ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

วิจารณ์ความเห็นทางการเมืองของพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)




วิจารณ์ความเห็นทางการเมืองของพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

วิจารณ์ความเห็นทางการเมืองของพระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)  

ดร.โสภณ พรโชคชัย (http://www.facebook.com/pornchokchai)

25 กรกฎาคม 2553  

วิจารณ์ความเห็นทางการเมืองของพระได้ แต่อย่าจาบจ้วงพระนะครับ เราพึงเคารพผ้าเหลือง แต่ไม่งมงายในผู้ครองผ้าเหลือง  

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ศกนี้ มีเพื่อนใน facebook แนะนำให้ผมฟังบทสัมภาษณ์ "ฝ่าวิกฤติการเมืองไทย" ของพระมหาวุฒิชัย ซึ่งให้สัมภาษณ์ในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และกำลังมีการต่อสู้ทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผมก็เพิ่งเคยฟังบทสัมภาษณ์นี้ ซึ่งปรากฏใน http://video.mthai.com/player.php?id=0M1221149318M0   ผมฟังความเห็นทางการเมืองของพระมหาวุฒิชัยแล้ว จึงขออนุญาตแสดงความเห็นทั้งนี้เพื่อช่วยกันมองให้รอบด้าน และส่งเสริมการปุจฉาวิสัชนาเพื่อให้เกิดสังคมอุดมปัญญา ท่านที่สนใจร่วมให้ความคิดเห็นก็โปรดแสดงด้วยความสำรวมและช่วยกันพิจารณาในด้านเนื้อหาเป็นสำคัญ เพราะผู้ให้สัมภาษณ์เป็นพระสงฆ์ และแม้เป็นพระหนุ่มระดับมหาคราวลูกอายุเพียง 35 ปี แต่ทุกคนก็ควรแสดงความเคารพผ้าเหลืองด้วย ความเห็นของผมเป็นดังนี้ครับ  

1. พิธีกรไปถามพระ ๆ ก็ต้องนึกถึงทางออกด้านพุทธศาสตร์ที่ร่ำเรียนมาเป็นสำคัญ ถามนักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ ก็ได้มุมมองจากพื้นฐานความรู้นั้น ๆ แต่ว่าแต่ละศาสตร์โดด ๆ ก็คงไม่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาการเมืองได้ การบอกว่านักการเมืองไม่มีธรรมะ แล้วในประเทศตะวันตกที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา เขามีธรรมะข้อไหน ถ้าบอกว่าศาสนาอื่นก็มีธรรมะของพุทธแฝงอยู่ หรือว่าพุทธศาสนาก็เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาอื่นหรืออย่างไร  

2. ที่พระมหาวุฒิชัยบอกทำนองว่า (คณะราษฎร์) เอาพระราชอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้เอาทศพิธราชธรรมของพระมหากษัตริย์มาด้วย จึงทำให้ขาดธรรมะ ข้อนี้เป็นคำพูดที่ฟังดูดี น่าสนใจ แต่ในความเป็นจริง กษัตริย์บางพระองค์ในอดีตก็ไม่ได้มีทศพิธราชธรรม ก็เหมือนนักการเมือง การที่พระมหาวุฒิชัยพูดในห้วงแหลมคมของการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรก็เท่ากับต้องการตำหนิว่ารัฐบาลในขณะนั้นไม่มีทศพิธราชธรรม ซึ่งจะจริงหรือไม่ผมคงไม่มีความเห็นในเรื่องนี้  

