ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ.2554 เวลา 13.00 น. ณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ซอยพหลโยธิน 22

จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบการเงินการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กประมาณ 7,000 แห่งจาก 15,000 แห่งภายในปี 2561 ด้วยสาเหตุมาจากจำนวนเด็กนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนลดลง ทั้งจากปริมาณการเกิดของเด็กในชุมชนที่มีจำนวนลดลงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และการที่ผู้ปกครองเลือกที่จะส่งบุตรหลานออกไปเรียนที่โรงเรียนขนาดใหญ่หรือ ไม่ก็โรงเรียนในเมืองที่มีความพร้อมมากกว่า ทำให้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศนโยบายที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก

สถานการณ์ ท่าทีและนโยบายดังกล่าวของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงอย่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (สพฐ.) สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญขั้นพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุมชน เนื่องจากการก่อตั้งโรงเรียนขนาดเล็กในท้องถิ่นแต่ละแห่งนั้นมิได้ตั้งขึ้น มาอย่างง่ายดาย แต่เกิดจากความเรียกร้องความต้องการของชุมชนท้องถิ่นจนมีการเคลื่อนไหวเพื่อ ให้เกิดการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในชุมชน ในหลายแห่งชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างโรงเรียน ทั้งช่วยกันหาไม้หาอุปกรณ์ต่างๆ มาช่วยกันก่อสร้างโรงเรียน และหลายชุมชนได้สนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในท้องถิ่น มีกิจกรรมทั้งทางวัฒนธรรม ประเพณีที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชนมาโดยตลอด โดยหวังให้โรงเรียนเป็นที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้ลูกหลานได้มีปัญญา เก่งกล้าสามารถ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในอนาคต

โดยในขณะนี้สภาการศึกษาทางเลือกกำลังทำวิจัยเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กและ ทางออกที่เหมาะสม เบื้องต้นพบว่า มีหลายชุมชนที่ชุมชน ผู้ปกครอง เข้ามาร่วมกับโรงเรียนพัฒนาคุณภาพของเด็ก พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เช่น กรณีโรงเรียนหมู่บ้านมอวาคี โรงเรียนท่าสะท้อน และโรงเรียนเกาะแรด เป็นต้น ดังนั้น หากการดำเนินนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นและเป็นไปตามเป้าประสงค์ของกระทรวง ศึกษาธิการ ย่อมส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับท้องถิ่น ส่งผลกระทบมากตามมาจากการที่เด็กต้องเดินทางไปเรียนไกลขึ้นโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเด็กเล็กที่พ่อแม่ ผู้ปกครองยังต้องไปรับไปส่งหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนของ บุตรหลานมากขึ้นจากรายจ่ายค่ารถรับส่ง ฯลฯ ขณะเดียวกัน ผลกระทบที่สำคัญที่สุดที่ถูกละเลยมองข้ามคือผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากการชุมชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายที่มีผล กระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนได้ อีกทั้งยังเป็นการดึงเด็กออกจากกระบวนการเรียนรู้วิถีของชุมชนท้องถิ่น เรียนรู้คุณค่าของตัวเองและของชุมชน อันเป็นฐานความรู้ที่โรงเรียนขนาดใหญ่หรือโรงเรียนในเมืองไม่สามารถจัด กระบวนการเรียนรู้นี้ได้ดีเท่ากับชุมชน

สภาการศึกษาทางเลือก ที่เป็นการรวมตัวกันของโรงเรียน สถาบัน องค์กร และกลุ่มการศึกษาทางเลือกอันหลากหลายทั่วประเทศ จึงได้จัดงานแถลงข่าวเพื่อแสดงท่าทีและข้อเสนอต่อนโยบายปฏิรูประบบการศึกษา ไทย กรณีการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ทั้งนี้ ใคร่ขอเรียนเชิญผู้สื่อข่าว สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมงานแถลงข่าวในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ.2554 เวลา 13.00 น. ณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ซอยพหลโยธิน 22 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ (ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว) และเวลา 14.00 น. สภาการศึกษาทางเลือกจะยื่นหนังสือข้อเสนอต่อ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ กระทรวงศึกษาธิการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น