ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“มติชนออนไลน์” แฉ “พ.อ.สรรเสริญ” แอบอ้างบทกวี "นเรศ นโรปกรณ์" เป็นงานของ ร.6 แถมอ่านผิดอ่านถูก


"มติชนออนไลน์" แฉ "พ.อ.สรรเสริญ" แอบอ้างบทกวี "นเรศ นโรปกรณ์" เป็นงานของ ร.6 

แถมอ่านผิดอ่านถูก

มติชนออนไลน์แฉโฆษกกองทัพบกมั่วบทกวี "เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้งฯ" เป็นพระราชนิพนธ์ ร.6 เผยที่จริงเป็นบทกวีของ "นเรศ นโรปกรณ์" นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญและอดีตกบฏสันติภาพ แถมเวอร์ชั่นที่ พ.อ.สรรเสริญ อ่าน มีหลายท่อนที่เพี้ยนจากต้นฉบับเดิม
ตามที่เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกแถลงข่าวยืนยันว่า "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์จะออกรายการพิเศษทางช่อง 5 และช่อง 7 นั้น
ล่าสุด มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (16 มิ.ย.) พาดหัวว่า "พ.อ.สรรเสริญ ปล่อย "ไก่อู" อ้างพระราชนิพนธ์ ร.6 "เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง"แท้จริงเป็นบทกวีแบบกาพย์ยานี 11 ของ "นเรศ นโรปกรณ์" เนื้อหาระบุว่า ในวันที่ พ.อ.สรรเสริญ แถลงข่าวดังกล่าวได้อ่านบทกลอนบทหนึ่งด้วยโดย พ.อ.สรรเสริญ อ้างว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6
โดย พ.อ.สรรเสริญ อ่านกลอนบทดังกล่าวว่า
"เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง ฤๅจะมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดกระนั้นฤๅ
แท้จริงเจ้าควรคิด จงตั้งจิตและยึดถือ
รับใช้ชาติไทยคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน"

และยังกล่าวย้ำว่า "ทุกคนที่เป็นทหารยึดมั่นใจเจตนารมณ์อันนี้มาโดยตลอด"
อย่างไรก็ตาม มติชนออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า กลอนดังกล่าวไม่ใช่พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 แต่เป็นบทกลอนของ "นเรศ นโรปกรณ์" นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งแต่งไว้ช่วงปี พ.ศ. 2495 ต่อมารัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กวาดล้างทางการเมืองครั้งใหญ่ นเรศก็ถูกจับในข้อหากบฏและกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
โดยนเรศ แต่งกลอนบทนี้ในช่วง "สายลมแสงแดด" ใช้นามปากกาว่า "มนู นโนรมย์" ซึ่งนักศึกษาสมัยนั้นไม่สนใจเรื่องราวทางสังคม ทั้งที่ประเทศชาติเป็นเผด็จการ เขาจึงแต่งกวีบทนี้ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของนักศึกษา มติชนออนไลน์ ได้ตีพิมพ์เนื้อหาที่ถูกต้องของกลอนดังกล่าวด้วยคือ
"เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง หรือจะมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤๅ
แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน"
โดยมติชนรายงานว่า ท่อนที่ พ.อ.สรรเสริญ อ่านว่า "แท้จริงเจ้าควรคิด" และ "รับใช้ชาติไทย" ที่จริงคือคำว่า "แท้ควรสหายคิด" และ "รับใช้ประชา" โดยที่ใช้สองคำดังกล่าวเป็นเป็นบทกวีของ "ฝ่ายซ้าย"

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า นเรศ นโรปกรณ์ หรือชื่อเดิม สิงห์ชัย มังคนรา เกิดเมื่อ 1 กรกฎาคม 2473 ที่ จ.สุรินทร์ ก่อนเข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิชานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เคยถูกจับในกรณีกบฏสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2495 พร้อมกับนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์หลายคน
นเรศ นโรปกรณ์ ถือเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และกวีชื่อดังในช่วงทศวรรษ 2500 เคยทำงานที่สยามรัฐรายวัน และเขียนบทความ "กงล้อการเมือง" ผลงานที่สร้างชื่อคือเขียนคอลัมน์ "สาวเอยจะบอกให้"
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ตามมาด้วยการทำรัฐประหารของ พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ มีการประกาศปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ จากนั้นมีการตั้งคณะกรรมการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาเงื่อนไขการอนุญาตให้ออกหนังสือพิมพ์
จากนั้นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องไปรายงานตัวเพื่อรับเงื่อนไขการออกหนังสือพิมพ์ โดยคณะกรรมการได้ตั้งเงื่อนไขสำหรับหนังสือพิมพ์ที่จะออกต่อไปว่า จะต้องห้ามนักหนังสือพิมพ์บางคนในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับทำงานในหนังสือพิมพ์ต่อไปอีก โดยมีนักเขียน นักหนังสือพิมพ์หลายคนที่ถูกห้าม  เช่น มานิจ สุขสมจิตร สมบูรณ์ วรพงษ์ สุวัฒน์ วรดิลก เป็นต้น รวมทั้ง "นเรศ นโรปกรณ์" ที่ถูกห้ามเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เดลิไทม์
สำหรับนเรศ นโรปกรณ์เสียชีวิตในวัย 79 ปี ด้วยโรคปอดติดเชื้อ เมื่อ 8 มี.ค. ปี 2552 ที่ จ.จันทบุรี
http://www.prachatai.com/journal/2011/01/32697

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น