ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

การปฎิรูปการศึกษาไทย จากคุณเวคิน


จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 28 มกราคม 2554, 15:33
หัวเรื่อง:  การปฎิรูปการศึกษาไทย จากคุณเวคิน
ถึง: 


เรียนสื่อมวลชนทุกท่าน
บทความของคุณเวคินคะ
เห็นว่าพอจะมีประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจด่านการศึกาษจึงใคร่ขอส่งมาเพื่อให้เผยแพร่ หรือตามแต่จะเห็นเหมาะสมคะ
กมลพรรณ 08 6367 1004
 



 
From:
Date: 2011/1/18
Subject: การปฎิรูปการศึกษาไทย
To: khonthaika1@gmail.com


สวัสดีครับคุณหมอกมลพรรณ

 

ผมเวคิน อริยะสุนทร เคยได้พบและคุยกับคุณหมอหลายครั้งแล้วครับ

พอดีเมื่อวานผมได้รับอีเมล์เกี่ยวกับการคัดค้านแอดมิดชั่นกลางครับ

 

ผมมีข้อเสนอแนะ และขอให้ความรู้จากประสพการณ์ของผมโดยตรงครับ

ผมต้องแนะนำตัวเองก่อนว่าผมได้จบการศึกษามาจากที่ไหนบ้างครับ

 

ประถมศึกษา - โรงเรียนคริสในประเทศไทย เรียนถึงป.4

ประถมศึกษาปีที่ 4 - มัถยมปลาย - โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย แห่ง และมีช่วงนึงได้ไปศึกษาที่อเมริกาเป้นเวลา ปี

ปริญญาตรี วิศวะ- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ

ปริญญาโท วิทยาศาสตร์ - มหาวิทยาลัยอันดับของประเทศสวีเดน ด้านอวกาศวิทยาศาสตร์

ปริญญาโท การจัดการ - มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ

 

ต้องขออภัยที่ต้องรบกวนคุณหมอให้ช่วยอ่าน เพื่อจะได้ปฎิรูปการศึกษาไทยของเราได้

อาจจะยาวไปนิด แต่เป็นข้อคิดที่กระทรวงการศึกษาของไทยควรจะต้องปรับปรุง

 

ผมได้มีโอกาศศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศไทย ได้มีการสอบเอนทรานซ์ในสมัยนั้น

ผมได้มีโอกาศศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศ อเมริกา

และยังได้มีมีโอกาศศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศยุโรป

 

ผมมีเพื่อนต่างชาติมากในขณะที่เรียนอยู่ และผมคิดว่าระบบการศึกษาของอเมริกาหรือจะยุโรปก้ดี จะแตกต่างจากของไทยอบ่างสิ้นเชิง

ซึ่งข้อแตกต่างนี้ ทำให้นักเรียน ครู และผู้สำเร็จการศึกษามานั้น มีคุณภาพและมีศักยภาพที่แท้จริง

 

ข้อแตกต่างที่ว่านั้นมันต้องเริ่มจากช่วงมัธยม การศึกษาในไทยนั้น จะบังคับให้เรียนแบ่งเป็น สาย สายวิทย์และสายศิลป์

ซึ่งถ้าถามกันตรงๆ เด็กม..ม.3 จะสามารถกำหนดได้อย่างไรว่าตัวเองต้องการเป็นอะไรในชีวิต ต้องการศึกษาอะไรในชีวิต

เด็กบางคนยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าตัวเองจะเรียนอะไร อยากทำงานอะไร แต่โดนบังคับให้เรียนสายวิทย์และสายศิลป์

ซึ่งคนเก่งก้อจะได้อยุ่สายวิทย์ คนไม่เก่งก้อยุ่สายศิลป์ มีเพียงไม่กี่คนที่เรียนเก่งและสามารถเลือกเองได้ แต่แล้วอย่างไร ถ้าเลือกไปแล้วไม่ชอบ

การเปลี่ยนสายการเรียนในกาศึกษาเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน บางโรงเรียนไม่ยอมให้เปลี่ยน 

เด็กก้อจะไม่ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ

 

การศึกษาในอเมริกาและในยุโรปบางประเทศ

แบ่งให้มีการศึกษาเป้น ช่วง Elementary , Middle , and Highschool

ที่สำคัญที่สุดคือ มัธยมปลาย ซึ่งเรียน ปี

แต่ในการเรียน ปีนี้ ไม่มีการแบ่งว่าเป็นสายศิลป์หรือสายวิทย์

จะมีวิชาหลักให้นักเรียนต้องลงเรียน  และมีจำนวนเครดิตที่ต้องเก็บให้ครบถึงจะเรียนจบได้ เหมือนในมหาวิทยาลัย

วิชาหลักที่ต้องเรียนมีดังนี้ ขอเขียนเป็นภาษาอังกฤษ

Algebra, Geometry, Trigonometry, English1-4, Religions 1-4 or Moral and Ethics1-4, Biology, Chemistry, Secondary Language 1-2, Physical Education 1-4, World History, American History (their native history), Computer

 

นอกนั้นเป็นวิชาเลือก เช่นถ้าอยากลองเรียนบัญชี ก้ลงวิชาบัญชี 

ถ้าชอบเลขก้เรียนเลขเพิ่ม Calculus, Advance Calculus

ถ้าชอบภาษาก้เรียนภาษาเพิ่มเช่น ปกติต้องเลือกภาษาที่นอกจากอังกฤษอยู่แล้ว ก้เลือก Japanese 1-2, แล้วต่อด้วย 3-4 หรือเรียนแล้วไม่ชอบก็เปลี่ยน เป็นฝรั่งเศส จีน ลาติน อื่นๆ

ถ้าชอบเคมีก็เรียน Advanced Chemistry, Advanced Biology ชอบเรียนผ่าตัดก็เรียนวิชาที่เกี่ยวกับการผ่าตัดเพิ่ม

สรุปว่า นักเรียนสามารถเลือกชีวิตการเรียนรู้เองได้ อยากเรียนอะไรก็เลือกได้ ไม่ต้องมาแข่งขันกันตั้งแต่ม.3ว่าจะเข้าสายไหน

นักเรียนสามารถรุ้ได้ว่า ตัวเองอยากเรียนอะไร อยากจะเรียนด้านไหน ชอบอะไร ถนัดอะไร

แถมยังไม่ต้องมีการเรียนพิเศษกวดวิชาอะไรทั้งสิ้น ผมเป็นคนนึงที่เคยสมัครเรียนเพราะตามเพื่อน แต่ไปเรียนครั้งเดียวเลิก

ไม่ได้ความรู้เพิ่มเลย มีแต่การท่องจำ หาสูตรลัด ซึ่งไร้สาระมากต่อการเรียนรู้

 

แล้วกระทรวงการศึกษาจะมีการสอบวัดระดับความรู้นักเรียนในโรงเรียนทุกปี

ซึ่งเป็นข้อสอบส่วนกลางจากรัฐบาล นักเรียนทุกคนต้องสอบ สอบทุกวิชา

1. เพื่อวัดมาตรฐานการสอนในโรงเรียน

2. เพื่อให้นักเรียนรู้ตัวเองว่า ความรู้ความสามารถในแต่ละด้านของตัวเองนั้นอยู่ในระดับไหน

ซึ่งการสอบตัวนี้ไม่มีผลต่อการคะแนนการเรียนหรือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยใดๆ ทั้งสิ้น

 

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ตามที่กล่าวมาข้างต้นให้ทราบแล้วนั้น นักเรียนจะสามารทรู้และเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบได้

แต่สำหรับในเมืองไทยแล้ว ต่อให้เรียนมหาลัยเอกชลที่เลือกคณะได้ ตัวเองก้ยังไม่รุ้ว่าจะเรียนอะไรเลย

 

การสอบที่อเมริกามีข้อสอบกลางเรียกว่า SAT สมัยที่ผมเรียนเป็นข้อสอบกระดาษ แบ่งเป็น ส่วน อังกฤษและเลข

คะแนนเต็มส่วนละ800 รวมเป็น 1600 ซึ่งจริง ๆแล้วเป็นเลขพื้นฐาน และเป้นอังกฤษพื้นฐานที่จะเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย

มีฟังอ่านเขียน

การสอบมีทุกเดือน สามารถสอบกี่ครั้งก้ได้ สามารถลองสอบได้ตั้งแต่เกรด10 หรือ ม.4.

