ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

[Museum Siam newsletter] ศิลปะ 3 มิติ สื่อรณรงค์ฯ และ "นิทรรศการข้าวไทย"




จาก: Museum Siam <webmaster@ndmi.or.th>
วันที่: 31 พฤษภาคม 2554, 14:55
หัวเรื่อง: [Museum Siam newsletter] ศิลปะ 3 มิติ สื่อรณรงค์ฯ และ "นิทรรศการข้าวไทย"
ถึง: 

ศิลปะ 3 มิติ สื่อรณรงค์ฯ และ "นิทรรศการข้าวไทย"


สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ 10200
เวลาทำการ วันอังคาร - วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) 10.00 - 18.00 น. โทร: 02 225 2777 แฟ็กซ์: 02 225 2775

www.museumsiam.com
 


 

Unsubscribe from this newsletter





วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ร้องสบท.เจ็บใจ แฟนไม่ได้คะแนนโหวต เพราะเจอปัญหา เอสเอ็มเอสดีเลย์

ร้องสบท.เจ็บใจ แฟนไม่ได้คะแนนโหวต เพราะเจอปัญหา เอสเอ็มเอสดีเลย์

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:23:11 น.





  จากกรณีที่รายการโทรทัศน์ในปัจจุบันได้จัดการแข่งขันการแสดง หรือการร้องเพลง โดยมีกติกาให้ผู้ชมร่วมโหวตให้คะแนนผ่านเอสเอ็มเอส  หากการแสดงของใครเป็นที่ชื่นชอบได้รับการโหวตจากผู้ชมมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะนั้น

 

 

นายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า สบท.ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับการร่วมโหวตในรายการประเภทดังกล่าว  กรณีแรกหลังจบรายการผู้ร้องรายหนึ่งตรวจสอบพบว่า ได้ส่งเอสเอ็มเอ็สจำนวนเกือบห้าร้อยครั้งเพื่อเชียร์คนที่ชื่นชอบในช่วงที่รายการออกอากาศสดอยู่ แต่ปรากฏว่าเอสเอ็มเอสที่ส่งไปไม่ได้ถึงทันที และมีการล่าช้า เช่น ส่งไปเกือบห้าร้อยข้อความอาจจะถึงทันในเวลาที่ออกอากาศสดเพียง 200 กว่าข้อความ ทำให้ผู้ร้องเสียหายเนื่องจากอุตส่าห์ลงทุนส่งเอสเอ็มเอสแล้ว  เงินก็เสีย แถมคนที่ชื่นชอบก็ไม่ได้คะแนนจากการโหวต ซึ่งเท่ากับเสียเงินฟรี
                 

 

"กรณีนี้ผู้ร้องแจ้งว่า ได้ส่งเอสเอ็มเอสเชียร์รายการสด Thailand's got talent ในช่วงเวลาสี่โมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม แต่เมื่อตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ กลับพบว่าเป็นการส่งข้อความในช่วงสี่โมงเย็นถึงห้าทุ่ม ซึ่งแสดงว่า มีความล่าช้าในการส่ง หรือเกิดความหนาแน่นของการส่งข้อมูลทำให้ความล่าช้าเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ หากการส่งเอสเอ็มเอสดังกล่าว มีการแบ่งรายได้ระหว่างผู้ให้บริการกับเจ้าของรายการ ก็ถือว่า เป็นบริการเสริมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการโหวตให้คะแนน ดังนั้น ผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ที่ต้องทำให้การโหวตสำเร็จ มิฉะนั้นจะคิดเงินไม่ได้" นายประวิทย์กล่าว
             

 

 

