ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

http://www.ticef.com/

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Login & Register
LinkNews
Partners
TICEF

News

หลักการและเหตุผล
ไทยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์และสืบทอดมายาวนานไม่แพ้ชาติใดในโลก อีกทั้งคนไทยมีศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์และมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลกหลายวงการ เช่น ภาพยนต์ แฟชั่น โฆษณา และ แอนิเมชั่น เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาโลก คือ การเป็นฐานรับจ้างผลิตสินค้าให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศมากกว่าที่จะสร้างสรรค์หรือพัฒนาสินค้าหรือบริการของตัวเอง ทั้งยังต้องพึ่งพาความคิดสร้างสรรค์ และมีเทคโนโลยีจากต่างประเทศค่อนข้างมาก ทั้งที่ไทยมีศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่โดดเด่นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

รัฐบาลตะหนักถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศ โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อให้ประเทศไทยนำความโดดเด่น และศักยภาพข้างต้น มาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การบริการ และการส่งออกของประเทศไทย โดยได้มีการประกาศพันธสัญญาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐิกจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากร้อยละ 12 ของจีดีพีประเทศ เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2555 ซึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ได้ดำเนินโครงการไปแล้ว เช่น โครงการต้นแบบพสกนิกรไทย "ในหลวงกับการสร้างสรรค์" โครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โครงการประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความเข้าใจเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน และโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี โครงการที่กล่าวมาข้างต้น ยังไม่สามารถผลักดันให้ไทยเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในสายตาโลกได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินโครงการมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์นานาชาติ Thailand International Creative Economy Forum (TICEF) เพื่อให้นานาชาติรู้จักว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจสร้างสรรค์

รูปแบบการจัดงาน
เป็นการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับโลกด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากล่าวปาฐกถาพิเศษ ตลอดจนเชิญผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลกมาร่วมรับฟัง มีการจัดเสวนา อธิปรายกลุ่ม โดยเชิญผู้มีชื่อเสียง ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์สาขาต่างๆ เข้าร่วม ตลอดจนมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน Creative King ซึ่งจะเป็นผลงานสร้างสรรค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นแรงบันดาลใจแก่พสกนิกรชาวไทย และนิทรรศการที่น่าสนใจจาก UNDP WIPO และ UNTAD พร้อมเปิดตัวโครงการ Thailand Planet

นอกจากนี้ จัดให้มีงานแสดงเทศกาลระหว่างประเทศ ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสาขาที่ไทยมีศักยภาพและสามารถพัฒนาควบคู่กัน เช่น การจัดเทศกาลออกแบบนานาชาติกรุงเทพ (Bangkok International Design Festival) และเทศกาลกระจายภาพและเสียงกรุงเทพ (Bangkok Broadcast 2010) เพื่อเป็การประชาสัมพันธ์ให้ต่างชาติรับรู้ศักยภาพของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย

การจัดมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระหว่างประเทศ (TICEF) นอกจากจะเป็นเวทีสำคัญที่ไทยจะได้ประชาสัมพันธ์ถึงศักยภาพความพร้อมในด้านต่างๆ ของประเทศแล้ว ยังจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย ตลอดจนฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย ด้านการท่องเที่ยว และด้านความพร้อมการจัดงานระหว่างประเทศอีกด้วย

หัวข้อการเสวนา เรื่อง "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" 4 หัวข้อ ได้แก่
1. Creative City and Community - Improving our way of living: เมือง และสังคม สร้างสรรค์พัฒนาวิถีชีวิตของเรา

2. Creative Brand and Design - Value of True Creativity: แบรนด์และดีไซน์สร้างสรรค์: คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ที่แท้จริง

3. Creative Content and Media - Delightful Sensation: สื่อและบันเทิงสร้างสรรค์: รู้สึกและสัมผัสหรรษา

4. Traditional Knowledge - Bridging the divide: ภูมิปัญญาดั้งเดิมและคอนเทนท์สร้างสรรค์ : เชื่อมการแบ่งแยก

Partners


--



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น