ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Biomedical Engineering


 
จาก: Biomedical Engineering <sarapukdee@gmail.com>
วันที่: 23 พฤศจิกายน 2553, 16:16
หัวเรื่อง: Biomedical Engineering
ถึง: 


Biomedical Engineering


เลือดบอกอายุ

Posted: 23 Nov 2010 01:07 AM PST

เลือดบอกอายุ

นึกถึงฉากบ้านพักคนชรา และมีชายสูงอายุผู้หนึ่งนอนจมกองเลือดอยู่ ซึ่งนักสืบกำลังหาร่องรอยเลือดแปลกปลอมเพราะคิดว่าจะต้องเกิดการต่อของเหยื่อกับฆาตกร ซึ่งอาจจะเป็นชายชราที่อยู่ด้วยกัน หรือพยาบาลที่ดูแลอยู่ หรือคนอื่น นักสืบได้ตัวอย่าเลือดแปลกปลอมเพียงน้อยนิด แต่หลังจากได้วิเคราะห์เลือดนั้นแล้ว ก็ปรากฏว่า ผู้ต้องสงสัยเป็นคนที่มีอายุอยู่ในช่วง 20 – 30 ปี

นี่คือตัวอย่างฉากจากนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ว่าขณะนี้ ได้มีรายงานจากนิตยสาร Current Biology [1] ว่า เราสามารถที่จะประมาณค่าอายุของคนจากเลือดของเขาได้แล้ว โดยการวิเคราะห์อย่างง่ายๆ จากหยดเลือด ถ้าการทดสอบนี้สมบูรณ์ เราก็จะได้เทคนิคทางนิติวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่จะช่วยตำรวจให้สืบสวนได้ง่ายขึ้น

การทดสอบอายุจากเลือดได้อาศัยคุณสมบัติเฉพาะจาก T-cell (เซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เอาไว้จดจำจุลชีพขนาดเล็กที่มาบุกรุกร่างกายเรา) ในขณะที่ T-cell พัฒนา บางส่วนของ DNA ของมันถูกตัดออกแล้วต่อบางส่วนกลับเข้ามาด้วยกันในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งช่วยให้มันสามารถที่จะสร้างตัวรับสัญญาณที่ผิวเซลล์จำเพาะ ที่เอาไว้ใช้ในการจดจำแบคทีเรียหรือเชื้อโรคได้หลากหลาย

นักวิจัยสามารถที่จะหาปริมาณของ DNA ที่มีรูปร่างเป็นวงกลมที่อยู่ในเลือด Manfred Kayser นักนิติวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Erasmus กล่าว เขาและเพื่อนร่วมงานได้พบว่า ปริมาณของ DNA ที่รูปร่างเป็นวงกลมในเลือดลดลง เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากว่าร่างกายเราได้ผลิต T-cell ใหม่ที่น้อยลงไปเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น เขากล่าว

นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดจากผู้คนประมาณ 200 คน ที่มีอายุตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์ จนถึง 80 ปี โดยใช้การพิสูจน์ตัวอย่างจากการใช้สาย DNA เรืองแสงที่สามารถจับกับชิ้นส่วนของ DNA ส่วนเกินใน T-cell ได้ ซึ่งทำให้สามารถที่จะวัดปริมาณของชิ้นส่วนเหล่านั้นได้สำเร็จภายในไม่กี่ชั่วโมง กลุ่มของนักวิจัยได้พบความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของชิ้นส่วนของ DNA กับอายุของคน ซึ่งมันเพียงพอที่จะบอกอายุโดยมีความคลาดเคลื่อนประมาณบวกลบ 9 ปี

มันดูเหมือนว่าจะเป็นช่วนอายุอย่างกว้างๆ แต่ว่ามันก็สามารถบอกได้ว่าผู้ต้องสงสัยอยู่ในกลุ่มวัยไหน ซึ่งมันจะช่วยตำรวจได้มากเลยทีเดียว Peter de Knijff หัวหน้าห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัย Leiden กล่าว ซึ่งตอนนี้ การใช้ตัวอย่างเลือดในการสืบสวนหาผู้ต้องสงสัยนั้น มีเพียงแค่การนำตัวอย่างเลือดในที่เกิดเหตุมาวิเคราะห์ให้ตรงกับเลือดผู้ต้องสงสัย ซึ่งจากการตรวจสอบหาอายุจากเลือด และการตรวจสอบหาสีของตาจากเลือด ซึ่งเขากำลังพัฒนาวิธีการอยู่ มันก็จะสามารถช่วยตำรวจในลดปริมาณผู้ต้องสงสัยลงมาได้มาก "มันเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วสำหรับตอนนี้"

