ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

กฟผ.จะให้คนแม่เมาะต้องตกเป็นเหยื่อต้องตกนรกตลอดชาติอยู่อย่างนี้หรือ?

กฟผ.จะให้คนแม่เมาะต้องตกเป็นเหยื่อต้องตกนรกตลอดชาติอยู่อย่างนี้หรือ?
สมบุญ สีคำดอกแค
11 มกราคม2555
      มีโอกาสไปสังเกตการณ์  เวทีประชาพิจารณ์ เมื่อวันที่  7 มกราคม 2555 ที่ทางกฟผ.ได้จัดเวทีประชาพิจารณ์ โดยเรียกประชุมแกนนำ ที่รับใช้รัฐหรือเป็นมวลชนของ กฟผ.  แล้วก็ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุตามสาย ให้ชาวบ้านเข้าร่วมแบบเงื่อนงำไม่โปร่งใส  เมื่อไปถึงให้ชาวบ้านถ่ายบัตรประชาชนเซ็นต์สำเนาถูกต้องคนละหนึ่งใบ เพื่อไปรับค่ารถคนละ 300 บาทรับบัตรแจกข้าวกล่องอาหารกลางวัน  ชาวบ้านที่ไปไม่เคยมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์เลย รู้สึกหวาดกลัว การเขียนกรอกข้อความ เห็นที่ดูแล้ว ชาวบ้านเองก็คงจะยากในการกรอกข้อความเพราะแค่เขียนหนังสือก็ยังเขียนไม่ได้เลย  เสียงร้องและเสียงพูดถึงความเจ็บป่วยผลกระทบที่เกิดขึ้นในเวที ก็ย่อมแพ้เสียงของนักพูดระดับมืออาชีพ มีการตบมือสนับสนุน มีการพูดหว่านล้อมว่าปัจจุบัน กฟผ.จัดการสิ่งแวดล้อมดีแล้ว มีเครื่องจับฝุ่นอย่างดี จัดงานลานเที่ยวชมทุ่งดอกบัวตอง ทุ่มเงินประชาสัมพันธ์ออกทั่วประเทศมหาศาล และมวลชนผู้ได้รับผลประโยชน์แบบกระหน่ำ การมาเข้าสู่เวทีประชาพิจารณ์ของชาวบ้าน มาด้วยความเหนื่อยหอบ อ่อนล้าและไร้เรี่ยวแรงเหมือนแมงเม่าบินเข้ากองไฟ ซึ่งผลเป็นอย่างไรนั้นไม่ต้องสรุปก็คงจะรู้ว่า กฟผ.เป็นฝ่ายชนะและจะมีการจัดเวทีแบบนี้อีกสองครั้ง บางคนกลัวมากๆเพราะวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่อ่อนโยนของคนชุมชนแม่เมาะ จังหวัดลำปาง การต่อสู้จึงเป็นอะไรที่น่าหวาดกลัว หรือด้วยความไม่รู้จึงไม่โผล่มากล้ำกลายในเวทีนี้ด้วยไม่เห็นด้วยกับการจะขยายพื้นที่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนท์ เพราะคิดว่าถ้าสร้างเพิ่มก็จะยิ่งขยายปัญหามากขึ้น
      เสียงของผู้ตกเป็นเหยื่อเลยยิ่งแผ่วเบา ๆๆแล้วก็ค่อยๆหมดลมหายใจไปวันละคนสองคนถูกปลิดชีวิตไปเรื่องๆ ทุกวี่ทุกวันด้วยโรคมะเร็งร้าย ที่ใครเป็นแล้วนับวันหมดลมหายใจได้ หรือปอดอักเสบอย่างรุนแรง  การต่อสู้เรียกร้องสิทธิผ่านทั้งกระบวนการยุติธรรมไปยังศาลปกครองพิพากษา 4 มีนาคม 2552 กฟผ.ก็ยังอุทธรณ์อยู่ ยังไม่มีใครได้รับการเยียวยาอย่างจริงจัง นับจากวันฟ้อง ปี 2545 –ปัจจุบันก็เข้า 10 ปี  การเรียกร้องผ่านเวทีสมัชชาคนจนเพื่อเข้าถึงการเยียวยารักษา มีชาวแม่เมาะ จากหมู่บ้าน ปางป๋วย บ้านสมป๊าด บ้านนาสัก บ้านสบจาง  บ้านแม่หลวง  และบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ ราว 300 คน ที่ต้องการอพยพออกจากพื้นที่ ต้องการเข้าถึงการักษาเยียวยาที่ดี เพราะทุกคนคนป่วยเจ็บเรื้อรัง ไม่มีเรี่ยวแรงหายใจรวยริน ที่จะออกไปพบแพทย์เพราะต้องนอนใช้ถังออกซิเจนช่วยหายใจการออกไปเติมออกซิเจน ที่รพ.ศูนย์แม่เมาะต้องเสียค่าเดินทางโดยเหมารถคันละ 500 บาทระยะทางไปกลับ 100 กก.ยายน้อยลูกสาวเล่าว่าแกต้องใช้ออกซิเจนวันละหนึ่งถัง  ซึ่งลำบากมากรายได้ที่ค้าขายเล็กๆน้อยๆอยู่กับบาทก็ไปลงถังอ๊อกซิเจนจนหมด  
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
      บางรายก็ใช้สัปดาห์ละหนึ่งถังอย่างลุงคำใส  แกต้องประหยัดให้ออกซิเจน คือ ใช้เพียงวันละ 3
ชั่วโมงเพราะประหยัดค่าใช้จ่าย โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้  
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้
