ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

จดหมายเปิดผนึก Thai PBS "ทีวีที่คุณวางใจจริงหรือ?.."

จดหมายเปิดผนึก Thai PBS “ทีวีที่คุณวางใจจริงหรือ?..”

จดหมายเปิดผนึก

Thai PBS “ทีวีที่คุณวางใจจริงหรือ?..”

 

เรียน       ผู้บริหาร Thai PBS

 

ก้าวสู่ปีที่ 4 อัตลักษณ์ใหม่ Thai PBS ทีวีสาธารณะ ที่ภาคประชาชนคาดหวังว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการทีวีบ้านเรา และนำไปสู่การปฏิรูปสื่อทั้งระบบในอนาคตข้างหน้า  จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา Thai PBS ก็ได้พิสูจน์ให้พวกเราเห็นแล้วในระดับหนึ่ง ด้วยกระบวนการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เช่น การมีสภาผู้ชมผู้ฟังที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สะท้อนความคิดเห็นกับ Thai PBS มีช่วงนักข่าวพลเมืองให้คนในพื้นที่ได้นำเสนอเรื่องราวในชุมชนของตนเองสู่ สาธารณะ มีสถานีภูมิภาคเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนท้องถิ่น ตลอดจนการมีพื้นที่ทางสื่อให้กับการเคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยการเกาะติดประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากนโยบายการพัฒนาของทุนและรัฐ ดังเช่น กรณีผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เหมืองแร่ หรือแม้แต่ภัยพิบัติต่างๆ เป็นต้น

ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อแนวทางการดำเนินงานของ Thai PBS มาประจวบเหมาะกับความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นสื่อทีวีเกิดความเปลี่ยน แปลงอย่างสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีทุนและรัฐคอยครอบงำ หรือชี้นำทิศทางการนำเสนอเหมือนช่องอื่นๆ จึงเกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน จนกล้าพูดได้เต็มปากว่า “ทีวีไทย ทีวีของประชาชน” หรือ “ทีวีไทยคือทีวีของเรา” เพื่อผลักดันไปสู่การปฏิรูปประเทศไทย

แต่อย่างไรก็ดี จากการนำเสนอข่าว (ภาคค่ำ) กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ของ Thai PBS เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 54 ในประเด็นการจ่ายเงินค่าลอดใต้ถุนของบริษัทเหมืองแร่ และเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 54 ประเด็นข่าวการจัดเวทีเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นต่อการกำหนดขอบเขตและแนว ทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ที่เทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ ซึ่งมีเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างฝ่ายชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กับพนักงานบริษัทเหมืองแร่ และมวลชนที่บริษัท จัดตั้งมา จึงทำให้ชาวบ้านในพื้นที่อดคิดไม่ได้ว่า ตกลง Thai PBS คือ “ทีวีของเรา หรือทีวีของทุน” เพราะดูแล้วเหมือนช่วยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับบริษัทฯ อีกแรงหนึ่งได้เป็นอย่างดี (ข่าวการจ่ายค่าลอดใต้ถุนเมื่อวันที่ 17 ก.พ.) ขณะเดียวกันในวันที่ 5 เม.ย. บริษัทเหมืองแร่ ก็จัดฉาก วางสคริปให้นักข่าวถ่ายทำ โดยให้ซองขาวซื้อนักข่าวหัวละ 500 บาท ซึ่งน่าสลดใจ เนื่องจากว่าไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี และไม่มีจรรยาบรรณของนักข่าวเลยจริงๆ (เพราะแพงกว่าค่าหัวม็อบฝ่ายสนับสนุนที่บริษัทฯ จ้างมา 300 บาท เท่านั้น) เพื่อทำลายภาพลักษณ์การเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ แต่ไม่ได้อธิบายเนื้อหาและที่มาที่ไปของเวทีว่าทำไมชาวบ้านถึงต้องออกมาคัด ค้าน!

 Thai PBS เป็นช่องทีวีที่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ให้ความไว้วางใจ เฝ้าติดตาม และให้ความร่วมไม้ร่วมมือด้วยดีเสมอมา จนเกิดกระแสการตื่นตัวของชาวบ้านต่อการเลือกรับชมสื่อทีวีช่องนี้(มากกว่า ช่องละครน้ำเน่า หรือเกมโชว์สมองฝ่อ) ทั้งนี้ เราก็เข้าใจว่าการทำข่าวใน 2 ครั้งที่ผ่านมาเป็นผลงานของสตริงเกอร์ที่อยู่อุดรฯ (สื่อส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรฯ ถูกบริษัทเหมืองแร่ซื้อตัวแล้ว) แต่เราก็ยังคลางแคลงใจและเห็นว่าหัวหน้าฝ่ายข่าว หรือใครก็ตามที่มีอำนาจหน้าที่ในตรงนี้ควรจะสกรีนข่าว และมีวิจารณญาณก่อนนำเสนอมากกว่านี้ เพราะเท่าที่ดูรายชื่อและเกียรติประวัติของฝ่ายข่าว Thai PBS แล้ว คงไม่ใช่ “นักข่าวพลเมือง” เป็นแน่

อย่างไรก็ดี เราไม่ได้บอกว่า Thai PBS จะต้องมาเข้าข้างพวกเราหรอก แต่ Thai PBS ควรนำเสนอในทุกแง่มุมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ให้สมกับที่บอกว่าเป็นช่องทีวีที่มี “คุณธรรม สร้างสรรค์สังคม” และควรสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะระบบสตริงเกอร์ข่าวที่หากินกับรัฐและทุนท้องถิ่น เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว Thai PBS ก็จะยังคงล้าหลังเหมือนสื่อช่องอื่นๆ อยู่ดี และเมื่อเป็นเช่นนี้ “เราจึงละล้าละลังที่จะวางใจคุณ”

สุดท้าย เราก็คงไม่อยากเรียกร้องอะไรจาก Thai PBS แต่คาดหวังว่า Thai PBS หรือสื่อสารมวลชนทุกแขนงในบ้านเราจะมีทรรศนะคติที่ดีต่อการเคลื่อนไหวของ ขบวนการชาวบ้านที่รวมตัวกันลุกขึ้นมาปกป้องถิ่นฐาน และทรัพยากรท้องถิ่น ตลอดจนการมีจริยธรรมกับการทำสื่อ และจิตสำนึกสาธารณะ มากกว่าการสยบยอมเป็นเครื่องมือของรัฐและทุน… เพราะสื่อเป็นพลังสำคัญที่จะร่วมสร้างสังคมใหม่ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ชุมชน ท้องถิ่น และการปฏิรูปประเทศไทย

 

ด้วยจิตคารวะ

 

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี

กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา

ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)

กลุ่มสื่อคนฮักถิ่น นักข่าวพลเมือง จังหวัดอุดรธานี

จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนคนฮักถิ่น

ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน

ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา (ชนพ.)

อาศรมบ่มเพาะความคิดและจิตวิญญาณ

อาศรมสหธรรมิก

http://thaingo.org/web/2011/04/08/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B8%81-thai-pbs-%E2%80%9C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5/

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น