วันที่: 20 ธันวาคม 2554, 12:29
หัวเรื่อง: บทสัมภาษณ์ : เปิดใจ"ประวิช"ผู้ตรวจการแผ่นดินคนใหม่ ชงแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลดความขัดแย้งการเมือง
ถึง:
กิตติยา โสภณโภไคย
นักวิชาการอาวุโสระดับสูง
สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
' 0 2141 9277 7 0 2143 8373
รายละเอียดข่าว
เปิดใจ"ประวิช"ผู้ตรวจการแผ่นดินคนใหม่ ชงแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลดความขัดแย้งการเมือง
วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:33:00 น
หลังจากการประชุมวุฒิสภามีการประชุมเพื่อโหวตเลือกผู้ที่ได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน ชื่อ "ประวิช รัตนเพียร" ได้รับคะแนนเสียง 109 ต่อ 4 งดออกเสียง 2 คะแนน
"ประวิช" เล่นการเมืองมาตั้งแต่ ปี 2531 ยุค พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี
เป็นศิษย์เก่า เซนต์คาเบียล รุ่นเดียวกับ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรี 2 สมัย เคยเป็นผู้แทนการค้าไทย
ธุรกิจครอบครัวคือ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตและโรงเรียนสองภาษาแห่งใหม่
เป็น ส.ส. คนหนึ่งที่เคยผ่านการ "รัฐประหาร" 2 ครั้งล่าสุด ตั้งแต่ รสช. ปี 2535 จนมาถึงยุคคมช. 2549
"ครั้งแรกที่ผมโดนปฎิวัติ ผมเล่นการเมืองต่อเพราะสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ชวนไปอยู่พรรคการเมืองใหม่ของพล.อ. ชาติชาย คือพรรคชาติพัฒนา แต่ครั้งล่าสุดผมไม่ไหวขอยุติบทบาททางการเมืองเพียงเท่านี้"
ก่อน "ประวิช" จะลั่นวาจาว่า 6 ปีจากนี้ จะทำงานผู้ตรวจการแผ่นดินให้ดีที่สุด เป็นงานสุดท้ายก่อนวางมือ
ใครมาชวนให้เล่นการเมืองอีกก็ไม่ไปแล้ว รอบนี้ผมใจแข็ง(ครับ)
สุดสัปดาห์นี้ "ประวิช" เพื่อน "สุวัจน์" ได้ให้สัมภาษณ์กับ "มติชนออนไลน์" ดังนี้
ทำไมถึงอยากมาเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน
ตอนนั้นผมคิดอยู่นานว่า อยากจะช่วยเหลือประชาชนต่อ แต่แน่นอนก็ต้องยุติบทบาททางการเมือง นึกอยู่นานว่าจะนำความรู้ที่มีมาช่วยเหลือประชาชนอย่างไร ก็เลยได้คำตอบว่า มาอยู่องค์กรอิสระที่คอยรับเรื่องร้องทุกข์จากพี่น้องประชาชนดีกว่า ก็เลยเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดิน
ผู้ตรวจการฯ ไม่มีดาบ เป็นแค่เสือกระดาษ เสนอแต่เปเปอร์ ทำอะไรได้
ผมยอมรับครับว่าที่ผ่านมา ภาพของผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีแต่คอยส่งรายงาน ยื่นแผ่นกระดาษไม่มีอำนาจอื่นใด สั่งการอะไรก็ไม่ได้ แต่เรารู้บทบาทของตัวเองว่า บทบาทของเราคือ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างภาคประชาชนในการร้องเรียนปัญหากับภาครัฐ ดังนั้นสิ่งที่เราทำก็คือให้ประชาชนสามารถติดต่อหรือยื่นข้อร้องเรียนกับเรา ให้ง่ายและสะดวกขึ้น แล้วโครงสร้างของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ออกแบบให้รับเรื่องร้องเรียน จากประชาชนมาตั้งแต่ต้น ซึ่งองค์กรลักษณะแบบนี้ก็เป็นองค์ที่มีทั่วโลก
เดี๋ยวนี้ลักษณะการถ่วงดุลอำนาจระหว่างนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารจะห่าง กัน ไม่ยุ่งเกี่ยวกันมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีองค์กรอิสระที่ไม่ฝักฝ่ายใดทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้อง เรียนจากประชาชนแทนอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการแต่งตั้งทนายให้มีความยุ่งยาก ไม่ต้องเขียนแบบฟอร์มให้เสียเวลา แต่สามารถยื่นเรื่องโดยการโทรสายด่วน 1676 หรือส่งจดหมาย หรือมายื่นเรื่องได้โดยตรง