ผอ.สบท.กล่าวต่อไปว่า ยังมีผู้บริโภคอีกรายร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกเรียกเก็บค่าบริการส่งข้อความสั้น จากการร่วมโหวตในอีกรายการหนึ่งเป็นจำนวนเงินเกือบห้าหมื่นบาท  จากรายการเรียกเก็บที่บริษัทแสดงพบว่า ค่าบริการส่วนใหญ่เกิดจากการกดโหวตแบบพิเศษที่คิดราคาข้อความละ 80 บาท ซึ่งผู้ร้องเรียนยอมรับว่า มีการโหวตดังกล่าวจริง แต่ทำเพียงไม่กี่ครั้งเนื่องจากต้องการลุ้นรับ Iphone อย่างไรก็ดีจากการตรวจสอบของ สบท. พบว่า ในใบแจ้งค่าบริการแสดงว่ามีการโหวตแบบครั้งละ 80 บาท เป็นจำนวนมากกว่า 500 ครั้ง ในระหว่างที่รายการออกอากาศ 2 สัปดาห์ นั่นหมายถึงเฉลี่ยแล้วมีการโหวตในทุกๆ  8 วินาที ซึ่งหากผู้ร้องเรียนทำจริงก็นับว่า เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจ แต่หากไม่ใช่ก็ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร 

 

 "การร่วมลุ้นในรายการเพื่อเชียร์คนที่ชื่นชอบเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่อาจต้องระมัดระวังมากขึ้น อีกทั้งขณะนี้ได้มีการคิดวิธีการร่วมโหวตที่มีความเสี่ยงเรื่องค่าบริการ เช่นการโหวตแบบ Big Vote ซึ่งเป็นการกดเพื่อส่งข้อความสั้นเพียงครั้งเดียวเท่ากับคะแนนโหวต 20 คะแนนแต่เสียค่าโหวตครั้งละ 80 บาท ซึ่งต้องระมัดระวังในการกดส่งข้อความเพราะบางครั้งผู้บริโภคอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่กดผิด หรืออาจไม่เข้าใจวิธีการกดอย่างแท้จริง หรืออาจเกิดจากความผิดพลาดของบริษัทก็ได้ " ผอ.สบท. กล่าว
          

 

นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้พิธีกรในรายการประเภทนี้ที่มักกระตุ้นให้ผู้ชมร่วมโหวตสดในเวลาออกอากาศ  เช่น ในช่วง 10 นาทีสุดท้ายก่อนการตัดสิน ซึ่งผู้บริโภคต้องระมัดระวังด้วย เพราะการส่งข้อความโหวตในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากความหนาแน่นของการส่งข้อมูลจะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ชมต้องเสียเงินทั้งที่คะแนนไม่ได้ถูกสะสมจริงให้แก่ผู้แข่งขัน  ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือที่นิยมการร่วมโหวตในรายการ จึงต้องเท่าทันกับรายการประเภทนี้ด้วย 


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306747446&grpid=01&catid=&subcatid=




ตะลึง! คนไทยเป็น 5 โรคเรื้อรังพุ่ง เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต 10 ล้านคน

ตะลึง! คนไทยเป็น 5 โรคเรื้อรังพุ่ง เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต 10 ล้านคน

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:26:30 น.





เพราะวิถีการดำเนินชีวิตขาดความสมดุล สิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย มีปัจจัยเสี่ยงสารพัดที่กระทบต่อสุขภาพ เช่นอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารจานด่วนประเภททอด ปิ้ง ย่าง หนักไปทางเนื้อกับไขมัน อาหารรสจัดๆ โดยเฉพาะหวานมากและเค็มจัด ไม่รับประทาน ผักผลไม้ มีความสะดวกสบายเกินไปจะใช้อะไรก็แค่ปลายนิ้วสัมผัส ร่างกายแทบไม่ต้องขยับ ที่สำคัญมีความเครียดสูง แถมดื่มเหล้าสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีการรณรงค์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
ด้วยเหตุนี้ ทำให้คนเรามีปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากขึ้น และส่งผลให้กลายเป็น  "โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" หรือที่เรียกว่า "โรควิถีชีวิต" แพร่ระบาดไปทั่ว และทั้งที่โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ แต่สถานการณ์ปัจจุบันกลับเข้าขั้นวิกฤต


 องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 2548 ในจำนวนการตายของประชากรโลกทั้งหมดประมาณ 58 ล้านคน มีถึงร้อยละ 60 ที่ตายจากโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น


  2 ปีที่ผ่านมา มีคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3.5 ล้านคน แต่มีถึง 1.1 ล้านคนที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย ที่น่าห่วงยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ป่วยเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงกว่าคนปกติถึง 2-4 เท่า และมากกว่าครึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาท และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า  และไต
ในรายที่เป็นไม่มากผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ในรายที่เป็นมาก (ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล.) จะมีอาการให้สังเกตได้คือ ปัสสาวะบ่อยและมาก หิวและกระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลียไม่มีแรง บางคนปัสสาวะแล้วมีมดขึ้น อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าถึงขั้นน่าเป็นห่วง


ต่อมาก็เป็น โรคความดันโลหิตสูง ในช่วงปีเดียวกันนั้นมีคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นโรคนี้สูงมากถึง 10.8 ล้านคน โดย 5.4 ล้านคนที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นอยู่


ความร้ายแรงแบบโดมิโนของโรคความดันโลหิตสูง อยู่ตรงที่คนที่เป็นโรคนี้มักมีคอเรสเตอรอลสูงกว่าคนปกติ 6-7 เท่า เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 25 ตามลำดับ และมีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายถึงร้อยละ 60-75 หลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตันร้อยละ 20-30 ไตวายร้อยละ 5-10 และมีโอกาสเป็นอัมพาตมากกว่าคนปกติถึง 5 เท่า และโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ 2-4 เท่า


   คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะแรกจะไม่แสดงอาการ แต่ก็เป็น "เพชรฆาตเงียบ" ที่สร้างความเสียหายอย่างมากมายต่อหลอดเลือดและอวัยวะอื่นๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาจะเกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ตา หัวใจ และไต ทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก จนเกิดเป็นอัมพาต และอาจทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายตามมา รวมทั้งเกิดโรคไตวายเรื้อรัง


  สำหรับ โรคหัวใจ 2 ปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เฉลี่ย 50 คนต่อวัน หรือชั่วโมงละ 2 คน และเจ็บป่วยนับเฉพาะที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในมีมากเฉลี่ยถึง 1,185 รายต่อวัน  โรคหัวใจที่พบได้มากมีทั้ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวาย และอื่นๆ
 และนับวันก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ผลการสำรวจพฤติกรรมคนไทยล่าสุดพบว่า คนไทยมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงถึงร้อยละ 86 เพราะความนิยมบริโภคอาหารไขมันสูง ทำให้มีไขมันสะสมในเส้นเลือดแดง ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบตามมา จนมีคนไทยจำนวนมากที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร


  โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นอีกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีแนวโน้มการเกิดผู้ป่วยที่สูงขึ้นมาก 
 โรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ โรคหลอดเลือดสมองแตก และโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน เฉพาะปี 2550 มีคนไทยอายุ 15-74 ปี ที่ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนคน คาดว่าแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 150,000 ราย 


ทุกวันนี้มีคนไทยที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคนี้อย่างไม่รู้ตัวอยู่ประมาณ 10 ล้านคน ยิ่งเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3-17 เท่าตัว เป็นโรคเบาหวานเสี่ยงเพิ่ม 2 เท่า ภาวะไขมันคอเลสเตอรอลสูงเสี่ยงเพิ่ม 1.5 เท่า และหากมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าหนึ่งปัจจัย โอกาสเกิดโรคนี้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ 

นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีก โดยเฉพาะ โรคหัวใจขาดเลือด โรคสมองเสื่อม โรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง และมะเร็ง


 โรคนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น อายุ เชื้อชาติ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในเลือดสูง ความอ้วน การสูบบุหรี่-ดื่มสุรา 

