ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักข่าวพลเมือง: เปิดหลักสูตรรู้ทันสื่อในอีสาน หวังยกมาตรฐานประชาชนให้เหนือสื่อ

นักข่าวพลเมือง: เปิดหลักสูตรรู้ทันสื่อในอีสาน หวังยกมาตรฐานประชาชนให้เหนือสื่อ

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดหลักสูตรรู้ทันสื่อในอีสาน ป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็น "เหยื่อ" 

หรือได้รับผลกระทบจากการนำเสนอเนื้อหาสาระของสื่อ

 

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา โรงแรมธนินธร  กรีนปาร์คร้อยเอ็ด : ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน  เมื่อวันที่ 14-15 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา  หวังสร้างความตื่นตัว  รู้เท่าทันและเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้านสื่อ  ทั้งการโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงจนถึงขั้นหลอกลวงประชาชนที่มีอยู่มากมายในปัจจุบันนี้  หรือการละเมิดสิทธิบางอย่างที่สื่อมีการก้าวล่วงทั้งความเป็นส่วนตัวและสิทธิอันชอบธรรมทางกฎหมาย  ซึ่งหลังจากผ่านการอบรมครั้งนี้แล้วจะสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้

สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม มีทั้งนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด (เทคนิค,ราชภัฏร้อยเอ็ด) เครือข่ายสมาคมผู้บริโภคจังหวัดร้อยเอ็ด  และเครือข่ายจากจังหวัดมหาสาคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร รวม 50 คน  พวกเขาจะได้เรียนรู้ประโยชน์ โทษ และปัญหาการละเมิดสิทธิของสื่อ 6 ประเภทที่ผู้บริโภคเคยประสบคือ วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี ฟรีทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอินเตอร์เน็ต  ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาได้เมื่อพบเจอกับสถานการณ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น กรณีสาวสีลม กรณีสาวซีวิค ข่าวการข่มขืนผู้หญิงบนรถไฟ ในประเด็นด้าน พฤติกรรม ภาษา ภาพ เสียง ที่รุนแรงหรือไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซ้ำเติมความทุกข์ของเหยื่อ  บทเรียนจากละครดอกส้มสีทอง เอ็มวีสวรรค์เบี่ยง เอ็มวีน้ำผึ้งขมในประเด็นด้านเพศ การแต่งกาย เน้นสัดส่วน สัมพันธภาพทางเพศ หรือการโฆษณาแฝงในรายการเกมส์โชว์ ละครซิทคอม  เป็นต้น

การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในรูปของพลังประชาชนเช่นนี้ เป็นทางออกที่สำคัญซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็น "เหยื่อ" หรือได้รับผลกระทบจากการนำเสนอเนื้อหาสาระของสื่อในด้านที่มีพิษภัยได้ง่ายเกินไป จึงได้มีการจัดตั้งเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชนในระดับภูมิภาคขึ้น 10 จังหวัด ในพื้นที่ 5 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ 2 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง เชียงราย  , ภาคใต้  2 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง  , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  2 จังหวัดได้แก่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด , ภาคกลางและตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี ตราด และ ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี และราชบุรี

 http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35514


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น