ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

วันที่ 26 กันยายน 2554 เวลา 12.00-17.00 น. ณ ห้องประชุม “คึกฤทธิ์ ปราโมช” สถาบันไทยคดีศึกษา. ตึกอเนกประสงค์1 ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 ม.ธรรมศาสตร์ จัดเสวนาและสาธิต พลิกตำนานคึกฤทธิ์กับโขนธรรมศาสตร์


ม.ล.วัลย์วิภา บุรุษรัตนพันธุ์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 100 ปีชาตกาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช 45 ปี โขนธรรมศาสตร์ และ 40 ปี สถาบันไทยคดีศึกษา สถาบันไทยคดีศึกษาด้วยความร่วมมือของชุมนุมโขนธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผลผลิตทางความคิดเรื่อง ความเป็นไทยของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้จัดเสวนาและสาธิตเรื่อง "พลิกตำนานคึกฤทธิ์กับโขนธรรมศาสตร์" ในวันที่ 26 กันยายน 2554 เวลา 12.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ของดขนธรรมศาสตร์ตามความคิดของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ก่อตั้งและอำนวยการฝึกซ้อม จนได้รับการยอมรับในความเป็นต้นแบบและความชัดเจนว่าไม่เพียงการอนุรักษ์นาฏศิลป์ชั้นสูงตามจารีต ประเพณีไทยเท่านั้น แต่เป็นโขนสร้างสรรค์จนกลายเป็นตำนานและการยอมรับมาจนทุกวันนี้
ผู้จัดได้พลิกตำนานหนึ่งของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กับโขนธรรมศาสตร์ โดยการนำกรณีการสรวม รัดเกล้ายอด ของนางเบญจกายในโขนรามเกียรติ์ตอนนางลอยมาเป็นกรณีจุดประเด็นความคิด โดยนายพินิจ บุญมา ศิษย์เก่าโขนธรรมศาสตร์ ผู้รับบทนางเบญจกาย ตัวแรกของโขนธรรมศาสตร์ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรม ร่วมอภิปราย พร้อมทั้งสาธิตการแต่งกายและการรำประกอบชุดฉุยฉายนางสีดาแปลง หนุมานจับนางเบญจกาย ให้ชมฟรี โดยจัดแสดงจริงในวันที่ 9 ตุลาคม ศกนี้ ณ บริเวณ สนามหญ้า หลังบ้าน พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ตั้งแต่เวลา 19.00-20.45 น.
การก่อตั้งโขนธรรมศาสตร์ เป็นตัวอย่างสำคัญยิ่งของแนวคิดในการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมที่ผ่านการศึกษาของคนรุ่นหลัง โดยมุ่งหวังให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมในประเทศไทยนั้นโขนไม่ใช่เป็นแค่เฉพาะการแสดงแขนงหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเครื่องประกอบพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งเทิดทูนเหนือเกล้าของ ม.รว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านมีความเชื่อมั่นว่าการที่เยาวชนจะเห็นคุณค่าของศิลปะแขนงนี้ เยาวชนจะต้องรู้จัก สัมผัส และซาบซึ้งเสียก่อนด้วยการเข้ามาเล่นโขนเองโดยทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เวลา และสละเงินส่วนตัว จนก่อตั้งได้ในปี 2509

 
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นาง วันวิศาข์ ภาคสุวรรณ์ / ส่วนผลิต   Rewriter : นาง วันวิศาข์ ภาคสุวรรณ์ / ส่วนผลิต
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น