และลำบากมากต่อการต้องจ้างเหมารถไปเติมซึ่งตัวลุงกับป้าก็อยู่กันแค่สองคน  รวมทั้งลุงเชิดก็ตกอยู่
ในสภาพไม่แตกต่างกัน ถามถึงเรื่องนโยบายก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มคนป่วยผู้ถูกผลกระทบทุกคนก็พูด
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้  
เป็นเสียงเดียวกันว่า ขณะปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาก็ยังแก้ไม่ถูกจุด เครื่องดักฝุ่นต่างๆมันก็นานนมแล้วถ้าดักฝุ่นดีทำไมพวกเขาถึงมาล้มป่วยแล้วใช้ ถังออกซิเจนในปี 2554 นี้เรื่อยมาบางคนก็ล้มมาสองสามปีแล้ว บางคนมีอาการทางสมองปากเบี้ยวพูดลำบาก เป็นอยู่ปีสองปีก็เสียชีวิต ล่าสุดรายป้าจันทร์หอมภรรยาลุงอิน อินติ๊บ ลุงลวด ไชยานนท์ และคนอื่นๆกว่าสามสี่ร้อยคนแล้วที่ต้องเสียชีวิตสละความสุขส่วนตัวความแข็งแรงสมบูรณ์ให้กับโรงไฟฟ้าที่แผ่ความเจริญไปยังภาคเหนือ ภาคกลางภาคอีสาน สำหรับชาวบ้านแม่เมาะต้องสูญเสียอนาคตอยู่อย่างท้อแท้รอความตาย เสียงแหบแห้งของผู้ป่วย 3-4คนนี้บอกว่าไม่ขออะไรมากตอนนี้ขอเพียงถังอ๊อกซิเจนเต็มอยู่ตลอดเวลาได้ไหมแล้วมีใครที่เอามาให้ถึงบ้านไม่ต้องเสียเงินทองมากมายขนาดนี้เพื่อหวังยื้อชีวิตไว้ต่อไปและจะได้ๆไม่หายใจไม่ลำบาก 
โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ โปรแกรมของคุณอาจไม่สนับสนุนการแสดงรูปภาพนี้ 
จากการที่กลุ่มผู้ป่วยแม่เมาะในสมัชชาคนจนได้ไปแสดงเจตนาขอคัดค้านการสร้างโรงงานไฟฟ้า  โดยขอความเป็นธรรมให้เยียวยาผู้ถูกผลกระทบเสียก่อน เพราะการไฟฟ้ามีงบประมาณปีละ สี่ร้อยกว่าล้านเพื่อมาฟื้นฟูชุมชนที่ถูกผลกระทบรอบบริเวณโรงไฟฟ้า กรณีนี้กลุ่มผู้ป่วยแม่เมาะในสมัชชาคนจน ยื่นเสนอโครงการฟื้นฟูสุขภาพ และฟื้นฟูอาชีพ เลี้ยงโค กระบือ ยื่นมา 2  ปีกว่าแล้วไม่ได้รับการพิจารณาเลย แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าดูแลแก้ไขปัญหาเก่าไปหมดแล้วได้อย่างไร 
      ทางนายอำเภอและรองผู้ว่าก็ได้พูดกับชาวบ้านว่าเอามาวันจันทร์นะนายอำเภอจะรอรับแต่พอวันจันทร์กลับไม่อยู่ชาวบ้านผิดหวังในคำพูดของผู้หลักผู้ใหญ่มากๆ  คุณสนธยา อินเขียวสาย มีบุตรอยู่ 2 คนมีอาชีพขายของที่โรงเรียนเธอและลูกๆคนในครอบครัวไอเป็นหวัดเรื้อรังหายใจไม่สะดวก คุณปราณี อินปัญโญ เธอเอาพืชผักที่ปลูกแล้วใบฝ่อไม่ได้ผลผลิตขายไม่ได้มิหนำซ้ำยังปวดหัวเป็นหวัดกันทั้งครอบครัวเธอพูดอย่างท้อแท้ว่าสถานการณ์ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นเลยในชีวิตมีแต่ความทุกข์ยากเศร้าหมอกลุ้มๆๆหาทางออกไม่ได้เลยหารถไปหาหมอก็ไม่ได้  เงินรายได้ก็ไม่มี  เธออยากให้ยุตินโยบายสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มแล้วให้ กฟผ.มาดูแลผู้ถูกผลกระทบอย่างจริงจังก่อนได้ไหม
      ดิฉันได้ลงพื้นที่ไปรู้เห็นแล้วก็รู้สึกเศร้าสลดนอนไม่หลับ  รู้สึกว่าทำไมคนงานหรือคนจนคนในชุมชนต้องตกเป็นเหยื่ออยู่ตลอดเวลา ทั้งๆที่เราก็เป็นมนุษย์เช่นกัน ถ้าความเจริญแล้วมันทำให้คนจนๆต้องจนลงไปอีกทุกข์ยากลงไปอีกดิฉันว่าเราหยุดพักความเจริญก่อนได้ไหม ?  เพราะความเจริญนั้นได้ขุดรีดคนจนคนในชุมชนให้เขาต้องตกเป็นเหยื่ออยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ จะเรียกว่าความเจริญได้อย่างไร ??
สมบุญ สีคำดอกแครายงาน
สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 081-813-28-98 อีเมล wept_somboon@hotmail.com.เวฟไซด์ www.//wept.org  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น