จะสอบทุกเดือนจนเรียนจบก้ได้ เค้าไม่ส่งข้อมูลนี้ไปให้มหาวิทยาลัย นอกจากเราจะบอกให้ทางSAT ส่งคะแนนไป

คะแนนจะเก็บไว้ ปี

แล้วทุกมหาวิทยาลัยเปิดรับโดยตรง ไม่มีสอบตรง แค่รับสมัครตรง

การสมัครเพียงแต่ใช้คะแนน SAT, GPA, และใบแนะนำจากครูที่สอนมาอย่างน้อย ท่าน

ถ้าหากคิดว่าภาควิชาของมหาวิทยาลัยนั้นๆมีการแข่งขันสูง เราสามารถเลือกสอบข้อสอบพิเศษตามแต่รายวิชาได้ เรียกว่า SAT2

เช่นต้องการเรียนวิศวะที่ California University of Technology นักเรียนก้ข้อสอบวิชาที่คิดว่ามหาลัยนะจะพิจารานาเรามากขึ้น เช่นสอบวิชา Calculus, Physics, หรือวิชาอื่นๆ ที่ทำให้รู้ว่าเรามีความสามารถจริง

 

การไม่มีแอดมิชชั่นกลางนั้นดีมาก แต่มหาวิทยาลัยต้องเปิดเสรีแบบต่างประเทศ

การศึกษาต้องบูรณการเริ่มจากรากฐานไม่ใช่แค่อุดมศึกษา เพราะมันคือปลายเหตุแล้ว

แก้ปลายเหตุอย่างเดียว อีกไม่นานเกินรอ ประเทศไทยจะมีแต่คนจบปริญญาโทแต่ไม่มีความรู้ความสามารถในการแข่งขัน

เพราะว่าท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง

 

คุณหมอลองอ่านแล้วพิจารณาด้วยนะครับ ผมว่าถ้าเราผลักดันระบบนี้ได้ การศึกษาไทยจะก้าวหน้าวกว่านี้เยอะ

หนังสือที่ต่างประเทศเค้าใช้เรียนที่เรียนว่า TEXT BOOK พิมด้วยกระดาษอาร์ตมันปกแข็ง

เค้าเรียนกันได้เป็น 5-10 ปีกว่าจะเปลี่ยนหรือแก้ไข แล้วก้มีหลายสำนักให้แต่ละโรงเรียนเลือกซื้อ

แต่เนื้อหาจะใกล้เคียงกัน แตกต่างกันที่ราคาและ สีสันหน้าปก

ตั้งแต่ชั้นป.1-ม.6 ต่างประเทศใช้ Text book ที่ใช้ต่อจากรุ่นพี่ ไม่ต้องเสียตังค่าหนังสือ แถมใช้ได้นานหลายรุ่น 

โรงเรียนไทยก้มีเหมือนกัน หนังสือสู่รุ่นน้อง แต่พิมด้วยกระดาษเปื่อยๆ สีน้ำตาล

ใช้ได้ปีเดียวแล้วก้ต้องทิ้ง สั่งซื้อใหม่

 

ต้องขอโทษด้วยครับที่การใช้ภาษาไทยของผมอาจจะไม่สุภาพหรือไม่ถูกต้อง

ผมเรียนจบภาษาไทยแค่ป.เองครับ

 

ขอบคุณมากครับ

 

ด้วยความนับถือ

 

 เวคิน อริยะสุนทร






วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

Upcoming Lecture ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนรถไฟ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.30-20.00 น.



จาก: Thousand Stars Foundation มูลนิธิพันดารา <1000tara@gmail.com>
วันที่: 28 มกราคม 2554, 12:06
หัวเรื่อง: Upcoming Lecture
ถึง: 

มูลนิธิพันดาราขอเชิญทุกท่านร่วมฟังบรรยาย เรื่อง “ศิลปะแห่งความสุข” (Art of Happiness) โดยริงกุ ทุลกุ ริมโปเช ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนรถไฟ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.30-20.00 น.
 
The 1000 Stars Foundation invites you to attend a lecture on "The Art of Happiness" by highly respected Ringu Tulku Rinpoche at the Buddhadasa Indapanno Archives on February 2, 2011 at 5:30 pm - 8:00 pm.
 
กำหนดการเดิม เป็นการบรรยายเรื่อง “การเตรียมตัวสำหรับวาระสุดท้ายของชีวิต” (Graceful Dying: How to Prepare for Oneself and Loved Ones) เราขอเปลี่ยนเป็นการบรรยายเรื่อง “ศิลปะแห่งความสุข” (Art of Happiness) แทนค่ะ เวลาและสถานที่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ
 

The topic of Ringu Tulku Rinpoche’s talk on February 2nd has been changed from "Graceful Dying: How to Prepare for Oneself and Loved Ones" to “The Art of Happiness.”   Time and place for this event are the same as scheduled previously.

 

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรยายธรรมะของ ริงกุ ทุลกุ ริมโปเช หาอ่านได้บนเว็บไซต์ของ Littlebang ค่ะ http://littlebang.org/2011/01/13/ringu-tulku-rinpoche-bkk-feb-2011/
 
For full schedule of Rinpoche’s talks and Dharma teachings, please visit the Littebang’s website at http://littlebang.org/2011/01/13/ringu-tulku-rinpoche-bkk-feb-2011/

 

เอมมี่ ~ ผู้ประสานงานทั่วไป
Amy (Coordinator)

 


Date: Fri, 21 Jan 2011 07:10:33 +0700

Subject: Upcoming Lecture and Retreat
มูลนิธิพันดาราขอเชิญทุกท่านร่วมฟังบรรยาย เรื่อง “การเตรียมตัวสำหรับวาระสุดท้ายของชีวิต” (Graceful Dying: How to Prepare for Oneself and Loved Ones) โดยริงกุ ทุลกุ ริมโปเช ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส สวนรถไฟ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17.30-20.00 น.
 
The 1000 Stars Foundation invites you to attend a lecture on "Graceful Dying: How to Prepare for Oneself and Loved Ones" by highly respected Ringu Tulku Rinpoche at the Buddhadasa Indapanno Archives on February 2, 2011 at 5:30 pm - 8:00 pm.
 
