ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

e-magazine ฉบับที่ 48



จาก: เดชา กิตติวิทยานันท์ <decha007@cscoms.com>
วันที่: 8 มีนาคม 2554, 10:26
หัวเรื่อง: e-magazine ฉบับที่ 48
ถึง:  

สวัสดีพี่น้องทนายคลายทุกข์ ทาง E-Magazine ทุกท่าน

ทนายคลายทุกข์ขอส่ง บทความที่มีประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง หลักความสุจริตในการทำธุรกิจ

ปัจจุบันเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ตลอดจนนักธุรกิจทั่วไปที่ขายสินค้าหรือให้บริการ มีปัญหาเกี่ยวกับการสุจริตในการทำธุรกิจ ทนายคลายทุกข์ขอยกตัวอย่างการกระทำการที่ไม่สุจริต ดังนี้
1. เป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรร รับเงินจองจากลูกค้า โดยให้ลูกค้าจ่ายเงินจองเป็นรายงวด รับเงินจนครบทุกงวด แล้วยังไม่เริ่มทำการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการทำสัญญาในลักษณะเอาเปรียบไม่มีกำหนดเวลาเริ่มทำการลงมือก่อสร้าง และไม่มีการกำหนดเวลาว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อใด หลังจากรับเงินจองแล้วเอาเงินไปหมุนทำธุรกิจอย่างอื่น และให้หน้าม้าหรือลูกจ้างคอยรับโทรศัพท์หลอกลวงต้มตุ๋นประชาชนไปวัน ๆ ขอเลื่อนการก่อสร้าง มีให้เห็นอยู่ทุกวัน เป็นการทำธุรกิจที่ไม่สุจริต ซึ่งปัจจุบันศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภค ได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องของความสุจริตในการทำธุรกิจไว้ โดยวางบรรทัดฐานเกี่ยวกับการรับจองบ้านพร้อมที่ดิน และเงื่อนไขเงื่อนเวลาในการก่อสร้างที่จะต้องระบุไว้ในสัญญา จะซื้อจะขาย โดยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2553 ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องหลักของการสุจริตว่า
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่าง ด. ผู้บริโภคกับจำเลย เป็นปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับโครงการบ้านจัดสรรของจำเลย ซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโจทก์เคยประชุมและมีมติไว้แล้วว่า การกระทำของจำเลยที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้บริโภคจำนวน 9 รายในโครงการดังกล่าวของจำเลย เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเหล่านั้น เมื่อ ด. ยื่นเรื่องราวต่อโจทก์อันเป็นปัญหาพิพาทในโครงการเดียวกันของจำเลย เป็นเรื่องในลักษณะเดียวกับที่โจทก์เคยมีมติไว้แล้ว โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องนำเรื่องราวของ ด. เข้าประชุมอีก เนื่องจากโจทก์ได้มีมติไว้แล้วว่า ในการดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นให้รวมถึงผู้บริโภครายอื่นที่มาร้องเรียนเพิ่มเติมในลักษณะเดียวกันในภายหลังด้วย การฟ้องร้องของโจทก์ในคดีนี้จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 10(1) (7) และมาตรา 39
สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดเวลาเริ่มลงมือก่อสร้างและกำหนดเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จไว้ แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยต้องรีบลงมือก่อสร้างและก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเวลาอันสมควร อันเป็นไปตามหลักสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 มิใช่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจว่าจะเริ่มก่อสร้างเมื่อใดก็ได้ แต่จำเลยมีหน้าที่ต้องรีบลงมือก่อสร้างโดยพลันตามมาตรา 203 เมื่อ ด. ผู้บริโภคได้ชำระเงินแก่จำเลยเป็นจำนวนถึง 130,000 บาท แต่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างบ้าน ด. จึงมีสิทธิที่จะไม่ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยได้เนื่องจากเป็นสัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 369 ดังนั้น การที่ ด. ไม่ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยตั้งแต่งวดที่ 6 เป็นต้นไป ด. จึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา
การดำเนินคดีในศาลของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคสอง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นต้น ค่าส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง และค่าส่งคำบังคับ ซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมที่ชำระมาให้แก่โจทก์

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
มาตรา 10 คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
(7) ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่คณะกรรมการเห็นสมควรหรือมีผู้ร้องขอตามมาตรา 39
มาตรา 39 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค หรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานอัยการโดยความเห็นชอบของอธิบดีกรมอัยการ หรือข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล และเมื่อคณะกรรมการได้แจ้งไปยังกระทรวงยุติธรรมเพื่อแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจดำเนินคดีตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
ในการดำเนินคดีในศาล ให้เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์สิน หรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย และในการนี้ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 203 ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ถ้าได้กำหนดเวลาไว้ แต่หากกรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้นหาได้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นก็ได้
มาตรา 368 สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

ท่านใดต้องการปรึกษากฎหมาย โทร.02-9485700, หรือ www.decha.com หรือ http://www.facebook.com/dechalaw

ด้วยความปรารถนาดี
จาก ทีมงานทนายคลายทุกข์

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าหากท่านไม่ต้องการที่จะรับ e-Magazine จาก www.decha.com อีกต่อไป สามารถยกเลิกได้ที่ link นี้ครับ
http://www.decha.com/main/confirm.php?id=14841&hash=ed8a4e08eec834d048e787ecd62cf0&todo=cancel
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น