คนทั่วไป โดยเฉพาะคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป หากมีอาการแขนขาชาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือฟังไม่เข้าใจ เดินเซ เวียนศีรษะเฉียบพลัน ตามองเห็นภาพซ้อน หรือมองมืดมัวข้างใดข้างหนึ่ง ต้องรีบไปพบแพทย์ยิ่งเร็วยิ่งดี เพราะนี่คือสัญญาณเตือนของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

ด้านการรักษาปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลดี การป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือด ความเครียด งดสูบบุหรี่ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
โรคมะเร็ง สาเหตุการตายอันดับ 1 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2551 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ราว 120,000 ราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ในช่วง 10 ปี 

มะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และน่าสังเกตว่า ผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มพบมากในสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบสูงสุดในกลุ่มอายุ 45 ปี เกือบร้อยละ 50 อยู่ในระยะที่มีการกระจายในต่อมน้ำเหลืองแล้ว
 มะเร็งระยะแรกๆ มักไม่ปรากฏอาการ จนเมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการเฉพาะ ซึ่งขึ้นกับชนิดของโรคมะเร็งที่เป็น แต่โดยรวมแล้วอาการที่พบทั่วไปในมะเร็งทุกชนิด ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อาจมีไข้เรื้อรัง ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ซีด หน้ามืดเป็นลม ใจหวิว เป็นต้น

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อาหารไขมันสูง อาหารเค็มจัด-หวานจัด อาหารปิ้งย่างเผาเกรียม สารเคมีในผัก-ผลไม้และสารที่ใช้ในการถนอมอาหาร อาหารที่มีสารเจือปนผสมสีสังเคราะห์ สารอะฟาทอกซิน การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ การสัมผัสแสงแดดจัดเป็นประจำ การได้รับเชื้อไวรัส การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และอื่นๆ มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากความผิดปกติในร่างกายหรือพันธุกรรม 
 หันมาดูตัวเองแล้ว หากใครจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ก็ควรหมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง เพราะการตรวจพบระยะแรก โอกาสรักษาให้หายขาดจะมีมากขึ้น

   การรู้เท่าทันโรคภัยพร้อมกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่พฤติกรรมใหม่ที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ จะเป็นวิถีทางสู่การ "ลดทุกข์ สุขเพิ่ม" เพื่อการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาว 


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306744065&grpid=01&catid=&subcatid=

ผ่า 5 ขุมทรัพย์การเมือง “ตลาดหุ้น-สัมปทาน-งบประมาณ-ปล่อยสินเชื่อ-ซื้อขายตำแหน่ง”

ผ่า 5 ขุมทรัพย์การเมือง "ตลาดหุ้น-สัมปทาน-งบประมาณ-ปล่อยสินเชื่อ-ซื้อขายตำแหน่ง"

วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:40:51 น.







เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาหัวข้อ "ขุมทรัพย์พรรคการเมือง.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ราชบัณฑิต กล่าวตอนหนึ่งว่า พรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญที่สุดในระบบประชาธิปไตย เพราะมีหน้าที่คัดเลือกบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง จัดทำนโยบายและให้การศึกษาทางการเมืองแก่สังคม แต่พรรคการเมืองไทยกลับทำหน้าที่เหล่านี้ไม่สมบูรณ์มุ่งเน้นแต่ผลประโยชน์

 

 

สาเหตุที่พรรคการเมืองประเทศไทยแตกต่างกับที่อื่นได้แก่ 

1.ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตฝ่ายปกครองมองว่าประชาชนไทยยังทำไร่ทำนา หากปล่อยให้จัดตั้งพรรคการเมืองก็จะถูกชาวจีนซึ่งกุมอำนาจทางเศรษฐกิจไว้แล้วครอบครอง จึงมีการออกกฎหมายเพื่อขัดขวางไม่ให้มีการจัดตั้งพรรคการเมือง

2.บริบทสังคมไทยในอดีตไม่มีปัจจัยเอื้อให้ประชาชนรู้สึกว่าต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง เห็นว่าไม่จำเป็นต้องมารวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง 