 
และขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมปฏิบัติธรรม "เยียวยาจิตใจบนวิถีตารา" ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ศูนย์ขทิรวัน หัวหิน กำหนดการและรายละเอียดเกี่ยวกับที่พักและการเดินทาง ได้แจ้งไว้ในเอกสารที่แนบมาพร้อมอีเมล์ฉบับนี้
 
And we invite you to participate in the Green Tara Retreat on February 5-6, 2011 at Khadiravana Center, Hua-Hin.  Program and details about accommodation and transportation service are provided in the attached files.
 
In the map (Engish version) to Khadiravana Center, we provided two telphone numbers for you to contact us if you need direction while traveling to Khadiravana Center, please call 0822999002 only because the other phone number is currently not available.  Thank you.
 
เอมมี่ ~ ผู้ประสานงานทั่วไป
Amy (Coordinator)

--

ThaiPBS E-Newsletter ฉบับเดือนมกราคม 2554



จาก: Webmaster ThaiPBS <webmaster@thaipbs.or.th>
วันที่: 28 มกราคม 2554, 9:38
หัวเรื่อง: ThaiPBS E-Newsletter ฉบับเดือนมกราคม 2554
ถึง: Webmaster ThaiPBS <webmaster@thaipbs.or.th>


วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

แอดมิชชั่นสูบเลือดผู้ปกครอง ทำลายสมอง สุขภาพจิต และอนาคตลูกหลานไทย


จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 19 มกราคม 2554, 21:13
หัวเรื่อง: แอดมิชชั่นสูบเลือดผู้ปกครอง ทำลายสมอง สุขภาพจิต และอนาคตลูกหลานไทย
ถึง:

http://www.parent-youth.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538688970&Ntype=3


เอดมิชชั่น   :      สูบเลือดผู้ปกครอง ทำลายสมอง สุขภาพจิต  อนาคตลูกหลาน ไทย


แอมดิชั่นการสอบเข้ามหาลัยปี 49  

 มหาลัย  ประกาศว่าจะใช้เกณฑ์ นี้เมื่อ วันที่ 11 พค.   48    และให้นักเรียน   สอบเดือน กพ มีค.  49   ใช้เกณฑ์ 4  อย่างคือ

1) GPAX     10 %คือเกรด  คะแนน รวม  ระดับม.4-6    ทุกรายวิชา

2) GPA คือเกรด  คะแนน รวม  ไม่เกิน 5 กลุ่มสาระวิชา 20 %

3) แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ หรือโอเน็ต O-Net** (Ordinary National Educational Test) 35 - 70 %ไม่เกิน 5 กลุ่มสาระวิชา จาก 8 กลุ่มสาระวิชา คือ ภาษาไทย สังคม(ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา  ฯ)    อังกฤษ    เลข  และวิทยาศาสตร์(เคมี ชีวะ ฟิสิค)  เด็กทุกคนต้องสอบเหมือนกันหมด ไม่ว่าสายวิทย์    หรือศิลป์

 4) การสอบวัดความรู้ในระดับสูง หรือเอเน็ต   35 % A-NET** (Advanced National Educational Test) เป็นการทดสอบในระดับสูงขึ้น ไม่เกินสามวิชา

ปัญหาที่เกิดขึ้น

1 ไม่ยุติธรรม  เกณฑ์พึ่งประกาศปีนี้  แต่คะแนนเก็บ  เอาของชั้นม.4 ที่ผ่านมาแล้ว สองปี

2 วิชาที่ไม่ได้เรียนมาสองปี ก็นำมาสอบ เช่นในโรงเรียนนำร่องบางแห่ง  ไม่มีสอน  ในสายศิลป์  หลายคนมุ่ง อยากเข้าเรียนในคณะที่ตนต้องการเรียน โดยที่เขาได้เตรียมตัวสอบ ในวิชานั้นๆมาแล้ว แต่ต้องมาอ่านวิชาที่ไม่เคยเรียน  เช่นคณะสายศิลป์ กลับต้องสอบวิชา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ท่านลองคิดดูว่า นักเรียนที่เรียนสายศิลป์ ส่วนใหญ่ย่อมถนัดไปทางภาษา    และเรียน คณิตศาสตร์ ได้ไม่ดีนัก

 แล้ววิชาภาษาต่างประเทศ เช่น จีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น บาลี เยอรมัน กลับไม่มีการสอบ แต่ให้สอบ วิทยาศาตร์ และคณิตศาสตร์แทน แล้วอย่างนี้จะให้เรียนไปทำไม

3 ไม่ตรงกับการพัฒนาเด็ก  ที่ถูกต้อง  เช่น  บางโรงเรียนที่นำร่อง  ปฎิรูปหลักสูตรตาม childed center  กลับต้อง เปลี่ยนเป็นหลักสูตรเก่าเพื่อให้เด็ก  เข้ามหาลัยได้

 แต่ทำลาย ระบบ  childed center  เด็กยิ่งเรียนสูงขึ้น ไอคิว(วัดความสามารถทางวิเคราะห์)  ลดลง  สุขภาพจิตแย่  เครียด

4. แอดมิสชั่น สร้างภาระ ค่ากวดวิชาให้ผู้ปกครองเป็นอย่างมาก คนที่ดูเหมือนจะรวยในนาทีนี้ก็คือ สถาบันกวดวิชาต่างๆ  และครูในโรงเรียนที่ขาดความเป็นครู 
เพราะจะบอกข้อสอบเฉพาะเด็กที่เรียนพิเศษกับตนเท่านั้น  วิชาหนึ่งก็ 500-4500 บาทต่อเทอม     ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กมีเงินกับเด็กยากจน 

สร้างแบบอย่างเลวๆ ให้เด็กเห็นตั้งแต่มัธยม
 
5.นักเรียนขาดความสุขกับการเรียน เพราะต้องมานั่ง กวดวิชาที่ตัวเองไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเพื่อสอบ โอเนต +เอเนต

 เช่น  นักเรียนที่ต้องการเรียนคณะอักษรศาสตร์ กลับต้องสอบ วิทย์       สถาปัตย์ ต้องสอบ ชีวะ             รัฐศาสตร์ ต้องสอบ เลข วิทย์

6.ที่สำคัญตอนนี้เกรดเฉลี่ย ล้นมากล้นเมืองเหลือเกิน ทั่วราชอาณาจักร 4.00 เยอะมากๆ เพราะผลพวงจากการเพิ่ม จีพีเอ

7.การเพิ่มค่าน้ำหนักในการสอบ  รายวิชาต่างๆ      ไม่ตรงกับการเรียนในมหาลัย   เช่น พวกคณะศิลป์ เน้น ภาษา ไม่ต้องใช้วิทย์ คณิต     แต่การกำหนดให้ค่าน้ำหนักแบบไม่สมเหตุสมผล

ทางออก
1    GPA  ควร แค่ 0-10  %  เพราะไม่มีมาตรฐาน   ส่งเสริมครู ทำมาหากินกับเด็ก

2    ONET   ควรจะสอบเฉพาะ บางวิชาที่ตรงกับคณะที่จะเรียน   และให้สอบน้อยวิชามากสุด  เน้นการวิเคราะห์  เช่นสายศิลป์ไม่ควรสอบวิทย์ คณิต     ต้องคำนึงถึงโรงเรียนนำร่องหลักสูตรการศึกษา  ด้วย    ควรมีการประชาพิจารณ์ก่อนประกาศใช้   และประกาศล่วงหน้าสามปี  

