้ให้ดี ด้วยการกินยาสมุนไพรตำรับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นพิเศษของยาไทยที่ยาฝรั่งไม่มี

คือ ยาเบญจกูล หรือพิกัดเบญจกูล 



ว่ากันตามตำรายาไทย ยาเบญจกูล หมายถึงตำรับยาที่ประกอบด้วยตัวยารสร้อน 5 ชนิด คือ ผลดีปลี รากชะพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิงแห้ง นำมาอย่างละเท่าๆ กัน หรือมีขนาดน้ำหนักเท่าๆ กัน นำมาบดผงผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดรับประทานก็ได้ ปัจจุบันมีนำมาใส่แคปซูลจำหน่าย มีสรรพคุณตามที่สืบทอดมาแต่โบราณใช้บำรุงกองธาตุทั้ง 5 ให้บริบูรณ์ หรือเรียกว่าช่วยปรับความสมดุลในร่างกาย ยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย และอาจพูดได้ว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย

ยาเบญจกูลที่บำรุงกองธาตุทั้ง 5 ให้บริบูรณ์นั้น ปราชญ์โบราณท่านได้ตั้งตำรับยานี้ที่แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาอันแยบยล โดยการแยกแยะสมุนไพรแต่ละชนิดให้คอยกำกับดูแลธาตุแต่ละอย่างให้สมดุล ดังที่กล่าวไว้ว่า ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย 5 ธาตุ (ดิน น้ำ ลม ไฟและอากาศธาตุ) สมุนไพร 5 ชนิดใน ตำรับยาเบญจกูล จึงรับหน้าที่ดูแล 5 ธาตุ คือ ผลดีปลีคุมธาตุดิน รากชะพลูคุมธาตุน้ำ เถาสะค้านคุมธาตุลม รากเจตมูลเพลิงคุมธาตุไฟ และเหง้าขิงแห้งคุมอากาศธาตุนั่นเอง

การได้กินยาเบญจกูลจึงช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ช่วยให้มีภูมิคุ้มกันเอาไว้สู้ศึกกับอากาศแปรปรวน นอกจากนี้นักวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษา ตำรับยาเบญจกูล โดยสกัดสารสำคัญด้วยเอทานอล ซึ่งแยกสารบริสุทธิ์ได้ 3 ชนิด คือ piperine, plumbagin และ 6 - gingerol สารเหล่านี้ในตำรับยาเบญจกูลมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งปอดได้ แต่ก็พบว่าสารที่ชื่อ plumbagin นี้ไม่ค่อยคงทนจะเสื่อมสลายได้ง่ายมากในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิห้องทั่วไปก็สลายฤทธิ์แล้ว สารสกัดตัวนี้จึงต้องเก็บไว้ในห้องเย็นหรือที่อุณหภูมิต่ำ 

การศึกษานี้แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ตำรับยาโบราณที่บรรพบุรุษคิดค้นไว้ไม่ได้เลื่อนลอย เมื่อนำวิทยาการสมัยใหม่มาทดสอบก็ได้ผลน่าพอใจทีเดียว บางท่านอาจสงสัยว่าแล้วยาผงที่บดจากสมุนไพร 5 ชนิด จะได้ผลดีตามงานวิจัยหรือไม่ ต้องตอบว่ายังไม่มีการพิสูจน์ในการวิจัย แต่ถ้าเราเดินตามภูมิปัญญาที่สั่งสมประสบการณ์การใช้มานับร้อยปี

ตำรับยาเบญจกูลช่วยปรับสมดุลให้ชาวไทยมานับไม่ถ้วน และถือว่าเป็นยาบำรุงธาตุ จึงควรนำกลับมาใช้กันทั่วไป

เมื่อลองแยกแยะสรรพคุณสมุนไพรทั้ง 5 ซึ่งเป็นสมุนไพรที่หาได้ไม่ยาก ก็พบว่าแต่ละชนิดมีสรรพคุณดีๆ ดังเช่น

ผลดีปลี รสเผ็ดร้อนขม แก้ปถวีธาตุพิการ(คุมธาตุดิน) ขับลมในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้หืดไอ แก้ลมวิงเวียน ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น

รากชะพลู รสเผ็ดร้อน คุมธาตุน้ำ จึงช่วยแก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก ทำให้เสมหะแห้ง ขับลมในลำไส้ และบำรุงธาตุด้วย 

เถาสะค้าน บางท่านอาจสงสัยว่าต้นสะค้านเป็นอย่างไร สะค้านเป็นไม้เถาขนาดกลาง ใบเดี่ยวรูปหอกกว้างคล้ายใบพริกไทยหรือใบพลูแต่แคบกว่า ปลายแหลมสีเขียวเข้ม มักเกิดตามป่าดงดิบทั่วไป สะค้านมี 2 ชนิด สะค้านขาวเนื้อไม้มีสีขาว และสะค้านแดง มีเนื้อไม้สีแดงส้ม จะมีฤทธิ์ร้อนแรงกว่ามักนำมาทำยามากกว่าด้วย สรรพคุณยาโบราณว่า เถาสะค้านมีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุ (คุมธาตุลม) ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ 

รากเจตมูลเพลิง ต้นเจตมูลเพลิงมี 2 ชนิด ขาวและแดง ซึ่งนิยมใช้เจตมูลเพลิงแดงมาทำยา มีรสร้อน ช่วยคุมธาตุไฟ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลม บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ขับโลหิตระดู เหง้าขิง ในตำราว่ามีรสหวานเผ็ดร้อน ช่วยบำรุงอากาศธาตุ ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ

ถ้าติดตามการศึกษาวิจัยใหม่ก็จะพบสรรพคุณเหง้าขิงอีกมากมาย เป็นพืชที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงชนิดหนึ่ง แก้หวัด ลดน้ำมูกอีกด้วย 

นอกจากจุดเด่นของยาไทยที่ช่วยป้องกันและช่วยปรับธาตุให้สมดุลไม่ไห้เจ็บไข้ได้ป่วยง่ายๆ แล้ว ยาไทยมีดีกว่ายาฝรั่งอีกประการคือ เมื่อแยกตัวยาออกจากกันแต่ละชนิด ก็สามารถนำมาใช้แบบสมุนไพรเดียว มีสรรพคุณดีอีกหลายประการ และเมื่อรวมกันเข้าเป็นตำรับอีกครั้ง ฤทธิ์ยาก็ครบเครื่องสร้างสมดุลให้แก่ธาตุทั้ง 5 ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

และใครที่ไม่ชอบกินยา นำสมุนไพรเหล่านี้ทำเป็นอาหารดูแลสุขภาพได้ด้วย


                        http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304395731&grpid=&catid=50&subcatid=5000

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น