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของผู้ตรวจการฯ ว่าทำงานคุ้มค่าภาษีประชาชนคืออะไร
ความพึงพอใจของประชาชนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเฉพาะหน้ามากที่ สุดเพราะว่าประชาชนจะบอกต่อหน้าเราได้อย่างชัดเจน เคยมีการสำรวจจากประชาชนเลยว่า องค์กรอิสระองค์กรไหนที่พึ่งได้ในการรับเรื่องร้องเรียน ช่วยเหลือประชาชน องค์กรของเราก็ได้เป็นอันดับหนึ่ง โดยได้คะแนนถึงร้อยละ 60 แต่นั่นไม่ใช่จุดที่ผมใฝ่ฝัน ที่ผมใฝ่ฝันคือ การที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีข้อเสนอไปยังสภาแล้วดูว่ามีกี่เรื่องที่ ได้รับการแก้ไขจริงๆ จนนำไปสู่ความพึงพอใจของพี่น้องประชาชน
ผู้ตรวจการฯ มี 3 ท่าน แบ่งงานกันทำอย่างไร
กฎหมายรัฐธรรมนูญออกแบบให้ทั้ง 3 คนนี้ทำงานอิสระต่อกัน ไม่ใช่รูปของคณะกรรมการ แต่ก็มีการเลือกประธานกันเองซึ่งก็มีบทบาทแค่ลงนามบังคับใช้กฎระเบียบต่าง ๆหรือเป็นตัวแทนของสำนักงานในการร่วมรัฐพิธี แต่ในการทำงานนั้นแยกออกจากกัน โดยการแบ่งงานในเบื้องต้น ถ้าเป็นคำร้องที่มีต่อหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจหรือสำนักงานในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จึงมีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด คนที่ดูแลจะเป็น "ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ" ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นผู้ดูแล
ส่วน "ศ.ศรีราชา เจริญพานิช" จะดูแลเรื่อง เกี่ยวกับการเวนคืนที่ดิน ผังเมือง ป่าสงวน สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องที่ท่านกำลังทำอยู่และโดดเด่นมากๆ คือ กรณีวังน้ำเขียวซึ่งจะมีการคุยกันในวันที่ 5 เดือนหน้า ในส่วนผมที่มาน้องใหม่นั้นจะดูแลเรื่อง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งดูเหมือนผมจะทำเยอะ แต่จริงๆ แล้วไม่เยอะเลย ผมจึงต้องรับบทบาทสำคัญซึ่งเป็นพันธกิจใหม่ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินคือ เรื่องจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำหน้าที่แก้ไขหรอกนะครับ แต่คอยเป็นแกนกลางในการรับฟังเสียงต่างๆ รวมถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ ข้อดี ข้อเสียของกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งของปี 2540 กับ ปี2550
หยิบเรื่องรัฐธรรมนูญมาเป็นประเด็นทีไรทะเลาะกันทุกที พวกหนึ่งก็เอาฉบับปี 40 อีกพวกก็เอาปี 2550
นั่นแหละครับมันถึงต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานในการรวบรวมข้อดี-ข้อเสีย ของรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ปี เอามาเปรียบเทียบกันชัดเป็นข้อๆ เลย ซึ่งเรามีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว อีกทั้งก็มีหลายหน่วยงานที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่ จึงไม่ต้องเสียเวลาไปทำวิจัยให้เสียงบประมาณ ในส่วนที่สองนั้นเราทำก็คือ การรวบรวมความเห็นของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักกฎหมายต่างๆ ที่มีต่อรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ ในส่วนสุดท้ายก็คือข้อเสนอของเราเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการ รวบรวมข้อมูลของสองส่วนแรก
มีธงอยู่ในใจหรือไม่ว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไม่มีครับ หน้าที่ของเราคือทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล เพื่อทำรูปเล่มเป็นอีกข้อเสนอหนึ่งเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมมองว่าสิ่งที่เราทำอยู่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล ข้อวิจารณ์ที่เป็นเหตุผล เป็นงานวิชาการในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะเป็นรายงานที่ใช้เพื่อ เป็นแหล่งอ้างอิงของคนที่จะใช้เพื่อเป็นเหตุผลในการแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ ก็ได้ ควรการตัดสินใจคงอยู่ที่อำนาจนิติบัญญัติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้งเป็นเรื่องประโยชน์นักการเมือง เป็นรัฐธรรมนูญที่กินไม่ได้