3    มีกฎหมายลงโทษครูกักข้อสอบ  เพื่อทำมาหากิน

4    มีกฎหมายควบคุม โรงเรียนกวดวิชา ทั้งค่าเล่าเรียน   เวลาที่สอน  และสถานที่สอน  หรือยกเลิกไปเลย

5    มีกำหมายลงโทษ ผู้ที่ทำให้ข้อสอบรั่ว  ทั้งANET   ONET  ข้อสอบโรงเรียนเอง

6    ประกาศก่อนล่วงหน้า   สามปี 

7    มีผลวิจัยรองรับข้อดีข้อเสีย
 
8      มีการวัดไอคิวเด็กทุกปี     มีการสำรวจสถิติเด็กทางด้านสุขภาพจิต

พญ กมลพรรณ  ชีวพันธุศรี    www.parent-youth.net
โทร  012980284         แฟกซื 02-7637722




http://www.parent-youth.net/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=parent-youthnet&thispage=10&No=384359

แอดมิชชั่น สูบเลือดผู้ปกครอง ทำลายสมอง ,สุขภาพจิต และอนาคตลูกหลานไทย


เอดมิชชั่น : สูบเลือดผู้ปกครอง ทำลายสมอง สุขภาพจิต อนาคตลูกหลานไทย

แอมดิชั่นการสอบเข้ามหาลัยปี 49
มหาลัย ประกาศว่าจะใช้เกณฑ์ นี้เมื่อ วันที่ 11 พค. 48 และให้นักเรียน สอบเดือน กพ มีค. 49 ใช้เกณฑ์ 4 อย่างคือ

1) GPAX 10 %คือเกรด คะแนน รวม ระดับม.4-6 ทุกรายวิชา

2) GPA คือเกรด คะแนน รวม ไม่เกิน 5 กลุ่มสาระวิชา 20 %

3) แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ หรือโอเน็ต O-Net** (Ordinary National Educational Test) 35 - 70 %ไม่เกิน 5 กลุ่มสาระวิชา จาก 8 กลุ่มสาระวิชา คือ ภาษาไทย

สังคม(ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา ฯ)
อังกฤษ เลข
และวิทยาศาสตร์(เคมี ชีวะ ฟิสิค)
เด็กทุกคนต้องสอบเหมือนกันหมด ไม่ว่าสายวิทย์ หรือศิลป์

4) การสอบวัดความรู้ในระดับสูง หรือเอเน็ต 35 % A-NET** (Advanced National Educational Test) เป็นการทดสอบในระดับสูงขึ้น ไม่เกินสามวิชา

ปัญหาที่เกิดขึ้น
1 ไม่ยุติธรรม เกณฑ์พึ่งประกาศปีนี้ แต่คะแนนเก็บ เอาของชั้นม.4 ที่ผ่านมาแล้ว สองปี
2 วิชาที่ไม่ได้เรียนมาสองปี ก็นำมาสอบ เช่นในโรงเรียนนำร่องบางแห่ง ไม่มีสอน ในสายศิลป์ หลายคนมุ่ง อยากเข้าเรียนในคณะที่ตนต้องการเรียน โดยที่เขาได้เตรียมตัวสอบ ในวิชานั้นๆมาแล้ว แต่ต้องมาอ่านวิชาที่ไม่เคยเรียน เช่นคณะสายศิลป์ กลับต้องสอบวิชา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ท่านลองคิดดูว่า นักเรียนที่เรียนสายศิลป์ ส่วนใหญ่ย่อมถนัดไปทางภาษา และเรียน คณิตศาสตร์ ได้ไม่ดีนัก แล้ววิชาภาษาต่างประเทศ เช่น จีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น บาลี เยอรมัน กลับไม่มีการสอบ แต่ให้สอบ วิทยาศาตร์ และคณิตศาสตร์แทน แล้วอย่างนี้จะให้เรียนไปทำไม

3 ไม่ตรงกับการพัฒนาเด็ก ที่ถูกต้อง เช่น บางโรงเรียนที่นำร่อง ปฎิรูปหลักสูตรตาม childed center กลับต้อง เปลี่ยนเป็นหลักสูตรเก่าเพื่อให้เด็ก เข้ามหาลัยได้ แต่ทำลาย ระบบ childed center เด็กยิ่งเรียนสูงขึ้น ไอคิว(วัดความสามารถทางวิเคราะห์) ลดลง สุขภาพจิตแย่ เครียด

4. แอดมิสชั่น สร้างภาระ ค่ากวดวิชาให้ผู้ปกครองเป็นอย่างมาก คนที่ดูเหมือนจะรวยในนาทีนี้ก็คือ สถาบันกวดวิชาต่างๆ และครูในโรงเรียนที่ขาดความเป็นครู เพราะจะบอกข้อสอบเฉพาะเด็กที่เรียนพิเศษกับตนเท่านั้น วิชาหนึ่งก็ 500-4500 บาทต่อเทอม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กมีเงินกับเด็กยากจน สร้างแบบอย่างเลวๆ ให้เด็กเห็นตั้งแต่มัธยม

5.นักเรียนขาดความสุขกับการเรียน เพราะต้องมานั่ง กวดวิชาที่ตัวเองไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเพื่อสอบ โอเนต +เอเนต เช่น นักเรียนที่ต้องการเรียนคณะอักษรศาสตร์ กลับต้องสอบ วิทย์ สถาปัตย์ ต้องสอบ ชีวะ รัฐศาสตร์ ต้องสอบ เลข วิทย์
6.ที่สำคัญตอนนี้เกรดเฉลี่ย ล้นมากล้นเมืองเหลือเกิน ทั่วราชอาณาจักร 4.00 เยอะมากๆ เพราะผลพวงจากการเพิ่ม จีพีเอ

7.การเพิ่มค่าน้ำหนักในการสอบ รายวิชาต่างๆ ไม่ตรงกับการเรียนในมหาลัย เช่น พวกคณะศิลป์ เน้น ภาษา ไม่ต้องใช้วิทย์ คณิต แต่การกำหนดให้ค่าน้ำหนักแบบไม่สมเหตุสมผล

ทางออก
1 GPA ควร แค่ 0-10 % เพราะไม่มีมาตรฐาน ส่งเสริมครู ทำมาหากินกับเด็ก
2 ONET ควรจะสอบเฉพาะ บางวิชาที่ตรงกับคณะที่จะเรียน และให้สอบน้อยวิชามากสุด เน้นการวิเคราะห์ เช่นสายศิลป์ไม่ควรสอบวิทย์ คณิต

ต้องคำนึงถึงโรงเรียนนำร่องหลักสูตรการศึกษา ด้วย ควรมีการประชาพิจารณ์ก่อนประกาศใช้ และประกาศล่วงหน้าสามปี

3 มีกฎหมายลงโทษครูกักข้อสอบ เพื่อทำมาหากิน
4 มีกฎหมายควบคุม โรงเรียนกวดวิชา ทั้งค่าเล่าเรียน เวลาที่สอน และสถานที่สอน หรือยกเลิกไปเลย

5 มีกฎหมายลงโทษ ผู้ที่ทำให้ข้อสอบรั่ว ทั้งANET ONET ข้อสอบโรงเรียนเอง
6 มีผลวิจัยรองรับข้อดีข้อเสีย

8 มีการวัดไอคิวเด็กทุกปี( เด็กไทย ไอคิว 92
เด็กอเมริกาไอคิว 120 ) มีการสำรวจสถิติเด็กทางด้านสุขภาพจิต

