ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ธนาคารเอเชีย

 

ธนาคารเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารเอเชีย
ประเภทบริษัทมหาชน (พ.ศ. 2535)
ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2482
บุคลากรหลักปรีดี พนมยงค์
อุตสาหกรรม การเงิน

ธนาคารเอเชีย เดิมชื่อธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2482 โดย ดร. ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อมาภายหลังชื่อของธนาคารได้ถูกตัดให้สั้นลงเป็น ธนาคารเอเชีย (BOA) จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2521 และกลายเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ในปี พ.ศ. 2535

ธนาคารเอเชียมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีบริษัทในเครือที่ให้ บริการด้านประกันภัย, การจัดการกองทุน, การจัดจำหน่ายตราสาร หนี้และตราสารทุนและบริการเช่าซื้อ สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของธนาคารอยู่ที่ถนนสาทรใต้ ในกรุงเทพมหานคร ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2546 ธนาคารเอเชียมีสาขา 124 แห่ง

พ.ศ. 2541 ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของธนาคารเอเชีย ในปี พ.ศ. 2545 ธนาคารเอบีเอ็น แอมโรได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 8 ในยุโรป และที่ 17 ในโลก ในด้านความมั่นคงของเงินกองทุนขั้นที่หนึ่ง โดย มีกว่า 3,000 สาขาในกว่า 66 ประเทศ [1]

25 เมษายน พ.ศ. 2547 ธนาคารเอบีเอ็ม แอมโร ได้ลงนามขายหุ้น 80.77% ซึ่งถืออยู่ในธนาคารเอเชีย ให้กับ ธนาคารยูโอบี ผู้ถือหุ้นหลักใน ธนาคารยูโอบีรัตนสิน เพื่อควบรวมกิจการ ธนาคารเอเชีย เข้ากับ ธนาคารยูโอบีรัตนสิน โดยใช้ธนาคารเอเชียเป็นแกนหลัก และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารยูโอบี [2]

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ ธนาคารเอเชีย positioningmag.com
  2. ^ ธนาคารเอเชีย บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
สมัยก่อนหน้า ธนาคารเอเชีย สมัยถัดไป
ธนาคารแห่งเอเชียเพื่ออุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม 2leftarrow.png ธนาคารเอเชีย
(พ.ศ. 2482 - 25 เมษายน พ.ศ. 2547)
2rightarrow.png ธนาคารยูโอบี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น