ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

ระวังเข้าวัย 40 ท่อน้ำตาอุดตัน เสี่ยงติดเชื้อลามตาแดงเรื้อรัง

ระวังเข้าวัย 40 ท่อน้ำตาอุดตัน เสี่ยงติดเชื้อลามตาแดงเรื้อรัง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์15 เมษายน 2554 08:46 น.

       จักษุแพทย์เตือนเข้าวัย 40 ปีระวังทางเดินน้ำตาอุดตัน ทิ้งไว้นานอาจติดเชื้อกลายเป็นตาแดงเรื้อรัง 
       
       นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยหลายรายที่ประสบปัญหาโรคทางเดินท่อน้ำตาตีบตัน ซึ่งพบมากในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป พบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย อาจเพราะเยื่อบุบางกว่า โดยอาการจะเริ่มจากมีน้ำตาไหล มากกว่าปกติอาจมีน้ำตาเอ่อคลออยู่เต็มตา เหมือนกับร้องไห้ และบางรายจะมีน้ำตาเป็นสีน้ำนม หรืออาจตาแฉะในตอนเช้า ซึ่งเกิดจากท่อน้ำตาส่วนปลายตันและบวม ทำให้น้ำตาไม่สามารถไหลลงคอได้ จึงเอ่อล้นออกมา ซึ่งพบว่า อาการแบบนี้ที่ รพ.พระนั่งเกล้าก็มีมารักษาเดือนละไม่ต่ำกว่า 10 ราย
       
       นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวด้วยว่า แม้อาการดังกล่าวจะไม่ใช่โรคทางตาที่รุนแรง และพบได้บ่อย แต่ก็ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการใช้ตาของผู้ป่วยไม่น้อย เพราะหากทิ้งไว้อาจกลายเป็นตาแดงเรื้อรัง และตาอาจติดเชื้อแบคทีเรียจนทำให้ตาถุงน้ำตาอักเสบเป็นหนองได้ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนรอบข้างมีอาการน้ำตาไหลตลอดเวลาโดยไม่ได้ร้องไห้ ไม่ว่าจะอยู่ในที่แจ้งหรือที่ร่ม หรือไหลโดยไม่มีอาการระคายเคืองมากนัก ติดต่อกัน 3-4 วัน ก็ควรที่จะไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา เพราะหากไม่เร่งแก้ไขก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสวนท่อน้ำตาใหม่ หรือเปลี่ยนทิศทางของท่อ โดยการใช้เลเซอร์ผ่าตัดผ่านทางท่อน้ำตา ซึ่งทำให้ระบบการไหลของน้ำตาเป็นปกติ ลดอาการตาบวม ตาแฉะ และป้องกันถุงน้ำตาอักเสบ 
       
       "ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งเผชิญกับปัญหาดังกล่าวได้ระยะเวลาแค่ 1-2 วันก็สามารถหาซื้อยาหยอดตามารักษาให้หายได้ โดยปัจจุบันยาที่ใช้มี 2 ชนิด คือ ยาแก้อักเสบ โพลีออฟ (Poly Oph) และยาลดอาการตาบวม คือ ฮิสตาออฟ (Hista Oph) แต่หากไม่แน่ใจก็ควรพบแพทย์เพื่อรักษา เพราะโรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง" นพ.ฐาปนวงศ์กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น