ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์โครงการอบรม "ศิลปะแห่งการดำเนินชีิวิต : มรณานุสติแบบทิเบต" วันเสาร์ที่ 30 กค. 2554


จาก: Jivita Sikkha <jivitasikkha@gmail.com>
วันที่: 24 มิถุนายน 2554, 11:57
หัวเรื่อง: ประชาสัมพันธ์โครงการอบรม "ศิลปะแห่งการดำเนินชีิวิต : มรณานุสติแบบทิเบต" วันเสาร์ที่ 30 กค. 2554
ถึง:


เรียน ท่านผู้สนใจ

ขอประชาสัมพันธ์มายังท่านผู้สนใจในการอบรมหัวข้อ

"ศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต : มรณานุสติแบบทิเบต"

ขออภัยหาก mail นี้รบกวนท่าน
กรุณาแจ้งยกเลิกรายชื่อจาก Mailing list ได้ที่ jivitasikkha@gmail.com

หากเห็นว่าหัวข้อการอบรมเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆ
กรุณาส่งประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสม

กราบขอบพระคุณค่ะ




ชีวิตสิกขา เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิพันดารา
จัดอบรม "ศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต : มรณานุสติแบบทิเบต"

ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ถนนวิภาวดีรังสิต
วันเสาร์ที่  ๓๐ กรกฎาคม  ๒๕๕๔    เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.
***********************************

"ความชรามีอยู่ในความหนุ่ม   ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค
ความตายมีอยู่ในชีวิต"


พระพุทธวจนะ

อนิจจังหรือความไม่เที่ยง เป็นแก่นของหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
การเรียนรู้และเข้าใจชีวิตว่าเป็นสิ่งเปราะบางนั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก
เนื่องจากการรับรู้ว่าชีวิตนี้สั้นนัก
และความตายนั้นต้องมาเยือนอย่างแน่นอน
เมื่อยอมรับอย่างถึงก้นบึ้งของจิตใจ   จะทำให้เกิดแรงจูงใจ
มีปัญญาและศรัทธาที่จะเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติธรรมว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำในทันทีโดยมิชักช้า
 มีความเพียรและความอดทนในการที่จะฝึกฝนสติ เพื่อการละวาง ถอดถอน
จากความยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวงเสียตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่

               "ความตายเป็นข้อจำกัดของชีวิต  แต่ความหวัง
ความรักและความกรุณา ไม่มีข้อจำกัด"

คำสอนเรื่องการเตรียมตัวตายหรือการเจริญมรณานุสติ
เป็นมงคลชีวิตอันสูงส่งที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญให้พิจารณาอยู่ทุกขณะ
ในคำสอนของพุทธศาสนาวัชรยาน มีคำสอนอันโดดเด่นจาก
'คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต'         (The Tibetan Book of the Dead)
ท่านเชอเกียม ทรุงปะ ริมโปเช ได้อธิบายว่า
การตายมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตอยู่  ด้วยเหตุนี้
จึงสามารถเรียกใหม่ได้เช่นกันว่า 'คัมภีร์ชาตศาสตร์แห่งทิเบต' (The
Tibetan Book of Birth)
คัมภีร์ที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างลึกซึ้งเพื่อผู้ปฏิบัติธรรม
อันจะให้แง่คิด ไม่เพียงการเตรียมตัวเพื่อเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบ
และสันติสุข  รวมถึงความเข้าใจในเรื่องของจักรวาล
อันเป็นการมองสิ่งแวดล้อมทั้งหลายว่า เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น
ทั้งยังเป็นเครื่องเตือนใจชวนให้คิดถึงที่เหลืออยู่  ให้ใช้ชีวิตอย่างมี
เมตตา กรุณา มากขึ้น โดยไม่มีที่สิ้นสุดแก่ทุกๆ สรรพชีวิตในทุกภพภูมิ

ภาวะเจ็บป่วยทางร่างกายที่เกิดขึ้นไม่เพียงต้องการ
การดูแลเยียวยาทางกายภาพที่ดีและเหมาะสมกับโรคเท่านั้น
หากยังต้องการองค์ประกอบร่วมทั้งทางด้านจิตใจ สังคมและปัญญา
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างมีสุขภาวะที่ดีและสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เพราะถึงแม้ทางกายภาพอาจจะไม่สมบูรณ์ แต่ศักยภาพทางด้านจิตใจและปัญญา
ยังสามารถพัฒนาได้ไปจนถึงขั้นสูงสุด ทั้งในขณะเจ็บป่วย ขณะกำลังจะตาย
รวมถึงช่วงขณะหลังจากการตาย
ดังนั้นทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเองต่างก็ต้องการความรู้
ความเข้าใจ และทัศนคติในการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
เพื่อให้สามารถวางใจได้ว่าแม้กายจะป่วยแต่ใจไม่ป่วยเลย
ถอดถอนจากผู้เป็นทุกข์ สู่ผู้เห็นทุกข์
จวบจนกระทั่งสามารถสร้างเหตุปัจจัยในการที่จะเผชิญกับช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำคัญที่สุดของชีวิตอย่างเกื้อกูล
และเต็มศักยภาพของการเกิดเป็นมนุษย์ ที่ได้พบพระพุทธศาสนา