 



 












วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์




 เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการอุษาคเนย์ครั้งที่ 8 "สยาม-ขะแมร์ คู่รักคู่ชังคู่กรรมคู่เวร" 
          วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 
          จัดโดย นักศึกษาอุษาคเนย์รุ่นที่ 9 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
          ประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ถือได้ว่าเป็นประเทศที่อยู่เคียงข้างกันมานาน
          ด้วย เหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองประเทศ มีวัฒนธรรม ภาษา ประเพณี ศิลปะ ศาสนา รากเหง้า และความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิดและยาวนาน
          การดูถูกประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างอคติต่อกัน นับได้ว่าเป็นสิ่งที่เลวร้าย และอาจทำให้เกิดปัญหาต่อทั้งสองประเทศนี้
          การเสริมสร้างความสมานฉันท์จึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งในการกระทำต่อกันและกัน
          ทางนักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา รุ่นที่ 9 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
          จึงได้จัดทำงานสัมมนาวิชาการอุษาคเนย์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 เรื่อง"สยาม-ขะแมร์ คู่รัก คู่ชัง คู่กรรม คู่เวร" ขึ้น
          - เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจต่อกันและกัน ของทั้งสองประเทศ
          - เพื่อรักษาความเป็นประเทศเพื่อนบ้านต่อกันเอาไว้ สร้างเสริมลักษณะอันดีงาม สร้างความใกล้ชิดสนิทสนมต่อกันของทั้งสองประเทศ
          - เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
          - เพื่อลดอคติต่อประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีแต่จะสร้างเรื่องเลวร้ายต่อกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
          - เป็นการดำเนินนโยบายการทูตเชิงวัฒนธรรม และงานสัมมนา
          - เป็นการย้ำถึงบทบาทของไทยและกัมพูชาในการให้ความร่วมมือต่อกันเพื่อการพัฒนาประเทศ
          - เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ
          - เป็นการเสริมสร้างเครือข่ายต่อกัน ให้ธำนุบำรุงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีต่อกัน

          การเป็นพันธมิตรต่อกัน จึงมิใช่เรื่องยาก แต่เราทุกคนสามารถทำได้....เพียงแค่ลดอคติที่แองแฝงต่อกัน
          เราจึงต้อง ลด ละ เลิก อคติ สร้างความรัก ความเข้าใจ และรู้ต่อกัน
          ถ้าทำได้ เราทั้งสองประเทศก็จะเป็นเพื่อนรักที่ดีกันต่อไป...
 
กำหนดการ
 
08.30-09.00น.           ลงทะเบียน
09.00-09.10น.           กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานโดยผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
09.10-09.20น.           กล่าวเปิดงานโดย อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.20-09.30น.           กล่าวให้การสนับสนุน โดย H.E.You Ay เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย *
09.30-10.20น.           ปาฐกถานำโดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
10.20-10.30น.           พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-12.00น.           อภิปรายหัวข้อ "ชำแหละประวัติศาสตร์ แบบเรียน สื่อ และวาทกรรม สยาม-ขะแมร์ สู่มิตรและศัตรู" 
                                        โดย

                                        ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
                                        ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ 
                                        ดร.ศานติ ภักดีคำ
                                        สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี 
                                        ดุลยภาค ปรีชารัชช ดำเนินรายการ
12.00-13.00น.           พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.20น.           อภิปรายหัวข้อ "ปราสาทพระวิหาร: แผนที่ พรมแดน สู่ปมมรดกโลก" 
                                        โดย 

                                        รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข 
                                        อ.มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ 
                                        อ.พนัส ทัศนียานนท์ 
                                        สมฤทธิ์ ลือชัย ผู้ดำเนินรายการ
14.20-14.30น.           พัก 10 นาที
14.30-15.50น.           อภิปรายหัวข้อ "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า สู่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยในกัมพูชา" 
                                        โดย

                                        คุณอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
                                        คุณสมศักดิ์ รินเรืองสิน นายกสมาคมนักธุรกิจไทยในกัมพูชา
                                        คุณราตรี แสงรุ่งเรือง ประธานชมรมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว 
                                        รศ.ดร.พิภพ อุดร ดำเนินรายการ
15.50-16.30น.           การแสดง เพื่อความสมานฉันท์ สยาม-ขะแมร์ โดยนักศึกษาอุษาคเนย์
16.30-17.30น.           ปัจฉิมกถา และปิดการสัมมนาโดย ฯพณฯ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

          * อยู่ระหว่างการติดต่อ








วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ปฏิรูปประเทศไทย ข้อท้วงติง


จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 9 มกราคม 2554, 20:34
หัวเรื่อง: Re: ปฏิรูปประเทศไทย ข้อท้วงติง
ถึง:
เรียนท่านที่รักบ้านเมือง
ได้อ่านคร่าวๆ เรื่องที่รัฐบาลจะปฏิรูปประเทศไทย
โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพหญิงวัยตั้งครรภ์เช่น เงินให้ฟรี เรื่องนมเสริม
ท่านจ่ายเงินมากมายในการพัฒนาคุณภาพแม่ตั้งครรภ์

แต่ไม่ให้ปัญญา คือคู่มือเลี้ยงลูกอย่างถูกทางเช่นใส่ลงในคู่มือฉีดวัคซีนเลยคะ
(ทำ ตามพรบการศึกษา  มาตรา 13 14 )

แปลกจริง กลัวปัญหาเด็กเยาวชนจะหมดไป หรือกลัวว่าเด็กฉลาด
โตขึ้นจะปกครองลำบาก  หรือกลัวจะทำมาหากินกับการศึกษาไม่ได้ หรือไงจ๊ะ

กรุณาให้ปัญญาชาวบ้านมากๆหน่อยนะคะ

คล้ายกับปัญหาไอคิวเสริมไอโอดีน
ซึ่งเป็นการแ้ก้ไขปัญหาเรื่องไอคิวต่ำสำหรับเด็กแรกเกิด
ไม่ใช่ในวัยรุ่น

แต่ไม่ทำคูุ่๋มือการสอนให้เด็กคิดเป็นในวัยเรียน
เรื่องง่ายๆไม่เสียเงินมาก และแก้ไขปัญหาอย่างยั่ยยืน แต่คิดไม่ออก
หรอืไม่อยากทำ

ไปทำเรื่องลงทุนไอที ลงทุนเยอะแยะ แต่ไม่รู้ว่าข้อมูลที่ผ่านไอทีจะมาแบบไหน

เท่าที่อ่านจากสื่อ   ยุทธวิธี ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพ  เยาวชนได้เลย

และหากจะได้ก็คงช้ามาก

 ลงมือทำทันทีเลยคะ ขอสื่อทีวีหนึ่งช่องให้ความรู้ประชาชนทุกด้าน  อย่างเร่งด่วน

อย่าลืม กระแสพระราชดำรัสในหลวง  เรื่อง ความจริงใจ


อย่างอื่น เรื่องปฏิรูปการศึกษาเห้นด้วยหลายข้อคะ  แต่ที่สำคัญ
คนที่มาทำขอให้คนจริงใจ    รู้จริง รู้ทัน
ไม่ใช่ขึ้นต้นเป้นลำไม้ไฝ่พอเหลวลงไปกลายเป้นบ้องกัญชานะคะ



