ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

5,765 รายชื่อค้านประทานบัตรเหมืองโปแตช


 

5,765 รายชื่อค้านประทานบัตรเหมืองโปแตช


by สุนี ไชยรส on Sunday, December 18, 2011 at 6:10am

รายงานสถานการณ์ 17 ธันวาคม 2554

5,765 รายชื่อค้านประทานบัตรเหมืองโปแตช เอ็นจีโอ เผย เอพีพีซี เตรียมปั่นหุ้นขายต่อ

อุดรธานี : จากสถานการณ์การผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ล่าสุดนั้น กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร.  ได้มีการปิดประกาศเขตพื้นที่คำขอประทานบัตรดำเนินโครงการฯ  ของบริษัทเอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ เอพีพีซี  ซึ่งมีทั้งหมด 4 แปลง กินเนื้อที่กว่า 26,446 ไร่ ในพื้นที่ 5 ตำบล 2 อำเภอ ได้แก่ ตำบลหนองขอนกว้าง ตำบลโนนสูง ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง ตำบลนาม่วง และตำบลห้วยสามพาด อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี 

เป็นเหตุให้ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี  ต้องออกมาทำการล่ารายชื่อเพื่อคัดค้านการประกาศเขตคำขอประทานบัตรดังกล่าว  โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 3ธันวาคมต่อเนื่องมา ปรากฏว่ามี ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ในขอบเขตคำขอประทานบัตร ร่วมลงชื่อจำนวน 1,580 แปลง และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โครงการฯ ร่วมลงชื่อคัดค้านทั้งหมด 5,765 คน 

จนกระทั่งในวันที่ 16 ธันวาคม เวลา 11.00 น. กลุ่มอนุรักษ์ฯ ประมาณ 200 คน จึงได้นำรายชื่อทั้งหมด ไปยื่นต่อ อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี และส่งไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น กพร.  อบต. และผู้ว่าราชการ ฯลฯ ทั้งนี้ เป็นการยื่นคัดค้านตามพ.ร.บ.ว่าด้วยแร่ ปีพ.ศ.2510 ในมาตรา 49 ที่ระบุให้มีการโต้แย้งได้ตามขั้นตอน เมื่อมีการปิดประกาศเขตเหมืองแร่ เป็นระยะเวลา 20 วัน 

โดยนางมณี  บุญรอด  กรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ตำบลห้วยสามพาด ได้กล่าวถึงการล่ารายชื่อคัดค้านการประกาศเขตคำขอประทานบัตร  พื้นที่ดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช  จังหวัดอุดรธานีในครั้งนี้ว่า

"กลุ่มชาวบ้านได้เริ่มร่วมกันลงชื่อคัดค้านโครงการเหมือง  มาตั้งแต่การปิดประกาศมาแล้ว  ซึ่งมีชาวบ้านมาร่วมลงรายชื่อคัดค้านเป็นจำนวนกว่า 5,765 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากสำหรับชาวบ้านในพื้นที่ดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช ซึ่งทางกลุ่มก็ได้ทำการส่งรายชื่อทั้งหมดไปยังหน่วงงานรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และหลังจากนี้ทางกลุ่มจะยังคงติดตามสถานการณ์กันอย่างต่อเนื่อง ว่าหลังจากยื่นหนังสือและรายชื่อคัดค้านไปแล้ว หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะมีท่าทีอย่างไร" นางมณีกล่าว

ในส่วนของ นายวรากร  บำรุงชีพโชค  อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี  ได้กล่าวถึงการยื่นรายชื่อคัดค้านการประกาศเขตคำขอประทานบัตร โครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ว่า

"การทำหนังสือและรวบรวมชื่อคัดค้านของกลุ่มชาวบ้านที่ทำกันนั้น  เป็นสิ่งที่สามารถทำได้  เพราะได้ระบุไว้ในกฎหมาย  สำหรับเรื่องการประกาศเขตคำขอนั้นชาวบ้านก็มีช่องทางในการคัดค้านได้อีกช่องทาง คือ หลังจากการปิดประกาศก็จะเป็นบทบาทขององค์กรส่วนท้องถิ่น คือ อบต. และเทศบาล  ที่จะดำเนินการจัดประชาคมในพื้นที่เพื่อถามความคิดเห็นของชาวบ้านแล้วทำเป็นรายงานการประชาคมในพื้นที่ขึ้นมา  ในส่วนบทบาทหน้าที่ของอุตสาหกรรมจังหวัดนั้น  ก็มีหน้าที่ในการรับเรื่อง แล้วส่งต่อไปยังกรมอุตสาหกรรมต่อไป" นายวรากรกล่าว

ด้านนายสุวิทย์  กุหลาบวงษ์  ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ภาคอีสาน  ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าว  ต่อสถานการณ์การผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช  จังหวัดอุดรธานีในครั้งนี้ว่า  การล่ารายชื่อคัดค้านการประกาศเขตพื้นที่คำขอประทานบัตรของกลุ่มชาวบ้านในครั้งนี้  เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ตามกระบวนการทางกฎหมาย เพราะเห็นถึงข้อผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินการของ กพร. และ บริษัทโปแตช

"การล่ารายชื่อคัดค้านประกาศของชาวบ้านนั้น เป็นสิทธิของชาวบ้านที่สามารถทำได้อยู่แล้ว  เพราะระบุไว้ในกฎหมายแร่ ปี 2510 มาตรา 49 ซึ่งประเด็นการคัดค้านของชาวบ้านนั้น เพราะว่าบริษัทให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงในรายงานการไต่สวน เพื่อประกอบการขอประทานบัตร เช่น ข้อมูลลักษณะของพื้นที่ดำเนินโครงการฯ มีข้อมูลที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง พื้นที่ตั้งโรงงานจำนวน 111 ไร่ ไม่มีความเป็นไปได้สำหรับการทำเหมือง และพื้นที่ที่บริษัทขอประทานบัตรนั้น เป็นพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน จึงไม่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นต้น" นายสุวิทย์กล่าว

นายสุวิทย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "เมื่อดูรายละเอียดของขอบเขตพื้นที่ประทานบัตรแล้ว  ปรากฏว่าพื้นที่คำขอได้กินเนื้อที่ของค่ายทหารด้วย  จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดต่อประเด็นความมั่นคง  ถึงการที่จะมีการทำเหมืองใต้ดินในพื้นที่ค่ายทหาร  ซี่งชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ  ก็ได้ทำการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิฯ ให้ลงมาตรวจสอบในประเด็นนี้ด้วย  และถ้าหากมองให้ลึกมากกว่านั้น ก็เป็นที่น่าสังเกตได้ว่า  การเร่งผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช ของบริษัทในช่วงนี้  เป็นการปั่นหุ้นของบริษัทเพื่อจะขายต่อหรือไม่" นายสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

/-/-/-/

นายสมพงศ์   อาษากิจ  ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(ศสธ.)

ตู้ ปณ.14  อ.เมือง  จ.อุดรธานี  41000

 โทร.086 – 2317637     อีเมล์ : ton_mekong@hotmail.com

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น