ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

[มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว] เครือข่ายครอบครัวกับการจัดสวัสดิการสังคม 1


จาก: FamilyNetwork <webmaster@familynetwork.or.th>
วันที่: 18 เมษายน 2554, 15:29
หัวเรื่อง: [มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว] เครือข่ายครอบครัวกับการจัดสวัสดิการสังคม 1
ถึง:

-------- เครือข่ายครอบครัวกับการจัดสวัสดิการสังคม
        1 -------------------------------------------------------------------

 

  *ดร.สาวิตรี ทยานศิลป์*
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
มหาวิทยาลัยมหิดล          
ในวงวิชาการมีการพูดถึงคำว่า
&ldquo;สวัสดิการ&rdquo;
อย่างกว้างขวางในฐานะกลไกพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
เพียงคำเดียวสั้นๆนี้ก็สามารถทำให้เกิดเป็นประเด็นสนทนากันได้มากมาย
เช่น
สวัสดิการมีความหมายครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง
การจัดสวัสดิการที่ดีควรเป็นอย่างไร
ใครบ้างที่ต้องการสวัสดิการ
และใครบ้างที่สมควรได้รับสวัสดิการจริงๆ
เมื่อนำคำนี้ไปผูกโยงต่อด้วยคำสำคัญอีกคำหนึ่งคือคำว่า
&ldquo;ครอบครัว&rdquo; กลายเป็น
&ldquo;สวัสดิการครอบครัว&rdquo;
นำไปสู่ประเด็นสนทนาอื่นๆได้อีกว่า
ถึงเวลาที่สังคมไทยต้องพัฒนาสวัสดิการครอบครัวแล้วหรือยัง
แล้วสวัสดิการครอบครัวที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร
ใครบ้างควรเข้ามามีบทบาทในงานสวัสดิการครอบครัว
เหล่านี้คือประเด็นคำถามสำคัญๆที่ทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติจากสหสาขาวิชาจะต้องช่วยกันคิด
หาข้อสรุปที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมร่วมกันให้ได้
เพื่อนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่ครอบคลุมและยังประโยชน์สูงสุดสู่ครอบครัวไทย
สวัสดิการ (Welfare)
มีความหมายกว้างทั้งในฐานะระบบหรือบริการหรือโครงการที่จัดให้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่
การกินดีอยู่ดี
หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน
ซึ่งเมื่อกล่าวถึงสภาวะที่ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีก็มักจะหมายรวมถึงสภาวะหลักๆ

