ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

16 องค์กรสื่อและประชาสังคม เปิดตัวคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน

 
« on: March 30, 2011, 03:59:33 PM »

Permalink: 16 องค์กรสื่อและประชาสังคม เปิดตัวคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน


แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2011 เวลา 10:17 น. เขียนโดย Administrator วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2011 เวลา 09:24 น. 

ผู้บริโภคผนึกกำลังนักวิชาการ เปิดตัวคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความตื่นตัว รู้เท่าทันสื่อ และร่วมรณรงค์ให้มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิตสื่อที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม  

วันนี้ (29 มีนาคม 2554) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงข่าวเปิดตัว การจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน เพื่อให้เป็นกระจกสะท้อนถึงสื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภคอย่างจริงจัง และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการนำเสนอข่าวสารที่เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภคสื่อ

โดยนางสุวรรณา ได้เปิดเผยว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายภาคส่วนของสังคม รวม 16 องค์กร ประกอบด้วย เครือข่ายประชาสังคมด้านเด็กและเยาวชน เครือข่ายด้านสตรี เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค นักวิชาการ และสภาวิชาชีพด้านสื่อ 4 องค์กร  

นางสุวรรณา กล่าวถึงเหตุผลที่ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชนขึ้น เนื่องจาก ปัจจุบันผู้บริโภคยังประสบปัญหา การละเมิดสิทธิที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่างๆที่ไม่เป็นจริง ไม่ครบถ้วนนำไปสู่การซื้อ-ใช้สินค้าหรือบริการที่ไม่เหมาะสม สิ้นเปลืองเงินทอง  เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการนำเสนอข่าวอาชญากรรม  ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี สิทธิเด็กและเยาวชน จากการนำเสนอเนื้อหาละครข่าวสารด้วยความรุนแรง หยาบคาย ลามก นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาแฝงในรูปแบบต่างๆ  โดยเฉพาะบทความเชิงโฆษณาที่ครอบงำความคิดประชาชน
ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้บริโภคสื่อเอง ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำงานของสื่อที่ถูกต้องเหมาะสมตามกรอบของจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ขาดความตื่นตัวในการปกป้องสิทธิของตนเอง จึงทำให้ถูกละเมิดสิทธิจากสื่อทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชนขึ้น ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ และที่กรรมการพิจารณาเห็นว่าเป็นผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ตรวจสอบติดตามการทำงานของสื่อ ร้องเตือนประชาชนเมื่อมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ไม่เหมาะสม พร้อมกับสะท้อนความคิดหรือข้อร้องเรียนของประชาชนกลับไปยังสื่อและสภาวิชาชีพด้านสื่อ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขการผลิตสื่อให้มีทิศทางที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

"กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน จะทำหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความตื่นตัว รู้เท่าทันสื่อ  และร่วมรณรงค์ให้มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิตสื่อที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชนในระดับพื้นที่นำร่อง ประกอบไปด้วยเครือข่ายผู้บริโภครวม 11  จังหวัดในพื้นที่ 5 ภาค คือ นอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังประกอบด้วย ภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง เชียงราย  , ภาคใต้  ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง  , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด , ภาคกลางและตะวันออก ได้แก่ สระบุรี ตราด และ ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในรูปของพลังประชาชนเช่นนี้ นับเป็นทางออกที่สำคัญซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็น เหยื่อ หรือได้รับผลกระทบจากการนำเสนอเนื้อหาสาระของสื่อในด้านที่มีพิษภัยได้ง่ายเกินไป" นางสุวรรณา กล่าว 

นางสุมณฑา ปลื้มสูงเนิน เครือข่ายเยาวชนเพื่อการพัฒนนา กล่าวว่าเด็กถือเป็นผู้บริโภคสื่อที่ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะทีวี อินเทอร์เน็ต เคยสำรวจการดูโทรทัศน์ของเด็กในช่วงวัดหยุดในช่วงปิดเทอมและวันเสาร์อาทิตย์ พบว่าเด็กดูทีวีถึง 15 – 17 ชั่วโมง

"จะเห็นว่าเด็กใช้เวลาอยู่หน้าจอโดยไม่ทำอะไรเลย ทั้งทานข้าว ทำการบ้านหน้าทีวี ซึ่งเราก็พบว่าสื่อที่ส่งออกมามีความรุนแรงต่อเรื่องเพศ ซึ่งเด็กได้รับโดยตรง ในเด็กเล็กเราพบกว่าอิทธิพลของโฆษณามีผลต่อการใช้จ่ายของเด็ก เพราะจะซื้อขนมจากการดูโฆษณานั่นเอง และที่ผ่านมาไม่มีช่องทางการสื่อสารให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชนก็น่าจะเป็นกลไกที่จะเป็นช่องทางให้มี
การสื่อสารกันมากขึ้น" นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สสส..กล่าวถึงการล่วงมะเมิดทางเพศที่ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมแต่ต้องรตกเป็นข่าวนั้นยิ่งเป็นการซ้ำเติม ผู้หญิงจึงเลือกที่จะเก็บเรื่องไว้ ผู้กระทำความผิดจึงไม่ได้รับการลงโทษ สื่อน่าจะทำความเข้าใจในการเสนอข่าวด้วยเพราะจะกลายเป็นว่านอกจะถูกละเมิดไปครั้งหนึ่งแล้วกลับต้องถูกละเมิดซ้ำเมื่อมีการเสนอข่าว