3. เรื่องที่ว่าประชาชนไม่มีศักยภาพในการตัดสินใจ โดยยกตัวอย่างความเชื่อแต่เดิมว่าโลกแบน ถ้าให้ประชาชนผู้ไม่รู้วิทยาการออกเสียงในสมัยโบราณว่าโลกกลมหรือแบบ ส่วนใหญ่ก็ต้องออกเสียงว่าโลกกลม กรณีศิลปวิทยาการนั้น เราไม่สามารถถามเสียงส่วนใหญ่ เช่นในขณะนี้เราก็คงไม่สามารถถามคนส่วนใหญ่ว่าจะสร้างจรวดไปดวงจันทร์ได้อย่างไร ต้องถามนักวิทยาศาสตร์ต่างหาก แต่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นเรื่องของปุถุชน ทุกคนรู้เท่าทันกัน เสียงส่วนใหญ่ย่อมถูกต้องเสมอ <1>   เสียงส่วนใหญ่คือสัจธรรม อย่างผมทำอาชีพการประเมินค่าทรัพย์สิน ผมทราบความจริงอย่างหนึ่งว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือเสียงสวรรค์ คือความถูกต้อง ในตลาดเปิดทั่วไป ถ้าคนส่วนใหญ่ซื้อบ้านในราคาหนึ่ง ราคานั้นก็จะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ในความเป็นจริงอาจมีข้อมูลที่สูงหรือต่ำผิดปกติ (outliers) อยู่บ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย อย่างไรก็ตาม "กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น" เช่น เสียงส่วนใหญ่ของโจรย่อมใช้ไม่ได้ แต่โจรก็ยังเป็นคนส่วนน้อยในสังคม  

4. การที่บอกว่าประชาชนไม่มีศักยภาพ ในแง่หนึ่งอาจเป็นการให้ท้ายกับพวกเผด็จการรัฐประหาร ให้มาตัดสินใจแทนประชาชนโดยอ้างว่าประชาชนไม่มีศักยภาพอยู่ร่ำไป และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็มาโกงกิน เห็นได้ชัดตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ และสามทรราช อาจรวมทั้ง รสช. หรืออาจรวม คมช. ด้วยก็ได้ มีใครเชื่อได้โดยสนิทใจว่ารัฐมนตรีในยุคสุรยุทธ์ใสสะอาดกว่ายุคอื่น  

5. การพูดว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขก็ต่อเมื่อประชาชนต้องมีศีล สมาธิ และปัญญานั้น ใคร ๆ ก็พูดได้กับแนวทางการแก้ปัญหาแบบครอบจักรวาลอย่างนี้ การพูดอย่างนี้อาจกลายเป็นการไม่นำพาต่อการศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาตามอริยสัจ 4 เข้าทำนองเอาแต่ท่องมนต์ ท่องคาถา การแก้ปัญหาแบบข่มใจจึงมักทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่หลายคนพอนั่งสมาธิก็ใจสงบชั่วคราว พอออกจากสมาธิก็กลัดกลุ้มดังเดิม และนี่เองศาสนาจึงถูกทำให้กลายเป็นยาเสพติดที่ให้ผลชั่วคราว  

6. การอ้างว่า "Paris Hilton" ที่ได้รับการประกันตัวก็ยังต้องเข้าคุกอีกครั้งเพราะมีเสียงประชาชนไม่เห็นด้วย เรื่องนี้ศาลสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้ตัดสินอะไรตามกระแสของสังคมเช่นที่พระมหาวุฒิชัยให้สัมภาษณ์ จากการค้นหาข้อมูลเบื้องต้น ไม่พบเรื่องการขอประกันตัวดังกล่าว แต่เป็นการขออภัยโทษ และจำนวนคนที่ไม่เห็นด้วยกับการขออภัยโทษกับผู้ที่เห็นด้วยก็มีจำนวนนับหมื่น ๆ คนพอ ๆ กัน ไม่ใช่มีแต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยแต่อย่างใด <2> อย่างไรก็ตามโดยนัยหนึ่ง การกล่าวอ้างเรื่องนี้ของพระมหาวุฒิชัยเป็นส่งสัญญาณให้รัฐบาลฟังเสียงของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่กำลังเรียกร้องอยู่ในขณะนั้นนั่นเอง  