ขอเชิญท่านที่มีจิตปรารถนาการเรียนรู้  ดุจดังภาชนะที่สะอาดและว่างเปล่า
ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันกับมูลนิธิพันดารา และ เครือข่ายชีวิตสิกขา
เพื่อฝึกฝนการละกิเลส
ทำภาวนาร่วมไปกับกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจความจริงของชีวิต
และรับธรรมะในการวางใจเพื่อรับมือกับความพลัดพรากที่กำลังจะปรากฏกับทุกชีวิต

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรมสามารถบริจาคเข้ามูลนิธิพันดาราและเครือข่ายชีวิตสิกขา
ได้ตามกำลังศรัทธา

การเตรียมตัว   แต่งกายสวมใส่เสื้อผ้าสบายและสะดวก ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดขาว
หมายเหตุ  ทางเจ้าภาพจัดเตรียมอาหารกลางวัน (มังสวิรัติ) เครื่องดื่ม
และของว่างตลอดการอบรม
****************************************************************************************
                                ส่งใบลงทะเบียนได้ที่ jivitasikkha@gmail.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ครูอ๊อด โทร. 084-643-9245 ,   คุณณัฐ
โทร 086-783- 3324


ศิลปะแห่งการดำเนินชีวิต : มรณานุสติแบบทิเบต
เครือข่ายชีวิตสิกขา ร่วมกับ มูลนิธิพันดารา
ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ถนนวิภาวดีรังสิต
วันเสาร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔     เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.
๐๘.๓๐-๐๙.๐๐     ลงทะเบียน เปิดการอบรมและปฐมนิเทศ
๐๙.๐๐-๑๑.๓๐     ฝึกลมหายใจแบบทิเบต  เพื่อกายและใจพร้อมสำหรับการเรียนรู้
                           เสวนาธรรม เรื่อง 'มรณานุสติแบบทิเบต'
                           โดย รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และ
อ.เยินเต็น (มูลนิธิพันดารา)
                                 - การภาวนาถึงความเป็นอนิจจัง
                                 - ความตายและการตายในพุทธศาสนาวัชรยาน
                                 - ความเข้าใจเรื่องธาตุ และชีวิต
๑๑.๓๐-๑๒.๓๐   พิจารณาอาหารกลางวัน
๑๒.๓๐-๑๔.๓๐  ปุจฉา - วิสัชนา เรื่อง  'คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งทิเบต'
                             โดย รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ และ อ.เยินเต็น
                              ดำเนินรายการโดย  วรรณวิภา มาลัยนวล (ครูอ๊อด) และ
                                                             กกกร
เบญจาธิกุล (คุณโก้) เครือข่ายชีวิตสิกขา
                                -  บาร์โดคืออะไร ,โอกาสแห่งการหลุดพ้นจากบาร์โด
                                -  ตายแล้วไปไหน ?  ตายดีเป็นอย่างไร ?
 หลับแล้วตายไปเลยดีหรือไม่ ?
                                -
กุศลกรรมท่ามกลางความเจ็บป่วยแบบทิเบต  ทำกันอย่างไร ?
                                -  กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
และการปฏิบัติธรรมในการดำเนินชีวิตของพุทธวัชรยาน
                                -   ฯลฯ
๑๔.๓๐-๑๗.๐๐     กิจกรรม 'คลินิกสุขใจ'  โดย ธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ครูดล)
ประธานเครือข่ายชีวิตสิกขา
                             พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
'อาสาข้างเตียง' กับผู้ป่วยระยะสุดท้าย

                                                              _/l\__/l\__/l\__

หมายเหตุ : โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

--
http://jivit.net
ร่วมเป็นแฟนคลับกับชีวิตสิกขาลัย ในเครือข่ายชีวิตสิกขาได้ที่
http://www.facebook.com/pages/Jivita-Sikkhalay-Club/324767881811?v=wall

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น