ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กสทช.เตือนมือถือหาย-คนอื่นยืมใช้ เสี่ยงซ้ำรอยคดี " SMS อากง"

 

กสทช.เตือนมือถือหาย-คนอื่นยืมใช้ เสี่ยงซ้ำรอยคดี " SMS อากง"

"หมอประวิทย์" ระบุ ผลการตัดสินคดี "อากง เอสเอ็มเอส" สะท้อนว่า เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นตัวตนของผู้ใช้ไปแล้ว หากมีการกระทำผิดด้วยมือถือ เจ้าของต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น เตือนต้องระมัดระวัง หากส่งเครื่องซ่อมให้บันทึกและเก็บหลักฐานไว้ยืนยัน...    

จากกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาจำคุก 20 ปีคดีหมิ่นเบื้องสูงด้วยการส่งข้อความสั้นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือกรณีที่มีการเรียกขานกันในสื่อใหม่ว่า "อากงส่งเอสเอ็มเอส" 

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา  กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า บรรทัดฐานจากคำพิพากษาของศาลในครั้งนี้จะส่งผลต่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทั่วไป ให้ต้องระมัดระวังอย่างเคร่งครัดมิให้บุคคลอื่นเข้าถึงหรือมาใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ประจำตัวได้ เนื่องจากระบบกฎหมายเริ่มตีความว่าเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเท่ากับตัวตนของผู้ใช้

"ในกระบวนการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้มีหลักฐาน หรือการพิสูจน์ว่า จำเลยเป็นผู้ลงมือจริงหรือไม่ แต่มีหลักฐานว่า ข้อความสั้นถูกส่งจากเครื่องของจำเลย ในบริเวณย่านที่จำเลยอยู่อาศัย แม้ว่าในการส่งจะไม่ได้ทำผ่านซิมการ์ดที่จำเลยใช้เป็นประจำก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ในช่วงเกิดเหตุนั้นเครื่องอยู่นอกความดูแลของตน แนวทางเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบกฎหมายเริ่มให้ความหมายกับโทรศัพท์มือถือว่า คือ ตัวคุณเลย นี่จึงเป็นการเปลี่ยนหลักคิดอย่างสำคัญ ว่าหากมีการกระทำใดใดที่กระทำผ่านโทรศัพท์มือถือของเรา สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นการกระทำโดยเรา ภายใต้หลักเช่นนี้ ต่อไปหากใครหยิบโทรศัพท์เราไปใช้ทำผิดกฎหมาย และเราไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ก็ต้องเป็นผู้รับโทษ ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องเข้าใจหลักการที่เปลี่ยนไปนี้และต้องระมัดระวัง  เพราะไม่ได้แยกระหว่างการเป็นเจ้าของกับการนำไปใช้" กก.กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าว

นพ.ประวิทย์ กล่าวถึงคำเตือนและข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคว่า ต่อไปนี้ต้องรักษาดูแลโทรศัพท์มือถือประจำตัวอย่าให้คลาดสายตา ระมัดระวังเรื่องการถูกยืมไปใช้งาน กรณีส่งซ่อมหรือต้องทิ้งเครื่องไว้ห่างตัว แม้ถอดซิมการ์ดออกแล้วก็ใช่จะเพียงพอ ต้องมีพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ด้วยว่า ในเวลานั้นๆ เครื่องไม่ได้อยู่ในความดูแลของเราจริง กรณีเครื่องหายก็ควรต้องแจ้งความ เนื่องจากโทรศัพท์แต่ละเครื่องจะมีเลขอีมี่ประจำเครื่อง ขณะที่ซิมการ์ดมีเลขอิมซี่ ดังนั้นในกรณีมีผู้ไม่หวังดีนำเครื่องเราไปใช้ หลักฐานเลขอีมี่ที่ปรากฏจะมัดตัวผู้เป็นเจ้าของให้ต้องรับผิด

กก.กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ แทบจะพูดได้ว่า ต่อไปนี้ไม่อาจทิ้งมือถือไว้ห่างตัวเลย แม้เพียงช่วงเดินไปเข้าห้องน้ำก็ไม่ควรวางมือถือไว้ที่โต๊ะทำงาน เพราะหากถูกผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ผิด ก็จะกลายเป็นความรับผิดชอบของผู้เป็นเจ้าของ บรรทัดฐานเช่นนี้จะเป็นปัญหายุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น หากมีการปรับใช้ในกรณีอีเมล์ด้วย เพราะอีเมลนั้นถูกเข้าถึงได้ง่ายกว่า และกรณีมีผู้เจาะรหัสเข้าใช้อีเมล์ของใครก็ตาม ตำรวจอาจต้องเปิดให้แจ้งความ สรุปว่าผลจากคดีนี้หากถือเป็นบรรทัดฐานก็จะกระทบวิถีการสื่อสารของคนทั้งหมด

โดย: ทีมข่าวไอทีออนไลน์

1 ธันวาคม 2554, 05:30 น.

http://m.thairath.co.th/content/tech/220370

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น