ด้วยความห่วงใยบ้านเมือง
กมลพรรณ



วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

โปรแกรมอบรมภาวนาแด่ผุ้ล่วงลับ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)


จาก: โสภา ธมโชติพงศ์ <thom.sopa@gmail.com>
วันที่: 13 มกราคม 2554, 17:09
หัวเรื่อง: โปรแกรมอบรมภาวนาแด่ผุ้ล่วงลับ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ถึง:
เรียนครูดลเพื่อนๆ ผู้ใฝ่ธรรม
 ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนฟังการบรรยาย จากท่าน Swami Veda Bharati เจ้าสำนักโยคะและสมาธิที่ เมืองฤาสีเกศ วันที่ 29 มค ที่จะถึงนี้ที่สมาคมธรรมศาสตร
 
ขอให้เจริญในธรรม
 
โสภา

เรียนกัลยาณมิตรทุกท่าน
ดลรบกวนฝากประชาสัมพันธ์โปรแกรมอบรมภาวนานี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
--
ดล
ธนวัชร์ เกตน์วิมุต

ชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต
www.jivit.net
159/70 ซ.วิภาวดีรังสิต 62 ถ.วิภาวดีรังสิต
หลักสี่ กทม. 10210
โทรศัพท์ 089-678-1669, 089-899-0094
แฟกซ์ 02-900-5429





--
ดล
ธนวัชร์ เกตน์วิมุต

ชีวิตสิกขา : เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต
www.jivit.net
159/70 ซ.วิภาวดีรังสิต 62 ถ.วิภาวดีรังสิต
หลักสี่ กทม. 10210
โทรศัพท์ 089-678-1669, 089-899-0094
แฟกซ์ 02-900-5429






วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ขอเชิญร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติด้านอีเลิร์นนิง 2554: International e-Learning Conference 2011


จาก: Chanoknan Chomchai <chanoknan@thaicyberu.go.th>
วันที่: 4 มกราคม 2554, 11:46
หัวเรื่อง: ขอเชิญร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติด้านอีเลิร์นนิง 2554: International e-Learning Conference 2011
ถึง:
สำเนา:
เรียน ท่านคณาจารย์ที่เคารพ


ด้วย โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย จะจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านอีเลิร์นนิงปี 2554 (International e-Learning Conference 2011) ในหัวข้อ Empowering Human Capital Through Online Learning Technology ระหว่างวันที่ 13 -14  มกราคม 2554 ณ  อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเป็นตัวกลางในการระดมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับชาติและนานาชาติมาร่วมกันประมวลความรู้ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาแบบอีเลิร์นนิง อาทิเช่น การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลในรูปแบบที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูง การใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน การบริหารจัดการเพื่อความคุ้มค่าและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นต้น โดยคาดหวังให้มีการนำความรู้ที่ได้จากการประชุมเหล่านี้ไปพัฒนาปรับปรุงอีเลิร์นนิงของสถาบันการศึกษาในประเทศไทยต่อไป

 

ในการนี้จึงขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยผู้ลงทะเบียนชาวไทยที่ลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 9 มกราคม 2554 จะได้รับการยกเว้นค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน

           

            สามารถลงทะเบียนได้ที่ http://www.thaicyberu.go.th/IEC2011



--
Chanoknan Chomchai (Ms.)

-------------------------------------------------------------------
International Coordinator
Thailand Cyber University Project
Office of the Higher Education Commission
Ministry of Education, Thailand
Tel: +66 (0) 2 610-5237
Mobile: +66 (0) 86 574-8811
Fax: +66 (0) 2 354-5476
Website: www.thaicyberu.go.th

พ่อแม่รังแก "แพรวา"


จาก: Warawimol na Ranong <waranong14@hotmail.com>
วันที่: 6 มกราคม 2554, 9:56
หัวเรื่อง:  พ่อแม่รังแก "แพรวา"
ถึง:

 
 
โปรดช่วยกันเฝ้าระวัง 
 ปล่อยเด็กขับรถชนรถตู้กลับบ้านไปแล้ว เพราะตำรวจและสถานพินิจฯโยนกันไปโยนกันมา แถม
  1. ตำรวจ ยังไม่เคยคิดตรวจแอลกอฮอล์ของเด็ก ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ
  2. ตำรวจ ยังไม่เรียกเจ้าของรถไปตั้งข้อหา
  3. ตำรวจ ยังไม่เคยตั้งข้อหาผู้ปกครองเด็ก ถ้าเป็นเด็กแว้นรับรองโดนแน่ 
ดูข่าวแล้วเศร้า เห็นแม่ของเด็กหน้าระรื่นคงคิด แล้วว่า ลูกและตัวเอง คงไม่ต้องรับโทษ และหลุดอย่างแน่นอน เศร้าประเทศไทยจริงๆ
แถมคงบอกลูกว่าให้พูดขอโทษไปอย่างงั้นๆ จะได้จบเรื่องเสียที หน้าเด็กจึงไม่รู้สึกผิดเลย และเด็กก็คือเด็ก เพราะยังพูดแถมท้ายบอกว่าก็มันเป็นอุบ้ติเหตุนี่น่า ( จะมาเอาอะไรกับฉันล่ะ) พ่อแม่ไม่ได้สั่งสอนจริงๆ จึงไม่สลด คงบอกว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่งั้นแม่ไม่หน้าระรื่นอย่างนั้น ไม่มีสลดเลย

Subject:แพรวา
Date: Sun, 2 Jan 2011 13:48:39 +0700

เมื่อวานดูข่าวคุณแม่น้องแพรวาเดินสายกราบขอขมาครอบครัวผู้ที่สูญเสียแล้ว ก็อดสงสารคุณแม่ไม่ได้ แต่ทำไมจึงไม่มีคนสำคัญ คือ คุณพ่อ และน้องแพรวา น้องอาจจะไม่กล้าสู้หน้าครอบครัวผู้สูญเสีย แต่คิดว่าคุณพ่อคุณแม่น่าจะสอนน้องแพรวาให้รู้จักคำว่า ขอโทษ และเมื่อผิดเราต้องยอมรับผิดอย่างหมดหัวใจ เมื่อเราผิดเราก็ต้องยอมรับผิดอย่างกล้าหาญ ไม่ต้องหลบอยู่หลังพ่อแม่ ซึ่งน้องก็ไม่รู้อีกว่าเมื่อไหร่เหตุการณ์สูญเสียจะต้องมาเกิดกับน้อง คุณพ่อคุณแม่จะปกป้องหนูแพรวาได้นานเท่าไหร่ การพูดความจริง การยอมรับความจริงเป็นการสอนให้แพรวาโตคนเป็นคนดีของประเทศชาติได้ อย่าปกป้องจนน้องไม่รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้ทุวินาที แต่เมื่อมันเกิดไปแล้ว คิดว่าทุกๆคนอยากให้มันผ่านไป เงินไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณแม่จะหยิบยื่นไปให้ครอบครัวของแต่ละท่าน คำขอโทษจากปากของน้องแพรวา เองอาจจะช่วยสมานใจให้ทุกๆคน และรวมทั้งจิตใจน้องแพรวาก็จะดีขึ้น ไม่เป็นตราบาปไปตลอดชีวิต  จึงอยากแนะให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องไปเอง ไม่มีคนไทยคนไหนใจไม่ไส้ระกำกับเด็กอย่างน้องแพรวาได้หรอก คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนน้องว่าครอบครัวอื่นเขาก็ไม่อยากให้มีการสูญเสียคนที่รักอย่างแน่นอน ฉะนั้นเมื่อน้องทำผิดน้องต้องพูดว่า หนูขอโทษ
 