3.การเมืองไทยถูกแทรกแซงจากอำนาจทหารอยู่เป็นระยะ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ได้เพียงเวลาสั้นๆ


 "การตั้งพรรคการเมืองในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เดียวคือแข่งขันเลือกตั้ง"ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าว และว่าผู้นำของแต่ละพรรคการเมืองไม่มีเวลาพิสูจน์ตัวเองให้ประชาชนและสังคมเห็นซึ่งแตกต่างกับในต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป

 

 

.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวอีกว่า พรรคการเมืองที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากงบประมาณของรัฐเพิ่งเกิดขึ้นมาช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเป็นการสมทบกันจัดทำโครงการเพื่อหากินโดยอ้างประชาชน ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่พรรคการเมืองจะหากินกันจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากประชาชนไม่มีข้อมูลและพรรคการเมืองสามารถอ้างความชอบธรรมเพราะได้รับการเลือกตั้ง

 

 

"พรรคการเมืองมีหน้าที่อย่างเดียวคือรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง จากนั้นก็เข้าไปแบ่งสรรปันส่วนกันในกระทรวงต่างๆ หัวหน้ารัฐบาลถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าเมื่อให้พรรคอื่นไปดูกระทรวงใด ตัวเองก็ไม่มีสิทธิไปควบคุมดูแล เป็นสาเหตุให้ประชาชนไม่พอใจพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนี้"ศ.ดร.ชัยอนันต์กล่าว

 

 

.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวว่า การคอรัปชั่นถูกมองว่าเป็นการกินงบประมาณแผ่นดินที่ไม่มีใครรู้สึกเป็นเจ้าของ ส่วนตัวยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะจับการทุจริต เพราะพรรคการเมืองหาเงิน ทาง 

1.หัวหน้าพรรคทำคนเดียว 

2.ช่วยกันหาโดยสร้างภาพหัวหน้าพรรคให้เป็นคนดี แต่ให้ลูกพรรคแสวงหาผลประโยชน์ จึงอยากเสนอให้ยึดทรัพย์ที่พบข้อพิรุธมาก่อน หากพิสูจน์ได้ก็ค่อยคืน

 

 

นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา กล่าวว่า ในปัจจุบันไม่มีพรรคการเมืองใดทำนโยบายต้านคอรัปชั่น ถามว่าเป็นเพราะเข้าตัวหรือไม่ ส่วนตัวแบ่งขุมทรัพย์นักการเมืองออกเป็น ประเภท

1.ตลาดหุ้น เช่น การปั่นหุ้น-ขายวอร์เร้นซ์ การใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหากำไร ฉ้อโกงบริษัท-ไซฟอนเงินใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้ราคาหุ้นสูง 

2.การผูกขาดสัมปทาน

3.การจัดซื้อจัดจ้างจากงบประมาณแผ่นดิน หากรั่วไหลเพียง 20% จะเป็นเงินกว่า แสนล้าน เช่น โครงการเงินกู้ โครงการรับจำนำสินค้าเกษตร โครงการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาดใหญ่ งบภัยพิบัติ 

4.การปล่อยสินเชื่อธนาคาร 

5.ซื้อขายตำแหน่ง เช่น ตำรวจ กระทรวงทรัพย์ฯ ผู้ว่าราชการฯ ทั้งนี้เชื่อว่าการเปิดเผยข้อมูลจะทำให้การทุจริตลดลง แต่คำถามคือจะทำกันอย่างไร

 

 

รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งที่พบในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง ได้แก่ 

1.การเสนอทำโครงการขนาดใหญ่ซึ่งมักจะใช้เงินกู้ จำเป็นต้องจับตาเพราะง่ายต่อการทุจริต 

2.โครงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนและประชานิยม เช่น การประกาศภัยแล้ง ภัยหนาว ทุกปี มีการนำงบลงพื้นที่จำนวนมาก รวมถึงโครงการเอสเอ็มแอล แต่นักการเมืองกลับเสนอแกมบังคับว่าแต่ละชุมชนควรทำอะไร 

