ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

'ดีเอสไอ' จ่อจับ 'นายกสมาคม' แอบอ้างมูลนิธิ มิราเคิล ออฟฯ

ดีเอสไอเตรียมออกหมายจับนายกสมาคมดัง แอบอ้วงชื่อมูลนิธิ มิราเคิล ออฟ ไลฟ์ หลอกชาวบ้านตุ๋นเงินไปกว่า 100 ล้านบาทเผยทำสัญญากับผู้จัดหาสินค้า อ้างนำสินค้าที่สั่งไปแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมอบรมโครงการฯ ให้เหยื่อวางเงินสดร้อยละ 1 จากยอดสินค้าที่จะจัดส่งให้  สุดท้ายไม่ได้นำสินค้าแจกจ่ายอย่างที่โฆษณาไว้

ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) วันที่ 15 มิ.ย. น.ส.จุฑาวดี วิรัตน์ประเสริฐ  พร้อมด้วยตัวแทนผู้เสียหายกว่า 10 คน เดินทางเข้าติดตามความคืบหน้ากรณีร้องเรียนว่าถูกสมาคมแห่งหนึ่ง หลอกทำสัญญาเพื่อผลิตสินค้า ระบุว่าจะนำสินค้าไปกระจายให้กับประชาชนที่เข้าร่วมอบรมตามโครงการต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) พร้อมแอบอ้างชื่อมูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้หาสินค้า โดย น.ส.จุฑาวดี กล่าวว่า  ขณะนี้ทราบว่ามีผู้เสียหายหลงเชื่อทำสัญญาจัดส่งสินค้าให้กับสมาคมดังกล่าวแล้วหลายราย ในส่วนที่รวมตัวกันร้องเรียนกับดีเอสไอมีทั้งสิ้น 29 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท 

ผู้เสียหายกล่าวต่อว่า พฤติการณ์หลอกลวงที่เกิดขึ้น นายกสมาคมดังกล่าวเป็นผู้ติดต่อ และทำสัญญากับผู้จัดหาสินค้าต่าง ๆ ที่อ้างว่าจะนำสินค้าที่สั่งไปแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมอบรมโครงการที่มีมูลนิธิมิราเคิลฯร่วมด้วย  โดยทำสัญญา 1 ปี ในสัญญาจะระบุให้ผู้สนใจวางเงินสดร้อยละ 1 จากยอดสินค้าที่จะสามารถจัดส่งให้สมาคมฯได้  พร้อมระบุว่าสินค้าจะถูกกระจายออกทั้งหมดภายใน 1 ปี แต่เมื่อเซ็นสัญญาแล้วปรากฏว่าสมาคมฯไม่ได้นำสินค้าเหล่านี้ไปแจกจ่าย ส่งผลให้ผู้จัดหาสินค้าหลายรายที่ลงทุนผลิตสินค้าไว้ไม่สามารถระบายสินค้าได้ เงินลงทุนต้องหมดไปกับสินค้าที่สั่งผลิต ส่วนบางรายที่ส่งสินค้าได้บางส่วนกลับไม่ได้รับเงินค่าสินค้าเพราะเช็คเด้ง สำหรับสินค้าส่วนใหญ่ที่สั่งทำไว้แจกจ่าย เช่น ผ้าห่ม ข้าวสาร ปุ๋ย ยารักษาโรค รองเท้าบู๊ต  

พ.ต.ท.สุริยา สิงหกมล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เบื้องต้นเจ้าหน้าที่วางแนวทางสอบสวนแยกเป็น 2 คดี คือ ฉ้อโกงประชาชน และการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยคิดดอกเบี้ยสูงกว่าที่สถาบันการเงินกำหนด พฤติการณ์ความผิดคล้ายแชร์ลูกโซ่ แอบอ้างมูลนิธิมิราเคิลฯไปหลอกลวงประชาชน โดยในสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวนจะเรียกพยานปากสำคัญเข้ามาให้การ และช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้ ดีเอสไอจะขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาต่อไป.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น