Kayser กล่าวว่า เขาหวังว่าจะทำให้การวิเคราะห์ T-cell ให้ถูกต้องแม่ยำมากยิ่งขึ้น โดยการรวมกับรวมกับการวิเคราะห์แบบอื่นที่เขากำลังพัฒนาอยู่ และเขาก็ยังพบด้วยอีกว่า การวิเคาะห์ T-cell แบบที่เขาทำนั้น ยังคงถูกต้องแม้ว่าตัวอย่างเลือดจะถูกเก็บไว้มากกว่าปีครึ่ง ซึ่งมันก็หมายความว่า มันสามารถที่จะช่วยแก้ปัญหาคดีๆ เก่าๆ หรือแม้กระทั้งช่วยตำรวจในการพิสูจน์ทราบเหยื่อจากภัยพิบัติได้อีกด้วย

อ้างอิง

[1] http://www.cell.com/current-biology/abstract/S0960-9822%2810%2901286-8

ที่มา http://news.sciencemag.org/sciencenow/2010/11/your-blood-holds-clues-to-your-b.html?ref=hp

ผลงานวิจัย สวทช. หมวด Biotechnology & Applied Microbiology ได้รับที่ตีพิมพ์มากที่สุด

Posted: 22 Nov 2010 11:49 PM PST

สวทช. ได้สรุปผลงานวิจัยของตัวเองในแต่ละปี ในฐานข้อมูล Web of Science (WOS) เผยแพร่บน NSTDA Blog โดยระบุปี 2001-2010 ในรายละเอียดแสดงข้อมูลเป็นตัวเลข ผมนำทำเป็นกราฟเพื่อจะได้ดูได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผลงานวิจัย สวทช. ในฐานข้อมูล Web of Science (WOS) ตั้งแต่ปี 2001-2009

ผลงานวิจัยของ สวทช. ในฐานข้อมูล Web of Science (WOS) มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ราว 2%  แต่ในปีล่าสุด 2010 มีจำนวนน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับจำนวนการตีพิมพ์ของทุกๆปี คือ 290 เรื่อง

ส่วนข้อมูลแสดงหมวดหมู่สาขาวิชา (Subject Area) 10 อันดับแรก แสดงในภาพด้านล่าง พบว่า หมวด Biotechnology & Applied Microbiology เป็นหมวดที่มีการตีพิมพ์มากสุดคือ 14.16% และรองลงมาคือ Biochemistry & Molecular Biology

งหมวดหมู่สาขาวิชา (Subject Area) 10 อันดับแรก

และ วารสาร (Journal Title) ที่ได้รับการตีพิมพ์มากที่สุดคือ FOOD CHEMISTRY (ไม่ได้แสดงไว้ที่นี้)

จากข้อมูลดังกล่าวบอกได้คร่าวๆว่า สวทช. ทำงานวิจัยด้านไหนบ้าง และให้ความสำคัญงานทางด้านไหนบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานทางด้านชีววิทยา อาหาร ในรายงานได้บอกวิธีการศืบค้นข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย

รายละเอียดดูได้ที่ http://www.stks.or.th/blog/?p=7587

ประชาสัมพันธ์งาน BME CONCEPT อีกครั้ง

Posted: 22 Nov 2010 09:21 PM PST

BME CONCEPT Poster

งาน BME CONCEPT ที่เปิดให้ทุกคนแสดงความคิดของตัวเองอย่างเต็มที่ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ใกล้เข้ามาแล้วนะครับ ภาพด้านบนเป็นโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ที่ติดตามคณะต่างๆ (อย่างจำกัด) ใครสนใจเข้าร่วมงานเข้ามาลงทะเบียนได้ที่ http://goo.gl/zibw

รายละเอียดของงานดูได้ที่ BME CONCEPT สัมมนาแลกเปลี่ยนแนวคิดวิศวกรรมชีวเวช

ของที่ระลึก(เสื้อสั่งทำพิเศษ)มอบให้เฉพาะคนที่นำเสนอเท่านั้นนะครับ มีจำนวนจำกัดด้วย ใครพลาดเสียดายแย่

แล้วมาเจอกันในงานนะครับ

You are subscribed to email updates from Biomedical Engineering
To stop receiving these emails, you may unsubscribe now.
Email delivery powered by Google
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น