3.โครงการประเภทแทรกแซงตลาดแต่สุดท้ายก็ต้องจ่ายแพงขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น โครงการน้ำมันปาล์ม

 

 

"การเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญมากความสำเร็จของการต่อสู้คอรัปชั่น ในประเทศเกาหลีมีการทำฐานข้อมูลทั้งการเมืองและกระบวนการยุติธรรม เมื่อเราเชื่อว่าทุกการกระทำย่อมมีร่องรอยปรากฏ ฐานข้อมูลยิ่งทำให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริจาคให้นักการเมือง แม้หน้าฉากจะบริจาคน้อยแต่เราจะทราบได้ว่าบุคคลใดเกี่ยวโยงกับใคร มีผลประโยชน์อะไร" ดร.นวลน้อย กล่าว

 

 

รศ.ดร.นวลน้อย กล่าวอีกว่า สื่อมวลชนทุกวันนี้แข่งกันเรื่องความเร็วเป็นหลัก ซึ่งมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองได้ นอกจากเรื่องความเร็วแล้วอยากให้สื่อมวลชนให้มิติของความลึกด้วย ที่สำคัญขอเสนอให้สื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ตั้งโต๊ะข่าวสำหรับตรวจสอบคอรัปชั่นโดยเฉพาะด้วย

 

 

 ก่อนการเสวนา มีการเปิดตัวเว็ปข่าวเจาะ www.tcijthai.com โดยศูนย์ข้อมูลข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (Thailand Information Center for Civil Rights and Investigative journalism : TCIJ) ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ไทย

 

 

นางสุชาดา จักรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดทำเว็ปไซต์ข่าวสืบสวน (TCIJ) ว่า เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับข่าวสืบสวนสอบสวนซึ่งห่างหายไปจากสื่อกระแสหลัก ในปัจจุบันเพราะมีข้อจำกัดด้านระยะเวลา งบประมาณ และปัจจัยการลงพื้นที่ โดย TCIJ มุ่งหวังเป็นส่วนเติมเต็มข้อมูลเชิงลึกให้กับสังคม ทั้งนี้เว็ปไซต์ TCIJ จะแบ่งการทำงานออกเป็น ส่วน ได้แก่1.ข่าวสืบสวนออนไลน์ 2.ฐานข้อมูลออนไลน์ 3.ข่าวพลเมือง

 

 

สำหรับประเด็นข่าวสืบสวนสอบสวนปรากฏอยู่ในเว็ปไซต์ขณะนี้ อาทิ การเปิดถุงเงินของแต่ละพรรคการเมืองและเครือข่ายผลประโยชน์ต่างๆ นายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีน..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นใคร?งบจูงใจสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1,800 ล้านบาท ตะลึงฟอร์มาลินในปลาทับทิมจากคนเลี้ยงถึงคนกิน ส่วนบทบาทด้านฐานข้อมูล อาทิ บริษัทที่ได้รับสัมปทานพิมพ์บัตรเลือกตั้งตลอดจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นใครบุคคลเหล่านั้นเกี่ยวโยงกับฝ่ายการเมืองอย่างใด

 

 

"ข่าวสืบสวนสอบสวนมักจะต้องไปพาดพิงกับผู้มีอำนาจ แม้ผู้สื่อข่าวอยากทำข่าวเชิงลึกแต่ก็มักจะถูกแทรกแซงผ่านโฆษณา ผลประโยชน์ กองบรรณาธิการ เว็ปไซต์นี้จึงเปิดพื้นที่ให้ผู้สื่อข่าวเหล่านั้นได้ทำงานอย่างอิสระ โดยข้อมูลที่นำเสนอผ่านเว็ปไซต์ TCIJ ล้วนแต่เป็นผลงานของผู้สื่อข่าวมืออาชีพ" ผู้อำนวยการTCIJ กล่าว