อย่าลืมนะครับว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็มาจาก สสร. ที่มาจากภาคประชาชน ดังนั้นจะบอกว่าเป็นประโยชน์ของนักการเมืองฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ อีกทั้งองค์ประกอบรัฐธรรมนูญทั้งของปี 2540 และ ปี 2550 ก็มีหลายมาตราที่ออกมาเพื่อคอยตรวจสอบการทำงานของภาคการเมืองโดยเฉพาะ องค์กรที่เป็นกลางก็เกิดจาก รัฐธรรมนูญปี 2540 หลายองค์กรก็มาจากตัวแทนภาคประชาชน
ผู้ตรวจราชการมี "สี" ไหม
มีไม่ได้ครับ ไม่งั้นทำงานยาก เราต้องมองประชาชนให้เท่าเทียมกัน ไม่มองว่า คนนั้นคนนี้ฝักใฝ่ฝ่ายไหน ไม่เลือกข้างในการรับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่านักการเมืองฝ่ายไหนมาสะกิด ให้ช่วยเหลืออะไร ผมขอบอกว่า ผมใจแข็งครับ
คนทั่วไปมองว่า คุณยังมีภาพของนักการเมือง
ยอมรับว่าผู้คนอาจจะคิดได้เพราะผมอยู่ในวงการเมืองมาเป็นเวลามานาน แต่หลังจากปี 2549 ผมก็ไม่ยุ่งเกี่ยว ไม่ข้องแวะใดๆ ทางการเมืองอีก ซึ่งก็ตรงตามกติกาของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินเพราะต้องไม่ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 3 ปี ใครมาสะกิดชวนไปลงส.ส. ก็ไม่ขอไปลงเลือกตั้งอีก ใจแข็งครับ ผมขอยืนยัน
เป็นนักการเมืองกับเป็นผู้ตรวจฯ อะไรดีกว่ากัน
แตกต่างครับ เพราะทำงานการเมืองต้องอิงอยู่กับนโยบายของพรรคซึ่งมันก็มีข้อจำกัดอยู่ใน ตัวเอง แต่ถามว่าอยู่ตรงไหนมีความสุขมากกว่ากัน ผมตอบได้เลยว่า การมานั่งอยู่จุดนี้ผมมีความสุขมากกว่าเพราะไม่ต้องไปกังวลกับนโยบายของ รัฐบาล ไม่ต้องกังวลว่า เรื่องที่ทำอยู่นั้นจะมีผลกระทบต่อพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ มาอยู่จุดนี้ สิ่งที่ผมคำนึงอย่างเดียวคือ พี่น้องประชาชน
ปีหน้า 2555 สภาพการเมือง-เศรษฐกิจ จะเป็นอย่างไรต่อไป
น่าเป็นห่วงครับ ในฐานะที่ผมเคยทำงานเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจมาก่อน มองเลยว่า ไตรมาสแรกน่าจะค่อนข้างแย่ อยากให้ประเด็นหลักของประเทศอยู่ที่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยาพี่น้องที่เดือดร้อน จะดึงภาคอุตสาหกรรมมาลงทุนในประเทศอย่างไร เพราะไม่มีใครรู้ว่าปีหน้าฝนจะตกน้ำจะท่วมรึเปล่า แต่อย่างน้อยเราควรวางแผนเยียวยากันตั้งแต่ตอนนี้
มองกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ม.112 อย่างไร
ควรแก้ไขหรือคงไว้อย่างนี้ดีแล้ว
ในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ประเทศไทยมีการปกครองแบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขดัง นั้นประเทศไทยมีความจำเป็นต้องมีกฎหมายหรือมาตรการรองรับในส่วนของเรา สังคมต้องวินิจฉัยว่า ประเทศเราไม่เหมือนใคร ไม่เหมือนประเทศอเมริกา... (หยุดคิด) หลายประเทศก็ยังมีโทษเฆี่ยนอยู่ใช่ไหมครับดังนั้นจะเอาบริบทของสังคมไทยไป วิจารณ์ก็คงไม่ได้เพราะประเทศนั้นอาจจะมองว่ากฎหมายเฆี่ยนของเขาเหมาะสมกับ สังคมก็เป็นได้
"กฎหมายมาตรานี้มันก็มีพัฒนาการมาจากการ ปกครองของเรา ประเทศไทยมีความชัดเจนอยู่แล้วว่าเรามีลักษณะเฉพาะ ไม่เหมือนใคร เพราะเราเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นหลัก" ประวิช กล่าวปิดท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น