From: jeeeed@hotmail.com
Subject: แพรวา
Date: Sun, 2 Jan 2011 08:47:05 +0700
To: suchada@siammakro.co.th

ด้วยความเคารพในความเห็นของคุณทิพย์และทุกท่านค่ะ 

โดยส่วนตัวแล้วไม่พึงวิจารณ์คนดีให้เสียหายเช่นกันค่ะ แต่เนื่องจากผลที่ติดตามมาของเหตุการณ์นี้ ขออนุญาตแสดงความเห็นตามเนื้อหาข้อมูลที่ได้จากแหล่งข่าวที่ผ่านๆตามาตามหน้า นสพ.และสื่อต่างๆ

1.ความรุนแรงของความสูญเสียมากมาย คงไม่ต้องชี้แจงทั้งคุณค่าในด้านต่างๆของผู้ตายนะคะ ในเมื่อเบสิคแล้วทุกชีวิตเท่ากัน
2.ท่าทีในการสำนึกผิดไม่มี
3.หนำซ้ำการแสดงออกต่อผลงานย่ำแย่จนน่าใจหายว่าวัย 16ปี ผิดชอบชั่วดีแยกไม่ออก..น่ากลัวเกินไปทั้งต่อวัยเท่านี้ที่สำนึกแยกผิดชอบได้แล้วคงไม่มีลูกหลานท่านใดในที่นี้พึงกระทำ?หรือต่อสังคมเมื่อเติบใหญ่ในอนาคตหากถูกเลี้ยงมาโดยเบ้าหลอมที่คุณภาพเดียวกัน
4.หนักกว่านั้น บุคคลที่สังคมหวังว่าจะเป็นผู้มีวุฒิภาวะแยกถูกผิดได้และแสดงออกต่อสังคมอย่างเหมาะสมกลับพยายามข่มขู่ปิดบังแสดงอิทธิพลไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำเข้าไปอีก
5.social networkทำหน้าที่วิถีประชา แทนสื่อมวลชนที่โดนปิดหูปิดตาให้บิดเบือนข้อเท็จจริง 
6.ถ้าท่านใดเห็นว่าหนูแพรวาและครอบครัวแสดงตัวทำถูกต้องแล้ว ดิฉันคิดว่าสังคมไทยน่ากลัวจนถึงยุคศีลธรรมเสื่อมทรามจนถึงที่สุด โดยเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่คน ถ้าลูกคือแก้วตาดวงใจของคุณหากเลี้ยงดูโดยปราศจากการอบรมบ่มเพาะเรื่องศีลธรรม ลูกสุดที่รักของคุณก็อาจกลายเป็นสัตว์ร้ายในสังคมไปได้เช่นเดียวกันค่ะ..บาปบริสุทธิ์โดยแท้ ทำให้ลูกยิ่งกลายเป็นที่เกลียดชังรุนแรงมากเช่นนี้โดยเกินกว่าเหตุไปมากเพราะพ่อแม่เลือกใช้วิธีในการระงับอย่างผิดๆ
7.ทางที่ดีอะไรที่จะนำพาลูกในทางที่จะดึงให้เสื่อมลง สั่งสอนไว้ก่อนเลยภ้าไปพัวพันในเหตุไม่ดีจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดพ่อแม่ไม่ช่วย ลูกจะได้รู้จักยับยั้งชั่งใจไม่นำตัวเองแม้แค่เข้าไปใกล้เหตุการณ์นั้นๆ..มืออออออก็จะไม่ไปหยิบกุญแจมาขับรถแม้ไม่มีใบขับขี่ เท้าก็จะไม่เหยียบคันเร่งจนเกินการควบคุม นิ้วจะได้ไม่กดบีบีแสดงความเห็นเหมือนดูถูกดวงวิญญาณคนตายที่ปลิวออกจากร่าง เพียงแค่ลดความมั่นใจนักหนาว่าเรื่องแค่นี้เดี๋ยวพ่อแม่ก็จัดการได้เช่นทุกครั้ง เหตุการณ์สลดจากวัยใสก็จะไม่เกิดเพราะเค้าตัดวงจรได้ก่อนด้วยตัวเค้าเอง
ด้วยความปรารถนาดีโดยจิตบริสุทธิ์ค่ะ สำนึกดี..สังคมดี 
ธมลณัฏฐ์ ศิริสรณ์
Sent from my iPhone

On Dec 30, 2010, at 7:45 AM, "Suchada Ithijarukul" <suchada@siammakro.co.th> wrote:

ขอแสดงความเห็นด้วยคนคะ

 

ดิฉันคิดว่าสาเหตุที่มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและรุนแรงนั้นก็เพราะว่าการสูญเสียในครั้งนี้เป็นที่สะเทือนใจของประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก และในสังคมไทยเราก็คาดหวังว่าจะได้ยินคำว่า ขอโทษ จากผู้ที่เป็นคู่กรณีไม่ว่าตัวเองจะเป็นคนผิดหรือถูกก็ตาม เนื่องจากในกรณีนี้น้องแพรวายังเป็นเด็กอายุเพียง 16 ปีอาจจะกำลังสับสนทำอะไรไม่ถูกดิฉันคิดว่าคุณพ่อคุณแม่ของน้องแพรวาน่าจะออกมาช่วยน้องด้วยการ ขอโทษ และแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ คำ ขอโทษ คำเดียวในช่วงเวลาที่รวดเร็วเหมาะสมนั้นเมื่อเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นแล้วมันเทียบกันไม่ได้เลยแต่อย่างน้อยก็เป็นการแสดงความรับผิดชอบในเบื้องต้น  น่าเสียดายที่ท่านได้ปล่อยเวลาทองนั้นไปแล้ว

 

สุชาดา

 

From: Tip Sukwiwat [mailto:tippery@gmail.com]
Sent: Thursday, December 30, 2010 6:07 AM
To:

Subject: Re: แพรวา

 

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อยนะคะ

ในความคิดของดิฉันการที่คนโพสข้อความประนามหนูแพรวาใน Facebook เป็นการสะท้อนให้เห็นความโหดร้ายของสังคมไทยในปัจจุบัน  ดิฉันรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งกับผู้ที่เสียชีวิตและครอบครัวจากเหตุการณ์ครั้งนี้  โดยเฉพาะด๊อกเตอร์อายุ 32 ปี ลูกชายคนขายดอกไม้/พวงมาลัยที่มีความมานะพยายาม แม้ครอบครัวจะยากจน คิดดูซิคะ เมื่อตอนเขาเป็นเด็กเขาจนมาก ไม่มีเงินซื้อแม้แต่สมุดจดโน๊ต ต้องใช้ดินสอจดโน๊ตในกระดาษ แล้วลบออกเพื่อเขียนใหม่ แต่ในที่สุดเขาก็สามารถช่วยตัวเองจนจบด๊อกเตอร์ เป็นลูกชายที่ดีของคุณแม่ และเป็นความหวังของครอบครัว