ด้านที่เหมาะสมตามความต้องการพื้นฐานและควรแก่อัตภาพประกอบกัน
ด้านแรกคือการมีสุขภาวะที่ดี
สวัสดิการที่ดีจำต้องมีเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพร่างกาย
จิตใจ อารมณ์
และสังคมของบุคคลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
คนทุกคนควรได้รับสิทธิในการรับการรักษา
บำบัด ฟื้นฟู
และป้องกันจากปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางร่างกาย
จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ด้านที่ ๒
เกี่ยวข้องกับการมีการศึกษาที่ดี
หากขยายความก็จะครอบคลุมถึงการได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้ได้รับการถ่ายทอดความรู้
ได้รับการฝึกอบรม
และพัฒนาให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
ทั้งนี้โอกาสทางการศึกษาจะต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ
และที่สำคัญต้องครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต
ด้านที่ ๓
ประชาชนควรมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง
ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
และแหล่งเสื่อมโทรม
อันจะนำพาให้ประชาชนขาดคุณภาพชีวิตที่ดีหรือไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติสุข
ด้านที่ ๔
การส่งเสริมการมีงานทำและมีรายได้ที่เพียงพอในการดำเนินชีวิต
นอกจากการมีงานทำและมีรายได้ที่ยุติธรรมแล้ว
ประชาชนควรได้รับการปกป้องจากการทำงานที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
และรวมไปถึงการปกป้องจากงานที่สร้างความเสื่อมเสียในเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
ด้านที่ ๕
เป็นเรื่องของการได้รับการจรรโลงทางจิตใจด้วยกิจกรรมนันทนาการ
ทั้งนี้จำกัดขอบเขตนิยามของกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม
ไม่เป็นการเอาเปรียบหรือละเมิดสิทธิและความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น
ด้านที่ ๖
ประชาชนควรได้รับการส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมและมีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรม
ด้านสุดท้ายเป็นเรื่องของการบริการทางสังคมทั่วไปตามความต้องการและสิทธิของประชาชน
ทั้งนี้เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสวัสดิภาพทางสังคมที่ดีของบุคคล
ดังนั้น
งานด้านสวัสดิการจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับว่างานนั้นสนองตอบความต้องการจำเป็นของประชาชนได้มากน้อยเพียงใดและครอบคลุมเสมอภาคหรือไม่
หากมองย้อนหลังไปยังประวัติศาสตร์ของนโยบายสวัสดิการประเทศไทย
รัฐบาลในฐานะกลไกหลักในการกำหนดสวัสดิการเพื่อประชาชนมักให้คุณค่าสวัสดิการในแง่การสงเคราะห์ดูแลเฉพาะเรื่องเฉพาะกลุ่มที่ประสบปัญหาทางสังคมและผู้ด้อยโอกาส
อันเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
แม้ว่าปัจจุบันระบบสวัสดิการของไทยจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
มีความพยายามที่จะยกเลิกการให้แบบสงเคราะห์
และขยายขอบเขตไปสู่การสร้างหลักประกันเรื่องสวัสดิการสำหรับประชาชนทุกคน
มีการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมโดยเน้นในเรื่องของสิทธิ
การคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
การมีส่วนร่วม
และการช่วยให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองและสังคม
แต่การจัดสวัสดิการก็ยังคงมุ่งการสงเคราะห์ในระดับปัจเจกชน
เช่น กลุ่มเด็ก สตรี
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
หรือผู้ประสบภัยเดือดร้อน
โดยไม่ครอบคลุมถึงครอบครัวอันเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหา
บำบัดรักษา ฟื้นฟู ป้องกัน
และเพิ่มศักยภาพของปัจเจกชน
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจเจกชนคนหนึ่งๆที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในครอบครัวไม่ได้ถูกยึดโยงกันแต่เพราะสายสัมพันธ์ที่มีอยู่
หากแต่ยังผูกพันกันด้วยการพึ่งพากันระหว่างหมู่สมาชิกในครอบครัว
หากสมาชิกคนหนึ่งคนใดตกอยู่ในภาวะต้องพึ่งพิง
ย่อมส่งผลกระทบถึงความเข้มแข็งของทั้งครอบครัว
ดังนั้น
หากมีสวัสดิการสำหรับครอบครัวที่เหมาะสม
ตรงจุดปัญหา
และสอดคล้องกับสถานการณ์ครอบครัวไทยที่พลวัตอยู่ทุกขณะ
ก็จะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับครอบครัวในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
&ldquo;สวัสดิการครอบครัว&rdquo; (Family
Welfare)
จึงควรได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในฐานะกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงเข้มแข็งของครอบครัว
การให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่ประสบปัญหาเดือดร้อน
การพัฒนาศักยภาพของครอบครัวและสมาชิกในครอบครัวให้เข้มแข็งเพียงพอที่จะสามารถดูแลสมาชิกในครอบครัวให้มีความอบอุ่นผาสุกและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
โดยเน้นประโยชน์ใน ๓ ระดับ
คือ ๑)       
สวัสดิการที่มุ่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
บำบัดรักษา
หรือฟื้นฟูสมาชิกในครอบครัว
๒)      
สวัสดิการที่มุ่งป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดกับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
๓)      
สวัสดิการที่มุ่งพัฒนาศักยภาพ
ความคิด จิตใจ
และทักษะการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว
เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม
อย่างไรก็ดี
งานใดๆจะสำเร็จได้นั้นจำต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย
งานสวัสดิการครอบครัวก็เช่นกัน
หากจะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้
คงต้องพิจารณาในเรื่องการระดมความร่วมมือและบูรณาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการครอบครัวจากภาคีองค์กรต่างๆ
ที่นอกเหนือจากกลไกภาครัฐ
เช่น ภาคธุรกิจเอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชน
รวมไปถึงกลุ่ม
&ldquo;เครือข่ายครอบครัว&rdquo;
ที่เข้ามามีบทบาทและเข้มแข็งอย่างมากในระยะที่ผ่านมา
&ldquo;เครือข่ายครอบครัว&rdquo;
เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของสมาชิกในครอบครัวที่มีประสบการณ์
มีความสนใจ มีความต้องการ
และมีเป้าหมายอย่างเดียวกันในการส่งเสริมศักยภาพ
บำบัดรักษา ฟื้นฟู
หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว
เป็นการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระดมความร่วมมือและทรัพยากรเพื่อการพัฒนาครอบครัว
ซึ่งมีอยู่มากมายหลายกลุ่มและในหลายพื้นที่
ณ ขณะนี้ เช่น
เครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา
กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ป่วยโรคต่างๆ
ชมรมเครือข่ายพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ
ชมรมครอบครัวอบอุ่นไร้รุนแรง
ชมรมคนรักคุณธรรม เป็นต้น
ซึ่งในแต่ละกลุ่มต่างมีวิธีการดำเนินงาน
มีกิจกรรมหรือโครงการที่หลากหลายแตกต่างกันตามบริบทและทรัพยากรที่มีอยู่
การเรียนรู้จากประสบการณ์ของกลุ่มที่ดำเนินงานสวัสดิการครอบครัวแล้วประสบความสำเร็จจึงเป็นองค์ความรู้อันมีค่าที่วันนี้พวกเราทุกคนจะได้เรียนรู้ร่วมกัน
ได้แลกเปลี่ยน ชวนกันคิด
และตกผลึกให้ได้แนวทางปฏิบัติที่มีพลังในการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับครอบครัวไทยให้ได้
 




--
Unsubscribe from this newsletter: http://www.familynetwork.or.th/newsletter/confirm/remove/cc8646c9de2094t135




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น