ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

น้าชาติและอินโดจีน

น้าชาติและอินโดจีน

วันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.

Share




โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข 

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2554)

เสียงปืนที่ชายแเดนไทย-กัมพูชาเบาบางลงไป เหลือการปะทะประปราย หลังจากรบดุเดือดมา 2 สัปดาห์กว่า 

ทหาร ชาวบ้าน ล้มตายบาดเจ็บไม่น้อย

ในระหว่างการสู้รบของสองฝ่าย มีข่าวสะพัดว่า เวียดนามส่งทหารเข้ามาร่วมรบ ขณะที่ข่าวเล่าลือด้วยว่า ทหารลาวก็อาจจะเข้าช่วยกัมพูชา 

เป็น "เธิร์ด ปาร์ตี้" ที่ไม่ใช่อินโดนีเซีย

ข่าวเหล่านี้จะจริงหรือไม่ เวลาจะเป็นผู้ตอบ แต่ข่าวเหล่านี้สะท้อนว่า มิตรไมตรีระหว่างประเทศต่างๆ ในอินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงไป

คนที่ไปลงทุนในกัมพูชา เล่าด้วยความหนักใจว่า เอ่ยถึงคนไทยหรือประเทศไทยขึ้นมา คนเขมรจะมีปฏิกิริยาทันที 

ขณะที่บ้านเราเองก็คงจะทำนองเดียวกัน

แน่นอนว่าคนเราย่อมมีความรักชาติ หวงแหนแผ่นดิน แต่ต้องถามเหมือนกันว่า ถ้ารักชาติ หวงแหนแผ่นดิน โดยไม่ต้องทะเลาะหรือโกรธเกลียดเพื่อนบ้าน จะเป็นไปได้หรือไม่ จะเป็นประโยชน์กับชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าหรือไม่ 

ท่ามกลางบรรยากาศที่ตึงเครียดระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน หลายคนอาจจะหวนนึกถึงนักการเมืองรุ่นเก่าๆ ที่มีบทบาทสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านขึ้นมาอย่างยากเย็น

มิตรภาพระหว่างไทยกับประเทศในอินโดจีน กว่าจะสร้างขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ด้วยอุปสรรคสารพัด ทั้งจากประวัติศาสตร์ และอดีตขมขื่น

ต้องให้เครดิตกับคนอย่าง พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา รมว.ต่างประเทศในรัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกฯ และ นายวงศ์ พลนิกร อดีต รมช.ต่างประเทศ ผู้ไกล่เกลี่ยศึกไทย-ลาว เมื่อต้นปี 2531 

โดยเฉพาะ อดีตนายกฯ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกฯคนที่ 17 

"น้าชาติ" ที่คนรุ่นนั้นเรียกกัน รับตำแหน่งนายกฯในเดือนสิงหาคม 2531 

หลังจากเดาะบอล ว่ายน้ำ ตีเทนนิส โชว์ภาพความฟิตเกินวัย 68 ปีขณะนั้น ก็ประกาศนโยบาย "ทำสนามรบ เป็นตลาดการค้า" ที่ห้องประชุมบ้านราชครู เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ 

พร้อมกับเดินหน้าเอาจริงทันที 

เขมรที่แตกเป็น 4 ฝ่ายมายุติในช่วงเวลานี้ โดยมีทีมงานสำคัญได้แก่กลุ่มบ้านพิษณุโลก ประกอบด้วยนักวิชาการหนุ่มๆ หัวก้าวหน้า ทำงานจริงจัง

กลายเป็นรากฐานให้การค้าขายในอินโดจีนเฟื่องฟูสุดสุดในเวลาต่อมา 

น่าเสียดายที่ปลายปี 2533-2534 รัฐบาลกับทหารขัดแย้งกัน จบด้วยรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ปิดฉากรัฐบาลน้าชาติลงไป

แต่นโยบายอินโดจีนของ พล.อ.ชาติชายไม่เคยโดนปฏิวัติ เพิ่งจะมาโดนเมื่อเร็วๆ นี้เอง 

น้าชาติถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 2541 ด้วยวัย 78 ปี แต่ยังไม่มีใครลืม "นายกฯโนพร็อบเบลม" ผู้มีบุคลิกเฮฮา ทำงานเก่ง ใช้คนเป็น 

ถ้ายังอยู่ พล.อ.ชาติชาย จะมีอายุครบ 90 ปีในปีนี้ คงยังเฮฮาเอิ๊กอ๊าก และให้ข้อคิดดีๆ กับคนรุ่นหลังได้

 

แต่เมื่อน้าชาติไม่อยู่แล้ว วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคมนี้ 18.00-22.00 น. ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มูลนิธิ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ จะจัดงานเสวนา รำลึกผลงาน การริเริ่มต่างๆ ที่ยังทันสมัย และมีผลถึงปัจจุบัน

ในชื่องาน "รำลึก พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ รำลึกเอกบุรุษชาติอาชาไนย" มี สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นแม่งาน

ลองไปฟังกันดู จะได้รู้ว่าเขาเป็นนายกฯกันยังไง ผ่าน 20 กว่าปี ยังมีคนถามหากันอยู่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น