ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 19:30:38 น.

Share21




สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ.) 

 เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ.)  ได้จัดสัมมนาเรื่องระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ  ดร. อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ  ทีดีอาร์ไอ. กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการที่ค่าใช้จ่ายของสวัสดิการรักษาพยาบาลเป็นงบปลายเปิด คือ เบิกเท่าไร ก็สั่งจ่ายเท่านั้น กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลเรื่องนี้ ก็ไม่มีเครื่องมือในการควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้ทั้งผู้ป่วยและหมอขาดแรงจูงใจที่จะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเรื่องผู้ป่วยนอก เป็นปัญหามาก ในปี 2550 ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นถึง 40% เป้าหมายของการวิจัยจึงเป็นเรื่องว่า เราจะสร้างระบบอย่างไรให้มีการใช้เงินที่มีประสิทธิภาพขึ้นในขณะเดียวกันสุขภาพของข้าราชการก็ไม่ได้แย่ลง 

 

 

ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างปัญหา แต่ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการใช้จ่ายที่สูง เช่น ปี 2553 ข้าราชการที่มีการใช้จ่ายสูงที่สุด 1% ของผู้ป่วยทั้งหมด ใช้เงินถึง 20% ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอก หรือเฉลี่ยคนละ 3 แสนบาทสำหรับผู้ป่วยนอกอย่างเดียว ยังไม่รวมผู้ป่วยใน การเจ็บป่วยของคนกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องปกติ

 

 

แต่การใช้จ่ายนั้นต้องหาทางทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเงินที่จ่ายออกไปเป็นเงินของตน เพื่อให้การตัดสินใจใช้จ่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ถ้าเป็นเงินจากกระเป๋ารัฐอย่างเดียวก็อาจจะไม่ต้องคิดมากอะไรในการจ่ายแต่ละครั้ง ถ้ามีการสร้างระบบที่ดี ผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้เงินเพื่อสุขภาพของตนมากกว่านี้

 

 

นพ. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เราน่าจะกำหนดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของข้าราชการให้เป็นสัดส่วนกับงบเงินเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเติบโตอย่างไม่จำกัด การที่จะมาจำกัดค่าใช้จ่ายอย่างเดียวอาจจะไม่เหมาะสม

 

 

รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  ความท้าทายที่สำคัญในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว    กรมบัญชีกลางจะมีการศึกษาวิจัยและกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายไปจำนวนหนึ่งแล้ว  แต่ยังมีโอกาสพัฒนาในด้านอื่นๆ ของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการอีก  

 

 

เหตุผลหนึ่งเนื่องจาก ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการเป็นระบบที่มุ่งเน้นการให้สวัสดิการด้านรักษาพยาบาลเป็นหลัก  ยังไม่ได้นำแนวคิดของการจัดการสุขภาพที่มีความเป็นองค์รวมเพื่อการดูแลสุขภาพระยะยาวเข้ามาบูรณาการด้วย   แนวคิดดังกล่าวน่าจะทำให้ข้าราชการและครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบถ้วนมากขึ้น  ส่งเสริมคุณภาพ และทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้จากการป้องกันความเจ็บป่วยหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องและได้รับการส่งเสริมให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองมากขึ้น

 

จากการศึกษานำร่องโดยการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการร่วมกับการติดตามศึกษาข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิสวัสดิการรรักษาพยาบาลข้าราชการกลุ่มตัวอย่างที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอันได้แก่ กลุ่มโรคเบาหวาน และกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง 

 

 

พบว่า  ผู้ป่วยจำนวนประมาณ 1 ใน 4 มีการไปใช้บริการที่โรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นกลุ่มที่เจ็บป่วยมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า  การทบทวนข้อมูลการรักษาทำให้เห็นว่าผู้ป่วยในกลุ่มโรคเรื้อรังดังกล่าว ประมาณร้อยละ 13–24 ยังไม่ได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง และร้อยละ 15-50 ยังไม่ได้รับการดูแลครบถ้วนตามแนวทางเวชปฏิบัติแล้วแต่กรณี  นอกจากนี้กว่าร้อยละ 80  ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้รับการสร้างเสริมสุขภาพที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้    

 

 

ข้อมูลดังกล่าวพบร่วมกับการที่อัตราการรับผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังทั้งสองกลุ่มเข้ารักษาในโรงพยาบาลของกลุ่มผู้ป่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ สูงกว่าตัวเลขของประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉลี่ยกว่า 3-4 เท่า  

โดยหลักทฤษฏีแล้ว หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องครบถ้วน และมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเพียงพอ  ความเจ็บป่วยถึงขั้นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน่าจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ 

 

 

กล่าวคือมีผลดีทั้งทำให้คุณภาพบริการและสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วยดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่าย   คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้กรมบัญชีกลางนำแนวทางการจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือที่เรียกว่า Chronic Disease Management มาประยุกต์ใช้ในการจัดการบริการสุขภาพให้กับผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ   เทคนิคการจัดการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีการนำมาใช้แล้วในระบบหลักประกันสุขภาพในหลายประเทศ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีผู้ให้บริการสุขภาพประจำตัว  ได้รับการดูแลสุขภาพภายใต้การจัดการเชิงระบบ ให้เกิดความต่อเนื่อง ครบถ้วน และให้มีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมที่มุ่งสร้างเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย เพื่อควบคุมโรคให้ได้ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังกล่าว   ซึ่งหากมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผล น่าจะสามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรครวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304073287&grpid=&catid=02&subcatid=0200




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น