ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

โปรดรับฟังความเห็นจากพี่น้องไทยในต่างประเทศ


จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 17 เมษายน 2554, 9:50
หัวเรื่อง:โปรดรับฟังความเห็นจากพี่น้องไทยในต่างประเทศ
ถึง:
เรียนทุกท่านที่ห่วงใยบ้านเมือง
ขออภัยทุกท่าน  รบกวนหลายเรื่อง โปรดเลือกตามชอบ
และโปรดช่วยกัน รักษาปกป้องกันประเทศ   และประชาชน เยาวชน

เคารพและขอบคุณคะ
กมลพรรณ


ยกเลิกการเลือกตั้งล่วงหน้า
ยกเลิกONET GPAX ในการคัดเลือกเข้ามหาลัย และยกเลิกการยุบรวมสายวิทย์ศิืลป์




---------- Forwarded message ----------
From: Pramote Nakornthab <pnakornthab@gmail.com>
Date: 2011/4/17
 


จดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกวุฒิสภา

 

เรื่อง ขอคัดค้านการออกกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ๓ ฉบับ

จาก ประชาชนไทยในสหรัฐอเมริกา

 

เรียนท่านประธานวุฒิสภาและท่านวุฒิสมาชิกทุกท่าน เราเขียนจดหมายฉบับนี้ด้วยความห่วงใยประเทศชาติ ทุกท่านคงไม่ปฏิเสธว่า กฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง ๓ ฉบับ มีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของชาติ  และการพิจารณากฏหมายสำคัญระดับนี้ ควรได้รับการอภิปรายอย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่สมาชิกสภาผู้แทนของเรา ผ่านกฏหมายทั้ง ๓ ฉบับ ในเวลาอันรวดเร็ว เพียงเพื่อให้สอดรับ กำหนดการยุบสภาล่วงหน้า ของนายกรัฐมนตรี

 

ในระบอบประชาธิปไตย ความสำคัญหลักประการหนึ่ง ซึ่งยังผลให้การเลือกตั้ง เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย คือโอกาสในการแข่งขันซึ่งต้องมีเสมอกัน  ทั้งที่สมาชิกสภาผู้แทนเหล่านี้ มักทำลายความชอบธรรม ในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ด้วยข้ออ้างความเป็นประชาธิปไตยและการเลือกตั้งเสมอมา แต่ในเวลาเดียวกัน ส.ส. เหล่านี้ กลับช่วงชิงความได้เปรียบ เพื่อประโยชน์ฝ่ายตน เพื่อให้ได้โอกาสจัดตั้งรัฐบาล แม้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง และเขตการเลือกตั้งก็ตาม

  

ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง (Re-Districting) เขาไม่ทำกันชุ่ยๆ  เพราะมันเป็นการจำกัดสิทธิ์ (Disfranchise) ประชาชนและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นการกระทำใดๆ อันจะนำไปสู่การได้เปรียบเสียเปรียบ ของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เขาไม่ทำกัน  การกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ในอเมริกา ทำกันทุกสิบปี หลังการสำรวจสำมโนประชากร ในอังกฤษการกำหนดเขตเลือกตั้งต้องมีการทำแผนที่ประชากรและเขตการเลือกตั้งอย่างละเอียด  ซึ่งครั้งสุดท้ายในอังกฤษ ใช้เวลากว่า 3 ปี และใช้เงินกว่า ๕ ล้านปอนด์ ไม่ทำตามอำเภอใจของนักการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยเฉาะอย่างยิ่งการพิจารณากฏหมายอย่างเร่งรีบ ผ่านสภา ๓ วาระรวด พร้อมทั้งยัดเยียดให้ผ่านสภาสูงใน 2 สัปดาห์

 

อนึ่งกฎหมายลูกทั้ง 3 เกิดแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยครรลองประชาธิปไตย ด้วยเหตุดังนี้

.  ในประเทศประชาธิปไตย การลดเขตเลือกตั้งหรือลดจำนวนผู้แทนให้น้อยลง ในขณะที่ประชากรความเจริญและปัญหาเพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นการจำกัดสิทธิ์ในการเลือกตั้งของประชาชน แต่ประเทศไทยกลับสวนทาง ด้วยการลดจำนวนเขตการเลือกตั้ง ลงเหลือ ๓๗๕ เขต ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้น โดยไม่มีความเหมาะสม นอกจากต้องการชิงความได้เปรียบ จากการเพิ่มจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น

.  เนื่องจากนโยบายการบริหารประเทศของพรรคการเมืองใหญ่ในต่างประเทศ เป็นนโยบายที่มีความต่อเนื่อง และเป็นที่เข้าใจของประชาชน ผู้แทนระบบสัดส่วนถูกกำหนดขึ้น เพื่อคุ้มครองพรรคการเมืองเล็กๆ

 

๒/๓) และป้องกัน...