"มันเป็นกระทบเหมือนน้ำซึ่งกระทบทั้งตัวเอง ญาติ ที่ทำงานอยากให้สื่อมวลชนได้รับรู้ผลกระทบตรงนี้ด้วย การมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน ก็น่าจะเป็นอีกเสียงที่ช่วยต่อสู้เรื่องนี้ ที่จะพูดคุยกับสื่อและสะท้อนต่อสาธารณะว่าเมื่อมีการนำเสนอข่าวโดยไม่ได้สนใจผลกระทบต่อบุคคลอย่างไร การที่เด็กหรือผู้หญิงถูกละเมิดแล้วออกมาเรียกร้องความยุติธรรมสื่ออาจะทำเพื่อเตือนสังคมว่าในสถานที่นั้นมีเหตุอาชญากรรมให้ระวัง ไม่ควรจะสนใจรายละเอียดของเหตุการณ์แล้วนำไปขยายความต่อ จะเป็นการขยายบาดแผลของผู้เสียหายมากกว่า" นางสาวณัฐยากล่าว

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่ากลไกการับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคด้านสื่อนั้นมีความสำคัญ เพราะที่ผ่านมายังไม่มีกลไกตัวนี้ ถึงแม้จะมีการพยายามทำมาแต่ก็ยังไม่แน่ชัด ซึ่งต้องทำหน้าที่เชื่อมระหว่างผู้บริโภคกับสื่อมวลชน ถึงมีจะมีองค์กรวิชาชีพทำอยู่บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ชัด

"มีแนวคิดว่าจะให้รัฐเข้ามาจัดการ เข้ามาลงดาบสื่อ ให้สื่อมีการปรับตัวแต่ถ้าไม่ระวังให้ดีก็อาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ สิ่งที่น่าจะกำกับสื่อได้มากกว่าก็คือพลังพลเมืองกับพลังผู้บริโภค แม้จะมีการรวมตัวกันไม่มากแต่มีการกระตุ้นสื่ออย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีใหม่ๆ อย่างสื่ออินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย ก็น่าจะช่วยสร้างพลังให้เสียงเหล่านี้ และผลักดันให้สื่อมีการปรับตัวได้ และการมีคณะกรรมการจากหลากหลายหน่วยงานก็จะสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายและหาทางออกได้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการละเมิดทางเพศ การเมือง ในระยะยาวก็น่าจะเป็นเวทีให้ทุกฝ่ายได้มาหาจุดร่วม เพื่อหากติกาในการอยู่ร่วมกันได้" นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ มีเดียมอนิเตอร์กล่าวถึงผลการศึกษาผลต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อการถูกเสนอข่าวล่วงละเมิดทางเพศว่า ผู้ถูกเสนอข่าวได้รับผลกระทบมากในการดำรงชีวิตประจำวัน เหมือนเป็นการซ้ำเติมโศกนาฏกรรมชีวิตอย่างมาก ผู้อ่านหรือผู้ดูเองเมื่อถูกนำเสนอข่าวนี้ก็รู้สึกเหมือนถูกละเมิดไปด้วย 

"สะท้อนให้เห็นว่าผู้นำเสนอข่าวไม่ว่าจะสื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ ยังมีทัศนะคติเดิมที่ต้องนำเสนอให้เห็นภาพ ให้เห็นเหยื่อ ให้เห็นฉากโศกนาฏกรรมที่ชัดเจน นี่คือลักษณะการทำงานวิชาชีพ ซึ่งการวิจัยชิ้นนี้สะท้อนว่าเป็นการทำงานที่ไม่เหมาะเพราะไม่ได้คำนึงถึงสิทธิของมนุษย์เลย"นายธามกล่าว 

นอกจากนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงโฆษณาแฝงในทีวีว่ามีมากทั้งปริมาณและรูปแบบ และมีการโฆษณาในรายการเด็กมากขึ้น และในรายการข่าว ในหนังสือพิมพ์เองก็มีการโฆษณามากขึ้นเช่นการเขียนบทความขึ้นมา หรือการให้ข้อมูลสินค้าทางการแพทย์ ภายใต้ความหลากหลายของรูปแบบโฆษณาเหล่านี้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อภาคประชาชน ก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ประชาชนได้เท่าทันสื่อโฆษณาเหล่านี้มากขึ้น และช่วยให้เรื่องร้องเรียนต่างๆเกี่ยวกับสื่อจะมีการเชื่อมโยงและประสานงานกับหน่วยงานต่างได้มากขึ้นอนึ่งประชาชนสามารถร่วมเป็นหนึ่งในการจับตาและเฝ้าระวังสื่อโดยส่งข้อมูลมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โทรศัพท์ 022483737 โทรสาร 022483733 หรือ "เฟสบุ๊คซอกแซกสื่อ"  หรือส่งเรื่องมาที่ http://e-mouth.consumerthai.org

สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง
เชษฐา มั่นคง (ท่อม)
มือถือ 085-326-2980 /02-433-6292
http://www.iamchild.org

http://mediamonitor.in.th/home/forum/b3/16-810/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น