7. พระมหาวุฒิชัยบอกว่าถ้าจะแก้ปัญหาการเมืองเฉพาะหน้า ก็ต้องให้ทุกคนมีขันติธรรม สันติธรรม เมตตาธรรม นิติธรรม และสัจธรรม อันนี้ก็พูดกันไปครับ พูดอีกก็ถูกอีกอยู่นั่นเอง คือเหมือนกับบอกว่า ถ้าขาดความอดทนต้องทำอย่างไร คำตอบก็คือต้องมีขันติ ถ้าใจร้ายต้องทำอย่างไร คำตอบก็คือต้องมีเมตตา เป็นต้น ในที่นี้ถ้ายกหลักธรรมกันจริง ๆ ยังมีอีกหลายหลักธรรมที่ยกมาได้อีกเป็นโขยง เช่น มโนธรรม สัปปุริสธรรม ฆราวาสธรรม 4 อัปปมาทธรรม 7 พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) และสังคหวัตถุ 4 เป็นต้น  

8. พระมหาวุฒิชัยได้บอกว่าหลักการตัดสินใจนั้นมีอยู่ 3 อย่างคือ อัตตาธิปไตย เป็นการตัดสินใจโดยยึดตนเองเป็นใหญ่จะทำให้เป็นทรราชได้ (เป็นการเตือน/ปรามรัฐบาลในขณะนั้น) โลกาธิปไตย เป็นการตัดสินใจโดยถือเสียงส่วนใหญ่ (ขณะนั้นรัฐบาลสมัครกุมเสียงส่วนใหญ่อยู่) ซึ่งก็ยังไม่ดีพอ และแนะให้ตัดสินใจบนพื้นฐานของธรรมาธิปไตย โดยยึดธรรมะเป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตามหากไปค้นพระไตรปิฎกในส่วนของ "อธิปไตยสูตร" ♥> ตามที่พระมหาวุฒิชัยอ้างถึง กลับปรากฏว่ามีสาระแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เพราะพระไตรปิฎกสอนให้พระบรรลุธรรมโดยอาจพิจารณาจากตน จากโลกหรือจากธรรมเป็นสำคัญ ไม่ได้เกี่ยวกับการปกครองในทางโลกเลย  

9. พระมหาวุฒิชัยได้ให้สัมภาษณ์ปิดท้ายว่าให้ทุกฝ่ายวางทิฐิลง เอาชีวิตของประชาชนไว้ดีกว่า อยากให้ทุกฝ่ายถอยสักก้าวหนึ่ง การถอยของรัฐบาลก็คงหนีไม่พ้นการบอกเป็นนัยให้ยุบสภาหรือลาออก แต่ในสมัยพวกเสื้อแดงนับแสน ๆ ชุมนุมซึ่งมากกว่าพวกเสื้อเหลือง (ก่อนที่จะถูกหาว่าก่อการร้ายและมีอาวุธ) พระมหาวุฒิชัยก็ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นในลักษณะนี้เลย   ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับความเห็นของผม ก็ลองดูนะครับ ผมหวังว่าการเห็นต่างนี้คงจะมีประโยชน์เพื่อการทบทวน สอบทานและพัฒนาความคิดให้เหมาะสมกับความเป็นจริงยิ่งขึ้น แตกต่างทางความคิด คงไม่ใช่การแตกแยกนะครับ ที่สำคัญผมเคารพพระสงฆ์องคเจ้า และไหว้ผ้าเหลืองอยู่แล้วครับ แต่เราก็ควรใช้วิจารณญาณไตร่ตรองด้วยปัญญาเพิ่มเติม  

อ้างอิง <1> กาลามสูตร พ.ศ.2553:http://researchers.in.th/blog/006/3653   <2> โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Paris_Hilton#DUI_arrest.2C_driving_violations.2C_and_jail_time   ♥> พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 185 อธิปไตยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3827&Z=3899&pagebreak=0  

By: Sopon Pornchokchai




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น