และป้องกันการผูกขาดอำนาจในหมู่พรรคการเมืองใหญ่ ระบบพรรคในต่างประเทศจึงเข้มแข็ง  พรรคการเมืองไทยส่วนใหญ่ เป็นพรรคส่วนบุคคลหรือพรรคที่อยู่ใต้อิทธิพลของกลุ่มทุน นโยบายพรรคมักโลเล เป็นไปตามความต้องการของนายทุน หรืออารมณ์ของประชาชน และประเด็นการเมืองที่เผชิญอยู่ในเวลานั้น ดังนั้นการเพิ่มจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ ไม่สามารถทำให้ระบบพรรคในประเทศไทยเข้มแข็งขึ้น  นอกจากเป็นการเพิ่มโอกาส ให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ระหว่างพรรคและนายทุนของพรรค และส่งผลเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยอย่างรุนแรงเท่านั้น

 

.    การเสนอกฎหมายลูกทั้ง ๓ ฉบับนั้น เพียงเพื่อให้สอดรับการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งทำลายจารีตประชาธิปไตย ด้วยเหตุถึง ๒ ข้อเป็นอย่างน้อย

๓.๑  ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ การผ่านรัฐธรรมนูญของไทย มีการทำประชาพิจารณ์ มาอย่างยาวนานและเป็นระบบ รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ มีประชามติถึง ๑๔.๗ ล้าน อีกทั้ง รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐มาตรา ๒๙๑ วรรค ๔ กำหนดให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างชัดเจน  แต่การแก้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ แอบทำกันระหว่างพรรค โดยไม่แยแสต่อการทำประชาพิจารณ์หรือประชามติ รัฐบาลอ้างข้อตกลงระหว่างพรรค ซึ่งมีมาก่อนการจัดตั้งรัฐบาล และเงื่อนเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุผลในการทำลายประชามติปี ๒๕๕๐ ซึ่งประชาชนชอบและอนุมัติการเลือกตั้งแบบเดิม โดยไม่ละอาย  ทั้งที่นายกรัฐมนตรี ได้สัญญาต่อประชาชนในหลายโอกาส ว่าหากจะแก้รัฐธรรมนูญ จะขอมติจากประชาชนก่อน

๓.๒  การแก้มาตรา ๑๙๐ ซึ่งเกี่ยวกับพระราชอำนาจในการทำสนธิสัญญา การแก้ไขนี้เป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ เพื่อความสะดวกเรื่องการทำสัญญาต่างๆ รวมทั้ง JBC-MOU ซึ่งเกิดจากการสมรู้ร่วมคิดระหว่าง รัฐบาลไทยในอดีต รัฐบาลกัมพูชา และคนขายชาติบางคนในรัฐบาลปัจจุบันเท่านั้น การแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อความสะดวกในการทำงานของรัฐบาล ย่อมหลีกเลี่ยงการลัดวงจรนิติบัญญัติไม่ได้ การแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงเป็นการกระทำอันขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ โดยแท้จริง

 

จากภาพที่ปรากฏในระยะนี้ เราไม่เชื่อในความสุจริตของสมาชิกสภาผู้แทน เราสงสัยในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของ ส.ส. เหล่านั้น โดยเฉพาะหน้าที่อันสำคัญสูงสุด “การกำหนดอนาคตของชาติ” ซึ่งต้องมีความกล้าหาญ และจริยธรรมเป็นพื้นฐาน  จากการล่มสภาได้ถึง ๓ ครั้ง เพราะ ส.ส. เหล่านั้นไม่มีความกล้าหาญพอที่จะ ลงคะแนน สวนความต้องการของนายทุนพรรค จึงหนีหน้าที่จนสภาล่ม และการผ่านกฏหมายสำคัญ ๓ ฉบับ ภายในเวลา ๓ ชั่วโมง โดยเอกฉันท์นั้น  เห็นได้ชัดว่า อนาคตประเทศไทย ถูกกำหนดโดยกลุ่มทุนพรรคการเมือง ผ่าน ส.ส. ซึ่งยอมตนเป็นทาสในเรือนเบี้ย

 

ท่านวุฒิฯ เชื่อหรือว่าความวุ่นวายของประเทศในเวลานี้ จะยุติลงได้ ด้วยการลดจำนวน ส.ส. เขต และเพิ่มจำนวน ส.ส. สัดส่วน ท่านเชื่อหรือว่า การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรมขึ้น เพราะการรับรองจากนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งบริหารประเทศ เหมือนแสดงจำอวดหน้าม่าน นอกจากนายกรัฐมนตรีท่านนี้จะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ในการนำ

 

๓/๓ ประเทศออก...

 

ประเทศออกจากการเมืองที่ล้มเหลว ตามที่ประกาศไว้เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ท่านยังเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งทำให้การเมืองไทย มุ่งสู่ความหายนะยิ่งขึ้น 

 

เราขอเรียกร้องให้ วุฒิสมาชิกทุกท่าน ร่วมใจกันยุติการเมืองที่ล้มเหลว พาประเทศออกจากความหายนะในอนาคต เริ่มด้วยการหยุดยั้งการออกกฏหมายลูกทั้ง ๓ ฉบับ ร่วมกันหาทางออกให้ประเทศ  ด้วยการปฏิรูปการปกครองทั้งระบบ  เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และความสุขของประชาชน  ก่อนที่จะสายเกินการ    

 

เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

 

ธัชพงศ์  จันทรปรรณิก                                Washington DC

ดวงมาลย์ มาลยมาน                                   Maryland

ปรีดา สุขะชีวิน                                         Virginia

สวัสดิ์ นันทบุตร                                        Virginia

กิตติพล เวชบุล                     Los Angeles     California

บุญเรือง เกตุพงษ์สุดา             Los Angeles     California

บุญชู ศรีพลอยรุ่ง                   Los Angeles     California

พงศ์พิลาส โชติกเสถียร            Los Angeles     California

สุภาพ เปรมโยธิน                   San Francisco   California

ภาคภูมิ  วัฒนสุภาพ                                   New York

วิชัย ชลาลัยวัลย์                                        New York

ไพลิน คำศิริ                                            New York

ประมุข กรนุประพันธ์                                 Texas

ชัชวาลย์ ท้าวอุตม์                   Houston          Texas

ฉลาด บันลือภพ                    Chicago          Illinois

คเชนทร์ ประจวบสุข                                  Florida

จารุณี นักระนาด-มาร์ซิลลิ่                             Rhode Island

จรัสชัย เมฆตระกูลชัย                                 Oregon

ปิติ ตั้งเพียรกิจ                                        Washington

อรพรรณ สวนะปรีดี                Las Vegas       Nevada

เรืองระวี หัตถกิจอุดม                                Colorado

 

 

ลงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๔



2011/4/17 Chaiwat Suravichai <chaiwatchana14tula16@hotmail.com>

  ในการเรียกร้องโหวตโน คุณต้องวางแผนว่า แล้วอย่างไรต่อ ใครจะมาบริหารบ้านเมือง และบริหารอย่างไร จะแก้ไขอะไร ,1,2,3,4 ไม่ใช่ไปตายเอาดาบหน้า เราจะเหนื่อยฟรี เสียแรงเปล่าเหมือนการเรียกร้องการเมอืงใหม่ ได้อะไรมาบ้างนอกจากผลัดกันเข้ามาเสวยอำนาจ ไม่ว่าใครจะมาปกครองบ้านเมอืง ไม่ว่านักการเมอืง อำมาตย์ หรือข้าราชการ นักเคลื่อนไหว รวมทั้งประเด็นการศึกษา เราก็ต้องเรีกร้องให้เขาวางหมาก ไว้เลยคะว่าต้องแก้ไขอะไรอย่างไร

 

http://www.parent-youth.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538688944&Ntype=2

www.parent-youth.net
ในหลวงของเรา กับระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย


แถลงการณ์ เครือข่ายเยาวชนเพื่อการศึกษาไทย ฉบับที่ 1/2554


http://www.facebook.com/editprofile.php?sk=relationships&success=1#!/notes/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-youth-network-for-thai-education-ynte/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-12554/196849580351467
 

เพื่อนมิตรที่รัก,

 

ช่วงเวลาที่ผ่านมา  ได้คุยแลกเปลี่ยนกับมิตร และประเมินสถานการณ์จากหลายฝ่าย

 

เกือบทุกคนมีความเป็นห่วงต่อการเคลื่อนไหวของพธม.มาก

 

จึงได้นำมาเสนอแลกเปลี่ยนกัน

 

ช่วยกันคิดในฐานะเจ้าของแผ่นดินไทย

 

 

รักและเคารพ

 

 

ชัยวัฒน์  สุรวิชัย

 

 

*เพื่อให้สะดวก จึงสรุปประเด็นให้อ่านกันก่อน

 

 

หากผู้มีเวลา ควรจะได้อ่านฉบับเต็ม

 

>>>>>>>>

 

170454: ประเด็นการเมืองที่น่าศึกษาแลกเปลี่ยนกันในหมู่มิตร

การ VOTE NO  

มีประเด็นที่ถูกนำเสนอจากมิตร ทั้งพธม. เพื่อนมิตร  พรรคการเมืองใหม่  ภาคประขาชน ผู้มีเจตนาดี……

หลักการ แต่มีประเด็นเรื่อง ท่าที่  วิธีการ  ขั้นตอน จังหวะก้าว  ช่วงเวลา  ความพร้อม  ความรับผิดชอบ

มวลชน  และผลดีผลเสีย

 

ข้อสรุป  รับฟังจากเพื่อนมิตร ทั้งภายในและภายนอก  และการประเมินสถานการณ์จากหลายฝ่าย

ปัจจัยภายในมีความจำกัดและขาดความพร้อม ปัจจัยภายนอกไม่เอื้อ โอกาสสำเร็จมีน้อย ความเสียงสูง

แต่ก็เคารพการตัดสินใจของผู้นำเสนอ  ที่มีความรับผิดชอบและเคารพมวลนชนและความจริง

 

สิ่งที่ทำมาทั้งหมดในชีวิต  ไม่เคยคิดว่า จะทำให้ใครหรือทำเพื่อใคร 

แต่ทำเพื่อประชาชนประเทศชาติ และตนเอง

เมื่อประชาชนและประเทศชาติ  ดีขึ้นเจริญขึ้นมีความสุขมากขึ้น

ตัวเอง ก็จะได้รับผลดีไปด้วย

หาก:ประชาชนและประเทศชาติวิบัติล่มจม 

ตัวเองและลูกหลานก็จะประสบเคราะห์กรรมไปด้วย

เราจึงต้องเร่งพัฒนายกระดับให้มีคุณภาพ มีความรู้สติปัญญามากขึ้น

เพื่อทำให้ได้ดีขึ้น มากขึ้น

 

ชัยวัฒน์  สุรวิชัย  17 04 2554

 
..........................................................................................................
 
รายละเอียดทั้งหมด  เชิญ อ่าน  ครับ >>>>>>>
 
 
 

170454: ประเด็นการเมืองที่น่าศึกษาแลกเปลี่ยนกันในหมู่มิตร

การ VOTE NO  

มีประเด็นที่ถูกนำเสนอจากมิตร ทั้งพธม. เพื่อนมิตร  พรรคการเมืองใหม่  ภาคประขาชน ผู้มีเจตนาดี……

หลักการ แต่มีประเด็นเรื่อง ท่าที่  วิธีการ  ขั้นตอน จังหวะก้าว  ช่วงเวลา  ความพร้อม  ความรับผิดชอบ

มวลชน  และผลดีผลเสีย

หลักการ >ถูกต้อง คือ ระบบการเมืองเลือกตั้ง  และผลการเลือกตั้ง  จะได้กลุ่มเดิม  คนดีเข้ามาได้ยาก

และจะแก้ปัญหาของประชาชนและประเทศไม่ได้ 

การปฏิเสธการเลือกตั้งแบบเดิม ที่ไม่ได้มีการปฏิรูปการเมืองปฏิรูปสังคม  จึงมีเหตุมีผล    แต่

ท่าที  ต่อเพื่อนมิตรที่เจตนาดี  แต่มีความเห็นต่าง  > ควรจะมีท่าทีที่เคารพกัน และรับฟังความเห็น มิใช่ปฏิเสธ

หรือไม่ยอมรับ เพื่อให้ได้มุมมองและแง่คิดที่ครบถ้วน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ

ท่าที่  ต่อพรรคการเมืองใหม่  > ทุกฝ่ายควรจะเคารพความคิดเห็นของพรรคการเมืองใหม่  มิใช่ไปตัดสินแทน

และมิใช่ไปแทรกแซง เพราะ พรรคการเมืองใหม่  ต้องฟังและเคารพมติของคณะกรรมการและสมาชิกพรรค

วิธีการ เป็นเรื่องมีความสำคัญชี้ขาด  หลังจากหลักการถูกต้องแล้ว > วิธีการ จะต้องกำหนดจากสภาพรูปธรรม

ความเป็นจริงและสอดคล้องกับสถานการณ์  มิใช่กำหนดจากอัตตวิสัยของใคร  และต้องกำหนดมาจาก

คณะกรรมการที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง  และมาจากแผนงานหรือแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้แล้ว

ขั้นตอนและจังหวะก้าว > การจะทำอะไรก่อนหลัง และการกำหนดสิ่งที่จะทำในแต่ละช่วง ที่สอดคล้องกับกำลัง

ที่เรามีและสถานการณ์ในขณะนั้น  โดยจะต้องรำลึกเสมอว่า  ทุกขั้นตอนจังหวะก้าวที่ทำและย่างไป จะทำให้

เราเข้มแข็งและเติบใหญ่ขึ้น  มีมิตรและแนวร่วมมากขึ้น  ศัตรูหรือคู่ขัดแย้งลดลงหรือมีน้อยลง

ช่วงเวลา ที่เหมาะสม ที่จะทำให้หลักการประสบความสำเร็จ > คือ รัฐบาลและระบอบการเมืองไม่สามารถ

แก้ไขปัญหาของประชาชน และประเทศชาติ  และประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธไม่รับรัฐบาลและระบอบการเมือง

หรือ มีเงื่อนไขที่สุกงอมคือสภาวการณ์ทางการเมืองพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง จากการรณรงค์จากภาคประชาชน

ที่เข้มแข็งมีศักยภาพมากพอ

ความพร้อม คือ มีแผนงาน  กำลังคน  การสนับสนุนจากแนวร่วมและประชาชนที่กว้างขวาง > คือ ต้องมีความ

พร้อมในระดับที่แน่นอน ก่อนที่จะดำเนินการ  มิใช่ออกรบ โดยไม่มีความพร้อม แต่ไปหาความพร้อมข้างหน้า

ซึ่งจะเป็นเรื่องที่มีความเสียงสูง 

ความรับผิดชอบ  ผู้นำที่มีความรับผิดชอบจะต้องสรุปและประเมินความพร้อมความไม่พร้อมของตนเองให้ได้

ก่อน  ก่อนที่จะนำเสนอและชี้นำประชาชน  เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำ ที่มักจะขาดในสังคมไทย

มวลชน เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จและล้มเหลว > มวลชนที่ไม่คิด เชื่อทุกอย่างที่ผู้นำพูด มีผลเสีย ทั้งการไม่ได้

มีส่วนร่วมของมวลชน และการไม่ได้ทำตัวเป็นมิตรที่ดี คือ ต้องกล้าสนับสนุนในสิ่งที่ถูก และค้านในสิ่งที่ไม่ถูก

มวลชนที่สังคมต้องการ คือ มวลชนที่มีคุณภาพก้าวหน้า มีความคิดมีความรู้ที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง

*ผลดีผลเสีย หลักการที่ดี แต่หากขาด ท่าที่  วิธีการ  ขั้นตอนจังหวะก้าว  ช่วงเวลา  ความพร้อม 

ความรับผิดชอบ      มวลชน  ที่ได้กล่าวมาข้างตน ก็จะเกิดผลเสียได้มาก > กล่าวเป็นรูปธรรม :

ถ้าหากเสียง VOTE  NO  น้อยกว่า 50% หรือหากยิ่งน้อยกว่า  5 ล้านเสียง  จะเกิดผลเสียใหญ่ต่อ

กระบวนการภาคประชาชน  ฝ่ายนักการเมืองเก่า  จะนำไปกล่าวอ้างได้โดยที่เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า

คนส่วนใหญ่ยังสนับสนุนการเมืองเก่าอยู่

การเอาแต่ความคิดของตนเอง ไม่เคารพและทนุถนอมมิตรจะทำให้เราอ่อนแอลงจากการเสียมิตรและแนวร่วม

