ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

มูลนิธิ พันดารา

 มูลนิธิ พันดารา
คุณสมบัติอันไม่จบสิ้นของกายของพระพุทธเจ้าหรือรูปกายนั้น หมายถึงสองแง่มุมได้แก่
(1) ขอบเขตอันไม่อาจหยั่งถึงได้ของกายแห่งการตรัสรู้ และ
(2) ความครบถ้วนสมบูรณ์ของรูปกายของพระพุทธเจ้า
ขอบเขตอันไม่อาจหยั่งถึงได้หมายความว่า ผู้ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้าใจทั้งหมดของร่างกายของพระพุทธเจ้า ร่างนี้กว้างใหญ่ไพศาลมากเสียจนไม่ว่าใครก็ตามหรือจะรับรู้อย่างไรก็ตาม ก็ไม่อาจหยั่งถึงขอบเขตทั้งหมดของกายของพระพุทธเจ้าได้

ตัวอย่างเช่น ใน พระมหารัตนกูฏสูตร มีเรื่องราวของพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่ครั้งหนึ่งเคยมีจิตปรารถนาที่จะวัดขนาดของพระอุษณีศะของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้แก่ส่วนที่สูงขึ้นมาบนยอดพระเศียรของพระองค์ แต่ไม่ว่าท่านจะพยายามมองเห็นขนาดนี้อย่างไร ก็มองไม่เห็น
ท่านมีฤทธิ์ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เหาะขึ้นไปยังยอดเขาพระสุเมรุแล้วก็มองไปยัง
พระอุษณีศะ แต่พระอุษณีศะนั้นก็ยังสูงเลยพ้นขึ้นไปจนท่านมองไม่เห็น จากยอดเขา
พระสุเมรุท่านก็ได้เหาะขึ้นไปยังสวรรค์ทั้งสามสิบสามชั้น แต่ก็ยังไม่เห็นยอดพระอุษณีศะ
เช่นกัน จากนั้นพระโพธิสัตว์องค์นี้ก็เหาะไปยังพรหมโลก และจากนั้นก็เหาะขึ้นไปอีกยังภพภูมิต่างๆจนกระทั่งผ่านไปถึงหนึ่งพ้นล้านภพภูมิ แต่ไม่ว่าท่านจะเหาะสูงขึ้นไปเท่าใด 
ท่านก็ยังไม่เห็นว่ายอดพระอุษณีศะของพระพุทธเจ้าจะสุดลง ณ ที่ใด ท่านเหาะขึ้นไปยังพระราชวังของพระปัทมศรีครรภะ แต่ก็ยังไม่สามารถมองเห็นยอดพระอุษณีศะ 
ในท้ายที่สุดท่านก็ต้องล้มเลิกความพยายามนี้

ประเด็นของเรื่องนี้ก็คือว่ารูปกายของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจหยั่งรู้ได้จริงๆ ความกว้างใหญ่ไพศาลของพระอุษณีศะเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง
การตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ (การตรัสรู้ธรรมอันบริบูรณ์) ของพระพุทธเจ้า
รวมทั้งพระสัพพัญญุตญาณ (การรู้รอบหมดทุกสิ่งทุกอย่าง) ของพระองค์
ลักษณะเหล่านี้ไม่มีทางที่สัตว์โลกที่ด้อยกว่าจะเข้าใจหรือหยั่งถึงได้ ในทำนองเดียวกันคุณสมบัติทั้งหมดของพระพุทธภาวะก็ไม่อาจหยั่งถึงหรือเข้าใจได้โดยสัตว์โลกที่ด้อยกว่าเช่นเดียวกัน

ลักษณะประการที่สองของรูปกายของพระพุทธเจ้าก็คือความครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่ง
หมายความว่าในภาคที่ทรงเป็นนิรมาณกาย หรือกายเนื้อของพระองค์นั้น พระองค์ทรงมีพลังที่จะปรากฏกายออกมาเป็นลักษณะรูปร่างแบบใดก็ได้ตามที่ทรงปรารถนา เพื่อแสดงหนทางสู่การตรัสรู้และเพื่อยังเป้าหมายของพระองค์ในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้บรรลุ
เป็นจริง

เราทราบกันว่าประวัติชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆที่ทรงปรากฏเป็น
พระพุทธเจ้าศากยมุนี และก็ได้ทรงเป็นกระต่าย เสือ สิงโต เรือ สะพาน และอื่นๆ
พระองค์ทรงปรากฏกายออกมาเป็นรูปแบบใดๆที่จำเป็นในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ เพื่อสาธยายพระธรรม และเพื่อทำเป้าหมายของพระองค์ให้สำเร็จอันเป็นการยังประโยชน์
สูงสุดให้แก่สัตว์ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่ารูปกายของพระพุทธเจ้าครบถ้วนสมบูรณ์
ไม่มีขีดจำกัดใดๆที่จะทำให้พระองค์ทรงปรากฏพระกายออกมาไม่ได้เป็นรูปแบบใด
รูปแบบหนึ่ง ทรงปรากฏพระองค์ออกมาเป็นรูปแบบใดๆก็ได้ทั้งสิ้น

-- จาก "การเห็นทางธรรมสามระดับ" ของเตชุง ริมโปเช --

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น