ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

นักวิชาการฝรั่งตั้งคำถาม นโยบาย "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" ของรัฐบาลจะสำเร็จแค่ไหน?

นักวิชาการฝรั่งตั้งคำถาม นโยบาย "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" ของรัฐบาลจะสำเร็จแค่ไหน?

วันที่ 03 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:33:33 น.










นิโคลัส ฟาร์เรลลี่ นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้เขียนบทความชื่อ "จากลูกเสือชาวบ้านถึงลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" (ฟรอม วิลเลจ สเก๊าท์ส ทู ไซเบอร์ สเก๊าท์ส) ลงในเว็บล็อก "นิวแมนดาลา" (นวมณฑล) ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขปดังต่อไปนี้


ในช่วงเวลาก่อนการมาถึงของ "ยุคดิจิตอล" นโยบายทางด้านความมั่นคงแห่งชาติของไทย มักจะมีหน่วยปฏิบัติงานเป็นทหารในกองทัพ, กองกำลังพลเรือน, เจ้าหน้าที่ตำรวจ และองค์การภาคพลเมือง


หนึ่งในองค์กรเหล่านั้นซึ่งนำไปสู่กรณีถกเถียงกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็คือ "ลูกเสือชาวบ้าน" แม้ ว่าวันเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ขององค์กรดังกล่าวจะเป็นเพียงความทรงจำอัน รางเลือน ทว่าลูกเสือชาวบ้านก็ใช่จะปลาสนาการไปจากสังคมไทยเลยเสียทีเดียว


ปัจจุบันนี้ พวกเขาถือเป็นหน่วยงานอย่างเป็นทางการหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงกับกองบัญชาการ ตำรวจตระเวนชายแดน และศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านฯ ก็ยังมีภารกิจในการระดมผู้คนและโฆษณาชวนเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง


การที่ลูกเสือชาวบ้านยังคงมีความสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยดำรง อยู่ภายในหน่วยงานราชการด้านความมั่นคง จึงส่งผลให้พวกเขาสามารถจะเคลื่อนพลออกมาได้อีกครั้งหนึ่ง


ล่าสุดนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งเดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดโครงการสร้าง "ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต" (Cyber Scout) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลที่จะ "ควบคุมตรวจตรา" สื่อออนไลน์


รายงานข่าวระบุว่า ลูกเสือบนเครือข่าย อินเตอร์เน็ตจำนวน 200 คน จะประกอบไปด้วย นักเรียนนักศึกษา, ครูอาจารย์, ข้าราชการ และผู้ปฏิบัติงานภาคเอกชน ซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต


หน้าที่ของลูกเสือออนไลน์เหล่านี้ ย่อมต้องเป็นการ "เฝ้าสังเกตตรวจตรา" บรรดาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนสถาบันสำคัญ ๆ ของสังคม


อย่างไรก็ตาม ฟาร์เรลลี่กลับมองว่านโยบายดังกล่าวเป็นเพียงกลยุทธเพื่อให้มีข่าวคราวของ รัฐบาลปรากฏอยู่ในพื้นที่สื่อ ซึ่งถูกจัดขึ้นพอเป็นพิธีเท่านั้น


เนื่องจากที่ผ่านมาความพยายามในการควบคุมตรวจตราอินเตอร์เน็ตของรัฐบาลมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวผสมผสานกันไปเมื่อ เว็บไซต์ใดถูกบล็อก คนทำก็ไปสร้างเว็บใหม่ในพื้นที่แห่งใหม่ ขณะเดียวกัน บรรดากลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ติดตามเว็บไซต์เหล่านี้ก็ยังเริ่มตระหนัก รู้ถึงวิธีการในการตอบโต้นโยบายการควบคุมสื่อออนไลน์


เนื้อหาในเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกกลับได้ รับการทำสำเนา นำไปเผยแพร่ซ้ำ ตลอดจนกลายเป็นที่ดึงดูดใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น ด้วยสถานะ "ผิดกฎหมาย" ของมัน


นอกจากนี้ วิธีการบล็อก "เว็บเพจ" เพียงหน้าใดหน้าหนึ่งของ "เว็บไซต์" บางแห่งก็ถูกดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และถูกเยาะเย้ยไปพร้อม ๆ กัน เพราะ ยิ่งเนื้อหาในเว็บเพจดังกล่าวถูกแบน มันก็จะกลายเป็นประเด็นยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการกระตุ้นคนที่เพิกเฉยไม่ใส่ใจเรื่องราวรอบตัว ให้หันมาสนใจเรื่องราวที่กำลังถูก "แบน" อีกด้วย


แม้การดำเนินนโยบายเช่นนี้ของรัฐบาลจะทำให้คนบางกลุ่มมีความเชื่อมั่นว่า รัฐ ไทยจะสามารถควบคุมระลอกคลื่นจำนวนมหาศาลอันทรงพลานุภาพแห่งการวิพากษ์, การเสียดสีเหน็บแนม และการเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งซ่อนแฝงอยู่นอกเหนือไปจาก "เส้นขอบฟ้า" (ขอบเขตความรู้หรือประสบการณ์ในการทำความเข้าใจโลก) ของสังคมไทยเอาไว้ได้


แต่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกลับไม่เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะบรรลุผลสำเร็จมิหนำซ้ำ มันยังอาจเป็นตัวการกร่อนเซาะทำลายความน่าเชื่อถือของหลาย ๆ สถาบันสำคัญในสังคมไทยเสียเอง


ฟาร์เรลลี่ปิดท้ายบทความชิ้นนี้ว่า เป็นที่แน่ชัดว่าการไหลเวียนแพร่หลายของ "เนื้อหาต้องห้ามผิดกฎหมาย" ทางสื่ออินเตอร์เน็ตยังจะดำเนินต่อไป และอาจมีอัตราในการส่งต่อที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่าสงสัยเหลือเกินว่า ถึงที่สุดแล้วรัฐบาลไทยชุดนี้จะต้องการ "ลูกเสืออินเตอร์เน็ต" จำนวนมากมายมหาศาลสักเพียงไหนมารับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น?

                               http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278163660&catid=02



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น