ข้อเสนอแนะ

1.     ผู้นำเสนอ  ต้องรับฟังความคิดจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะจากเพื่อนมิตรและผู้มีความเห็นต่างอย่างจริงจัง

โดยเฉพาะการนำเสนอต่อมวลชน  ต้องนำเสนอให้รอบด้านมิใช่เสนอด้านเดียว ด้านแห่งความสำเร็จ

แต่ด้านที่เป็นลบและไม่ประสบความสำเร็จซึ่งมีสูงไม่น้อย  ต้องนำเสนอให้มวลชนรับทราบด้วย

2.     ผู้นำเสนอ  ต้องประเมินผลทุกระยะ ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  หากมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

ก็ดำเนินต่อ  แต่หากมีโอกาสเสียงสูง  ก็ควรจะมีการทบทวน

สิ่งที่ผู้นำที่มีความรับผิดชอบต้องตระหนักคือ  ต้องประเมินสถานการณ์และแนวโน้มให้ออก ว่า

สภาวการณ์ขณะนี้ เป็นอย่างไร  เป็นกระแสของการเลือกตั้ง หรือกระแสที่ไม่เอาเลือกตั้ง ฯลฯ 

3.     ผู้นำเสนอ ยังมีโอกาสอีกมาก  มิใช่จะรีบทำให้เสร็จสิ้นในขณะนี้ ถ้าหากเห็นโอกาสความสำเร็จน้อย

งานนี้ เป็นงานที่ต้องอาศัยความพร้อมและความสุกงอมของสถานการณ์และมวลชน ซึ่งมีแนวโน้มที่

สูงขึ้น นับจากสถานการณ์ต่อไปนี้

4.     ต้องให้ความเคารพและให้เกียรติต่อพรรคการเมืองใหม่  ยิ่งในช่วงสภาวะที่มิตรและแนวร่วมหดและ

ลดลง พรรคการเมืองใหม่ ยังคงเป็นยิ่งกว่ามิตร  เป็นสิ่งที่ผู้นำ มวลชน ภาคประชาชนและผู้รักชาติรัก

ประชาชนที่แท้จริง ร่วมมือร่วมใจกันสร้างขึ้นมา  เป็นพรรคการเมืองที่มวลชนและสมาชิกเป็นเจ้าของ

มิใช่ใครคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของเหมือนพรรคการเมืองเก่าอื่นๆ

ข้อสรุป  รับฟังจากเพื่อนมิตร ทั้งภายในและภายนอก  และการประเมินสถานการณ์จากหลายฝ่าย

ปัจจัยภายในมีความจำกัดและขาดความพร้อม ปัจจัยภายนอกไม่เอื้อ โอกาสสำเร็จมีน้อย ความเสียงสูง

แต่ก็เคารพการตัดสินใจของผู้นำเสนอ  ที่มีความรับผิดชอบและเคารพมวลนชนและความจริง

 

สิ่งที่ทำมาทั้งหมดในชีวิต  ไม่เคยคิดว่า จะทำให้ใครหรือทำเพื่อใคร 

แต่ทำเพื่อประชาชนประเทศชาติ และตนเอง

เมื่อประชาชนและประเทศชาติ  ดีขึ้นเจริญขึ้นมีความสุขมากขึ้น

ตัวเอง ก็จะได้รับผลดีไปด้วย

หาก:ประชาชนและประเทศชาติวิบัติล่มจม 

ตัวเองและลูกหลานก็จะประสบเคราะห์กรรมไปด้วย

เราจึงต้องเร่งพัฒนายกระดับให้มีคุณภาพ มีความรู้สติปัญญามากขึ้น

เพื่อทำให้ได้ดีขึ้น มากขึ้น

 

ชัยวัฒน์  สุรวิชัย  17 04 2554

 

--
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นสมาชิกกลุ่ม Google Groups กลุ่ม "triem28"
หากต้องการโพสต์ถึงกลุ่มนี้ ให้ส่งอีเมลไปที่ triem28@googlegroups.com
หากต้องการยกเลิกการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่งอีเมลไปที่
triem28+unsubscribe@googlegroups.com
หากต้องการดูตัวเลือกเพิ่มเติม โปรดไปที่กลุ่มนี้โดยคลิกที่
http://groups.google.co.th/group/triem28?hl=th





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น