ในส่วนของหนูแพรวา ถ้าเราเป็นพ่อแม่ของเด็กสาววัย 16 ปีที่กำลังจะต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในคุก (ถ้าเป็นอเมริกาก็น่าจะติดไม่ตํ่ากว่า 20 ปีหรือมากกว่านั้น) เราจะทำอย่างไร เชื่อว่าความรักของพ่อแม่จะสามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อช่วยให้ลูกของตนรอดจากการเข้าเรือนจำ นั่นหมายถึงการวิ่งให้ผู้ใหญ่ช่วย การติดสินบนตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง (เพราะที่นี่คือประเทศไทย)

เมื่อดูภาพรวมและมองหลายๆ มุมแล้ว ใครล่ะที่เป็นคนผิดที่แท้จริง ไม่ใช่พ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกสาววัย 16 ปีขับรถหรอกหรือ ไม่ใช่ระบบที่หละหลวมหรือเจ้าหน้าที่ๆ ซื้อได้ด้วยเงินหรอกหรือที่ปล่อยให้เด็กที่ไม่มีใบขับขี่สามารถขับรถอยู่ได้บนท้องถนน  จริงอยู่ใครทำผิดสมควรได้รับโทษ      เด็กคนนี้ก็สมควรได้รับโทษ จะให้ไปใช้ชีวิตอยู่ในสถานกักกันสักกี่ปีก็ว่าไป
จะไม่อนุญาตให้มีใบขับขี่จนกระทั่งอายุเท่าไหร่ก็ว่าไป แต่พ่อแม่ของเด็กคนนี้ควรจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตทุกคน ต้องจ่ายให้หนักด้วย คนละ 20 ล้านได้เป็นดี พ่อแม่ของเด็กคนนี้ควรจะต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปล่อยปละละเลยของตัวเอง ให้ลูกซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะขับรถ กฏหมายและสังคมควรจะลงโทษคนที่มีความผิดจริงๆ ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป

แค่นี้ก็เศร้าใจพออยู่แล้วสำหรับทุกๆ ฝ่าย ยิ่งเศร้าใจเมื่อเห็นสังคมไทยไร้ซึ่งความกรุณาปรานี ทำไมคนสมัยนี้ถึงไ้ด้เกลียดกันง่ายนัก ทำไมคนสมัยนี้ถึงได้พร้อมที่จะรุมด่ารุมประนามคนอื่นให้จมดินกันง่ายดายขนาดนี้ เราเป็นอะไรกันไปแล้วหรือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถถ่ายทอดความคิดเห็นของเราออกไปได้อย่างรวดเร็ว มันทำให้เราเป็นแบบนี้หรือ ไม่จำเป็นต้องยั้งคิดอะไรอีกต่อไปอีกแล้ว  หลายๆ ครั้งที่เข้าไปอ่านคอมเม้นท์ที่คนเขียนมาแล้วรู้สึกว่า อะไรกันนี่ บางคอมเม้นท์ก็ขอโทษงี่เง่า ไร้สาระสิ้นดี สักแต่ว่าขอด่าให้สะใจ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าคนเหล่านี้คิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นอย่างงั้นหรือ  คิดว่าตัวเองมีการศึกษามากกว่าคนอื่นอย่างงั้นหรือ  คนเหล่านี้ไม่มีหัวใจบ้างเลยหรือ ความกรุณาปรานีต่อเพื่อนมนุษย์หายไปไหน เราจะปล่อยให้สังคมไทยเป็นแบบนี้หรือค่ะ สมัยนี้เรา โชคดีมีอินเตอร์เน็ต เฟสบุ๊กใช้ ทำให้เราสามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว  แต่สิ่งเหล่านี้กำลังทำให้ความเป็นคนของเราหายไปหรืออย่างไร เราถึงได้นำสิ่งเหล่านี้มาใช้ทำลายกัน

ขอบคุณนะคะที่กรุณาอ่านจนจบ หวังว่างานนี้จะไม่ทำให้ดิฉันถูกรุมประนามไปด้วยนะคะ

ทิพย์ สุขวิวัฒน์

English version for those who cannot read Thai
It's a reflection on our ugly society.  I'm really sad for those who died.  I saw on Sorayuth -- the 32 year old PhD professor who was the son of a flower seller....  As a kid he was so poor he had to write down notes on paper with pencil, then erased it so he could re-use it.

However, when you think about it, if you are a parent of a 16 year old kid who was about to spend years in jail (if this was in the U.S. it could be about 20 years or more) you would do anything to get her out of it, including bribing the police and judges.  It's natural paternal instinct..... 

Therefore the system and the parenting are really at fault.  The kid should be punished -- maybe a few years in juvenile housing and after that, not allow to get a license until she is at least 25 years old.  But the parents should have to pay significant amount of money to the victims -- like 20 million baht each -- to at least make their suffering a little more manageable and also to make others think long and hard about driving recklessly.

But more and more people in our society today are just quick to hate and quick to bash other people.  Some are plain stupid, some just needed to be educated and some are just heartless.  It is a sad state of society that we live in and we can see it more and more all the time with the availability of the internet. 

2010/12/30 Warawimol na Ranong <waraexpress@hotmail.com>


 


มารู้จักคนที่ขับรถชนคนตาย ๘ เจ็บอีก ๗
 


 

 
 



(See attached file: แพรวา หรืออรชร เทพหัสดิน ณ อยุธยา อายุ 16 ปี เกิดวันที่ 30 มิถุนายน 2537.doc)

 


E-mail Disclaimer: The information transmitted in this e-mail is intended only for the person or entity to which it is addressed, and may contain confidential and/or privileged material. Any review, re-transmission, dissemination or other use of, or taking of any action in reliance upon this information by persons or entities other than the intended recipient is prohibited. If you received this e-mail in error, please contact and inform the sender, and delete this.



Asia-Pacific Forum: Youth Action on Climate Change

http://www.seameo-spafa.org/files/museumapp.pdf



Dear Colleague,
 
You have registered for the Asia-Pacific Forum: Youth Action on Climate Change; Exploration through Cultural Expression 24-27 January 2011.
 
Please confirm your intention to join this event by return email saying so.
 
We do not charge any fee to join the Forum but all other expenses including flight and accommodation costs are to be borne by the participant. No exceptions can be made on this.
 
If we do not receive a reconfirmation from you by 14 January we will assume that you are unable to attend and remove you from the registration list.
 
Best wishes, SPAFA
 
Kevin Charles Kettle
-------------------------------
Project Development Officer
SEAMEO SPAFA
 
Tel (662) 280 4022-29
Fax (662) 280 4030
Email: kevin@seameo-spafa.org
 
The Asia-Pacific Forum: Youth Action on Climate Change; Exploration through Cultural Expression
24-27 January 2011
www.seameo-spafa.org
The Asia-Pacific Forum: Youth Action on Climate Change; Exploration through Cultural Expression will provide the opportunity to share knowledge and experiences amongst youth on climate change alleviation and adaptation.
 




วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔


จาก: sakda boonpradub <sakda9856@hotmail.com>
วันที่: 4 มกราคม 2554, 7:05
หัวเรื่อง: สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔
ถึง:


ส่งช้าไปหน่อย ต้องขออภัย เพราะติดภาระกิจตลอด 

ด้วยรักเหนือรัก

บ้านเกื้อรัก





happy new year and give love to everyone



จาก: pan pan <wanruadee.p@gmail.com>
วันที่: 3 มกราคม 2554, 19:39
หัวเรื่อง:: happy new year and give love to everyone
ถึง: