ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

ย้อนวันวาน ขุนโจรเมืองสุพรรณ

วันที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7401 ข่าวสดรายวัน


ย้อนวันวาน ขุนโจรเมืองสุพรรณ


เสถียร ท้วมจันทร์




สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่ยังเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีสินค้าที่ขึ้นชื่อเช่นข้าว และแห้ว พร้อมสำเนียง "เหน่อ" แบบสุพรรณบุรี ที่เป็นเอกลักษณ์จนถึงทุกวันนี้ "เหน่อสุพรรณบุรี" ไม่เหน่อเหมือนจังหวัดอื่น ใครมาสุพรรณบุรีจะยังคงเห็นวัฒนธรรมสำเนียงการพูด ความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม

ส่วนขุนโจร เช่น เสือใบ เสือฝ้าย เสือดำ และ เสือมเหศวร เป็นตำนานเล่าขานต่อกันมายาวนาน และเป็นละครไปแล้วหลายเรื่อง

"เสือใบ" มีชื่อจริงว่า ใบ สะอาดดี เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกำเนิด เป็นจอมโจรชื่อดังในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ร่วมสมัยกับ "เสือดำ" "เสือมเหศวร"และ "เสือฝ้าย" ตามประวัติเล่ากันสืบต่อมาว่า เสือใบจะออกปล้นในแถบภาคกลาง สุพรรณบุรี โดยเวลาออกปล้นจะแต่งชุดสีดำ สวมหมวกดำ และปล้นด้วยความสุภาพ จนได้รับฉายาว่า "สุภาพบุรุษเสือใบ" ซึ่งเสือใบและเสือต่างๆ นับเป็นผู้สร้างชื่อเสียงให้ชาวสุพรรณบุรี จนเป็นที่รู้จักต่อมาจนถึงปัจจุบัน

และเพื่อเป็นการย้อนอดีต รำลึกถึงวันวาน จึงมีการจัดงาน "มหัศจรรย์สีสันแห่งสุวรรณภูมิ ย้อนวันวานเมืองสุพรรณ และการแสดงแสงสีเสียง ตอน ขุนโจรเมืองสุพรรณ" ขึ้นมา ตั้งแต่เดือนก.พ.ไปจนถึงเดือนมี.ค.

สุภัทร์ ศรีสุนทรพินิจ รองผู้ว่าฯสุพรรณบุรี เล่าว่า การจัดงานครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับอบจ.สุพรรณบุรี ททท.สุพรรณบุรี หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเดือนก.พ.-มี.ค.2554 รวม 30 ครั้ง ที่วัดวรจันทร์และวัดพร้าว ต.โพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เพื่อแสดงบรรยากาศจำลอง ย้อนยุควันชื่นคืนเก่าที่แสนประทับใจ ของเมืองสุพรรณบุรี และแสงสีเสียงย้อนอดีตของ "เสือใบ" ขุนโจรชื่อดังแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน

1.ตลาดศรีประจันต์

2.ร้านค้าในตลาด

3,5.,6.วิถีชาวบ้าน

4.,7.,8.บรรยากาศชุมชนในตลาด

9.การแสดง



ในงานมีร้านค้าในสไตล์ย้อนยุค ร้านกาแฟ ร้านตัดเสื้อ ร้านถ่ายรูป ร้านขายทอง ร้านจักรยานโบราณ ร้านขายของเล่นโบราณ การแสดงละครลิง จำลองไปรษณีย์โพธิ์พระยาในอดีต นิทรรศการบ้านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) นิทรรศการเสือร้ายเมืองสุพรรณ

นอกจากนี้ยังมีและการแสดงแสงสีเสียง "ขุนโจรเมืองสุพรรณ" ที่เล่าขานตำนานเสือใบ ในรูปแบบสื่อผสม 5 องก์คือ องก์ที่ 1 มนต์รักลุ่มน้ำสุพรรณบุรี องก์ที่ 2 ดวงชะตาโจร องก์ที่ 3 เส้นทางเสือ องก์ที่ 4 คนบาปใจบุญ และองก์ที่ 5 เสือคืนถ้ำ

โดยจัดให้ชมฟรี ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 12 ก.พ.-27 มี.ค. คืนละ 2 รอบ เวลา 19.00 น. และ 21.00 น.ที่เวทีกลางน้ำ วัดวรจันทร์-วัดพร้าว

ด้านวิศรุต อินแหยม ผอ.ททท.สุพรรณบุรี เล่าว่า งานดังกล่าวใช้งบประมาณกว่า 5 ล้านบาท เพื่อให้น่าตื่นตาตื่นใจ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวสุพรรณบุรี ให้เป็นที่รู้จัก สำหรับงานย้อนวันวานเมืองสุพรรณ ยังมีเรื่องราวของ 7 ตลาดดังในอดีต มาจำลองไว้ให้ดูแบบใกล้ชิดด้วย เพราะหลายคนไม่เคยรู้จักและไม่เคยไป

เช่น "ตลาดบ้านสุด" ริมคลองบางยี่หน อ.บางปลาม้า ซึ่งเป็นคลองขุดเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยา ตลาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 2 ชั้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วน เรียกว่าตลาดบน ตลาดน้ำและตลาดนายห้าง

"ตลาดเก้าห้อง" อ.บางปลาม้า ชุมชนเก่าแก่ที่มีเสน่ห์และมีตำนานเล่าขานริมแม่น้ำท่าจีนมานานนับ 100 ปี เป็นแหล่งชุมชน ศูนย์กลางการค้าขาย การสัญจรทางน้ำ โดยชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นแหล่งอาหารอร่อยมากมาย เช่น ผัดไท ราดหน้า ขนมฮวงเหล่าเทง (ขนมตาตะแกรง) ขนมไข่ปลา ขนมดอกจอก และเป็นแหล่งผลิตขนมเปี๊ยะที่ใหญ่ที่สุดในสุพรรณบุรี

"ตลาดเก่าเมืองสุพรรณฯ" (ตลาดทรัพย์สิน) หรือ "ตลาดท่าเรือเมล์" ตัวตลาดตั้งอยู่บนบก มีท่าเรืออยู่ริมแม่น้ำ ลูกค้าส่วนใหญ่เดินทางสัญจรมาทางเรือ จึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคม ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำนี้

และก่อนหน้านี้ตลาดเมืองสุพรรณฯ มีเพียงห้องไม้เก่า 2 คูหา สุดปลายถ.นางพิม ต่อมาย้ายไปสร้างใหม่ใกล้วัดจำปา เรียกว่า "ตลาดวัดจำปา" เป็นตลาดห้องแถวไม้ชั้นเดียว

"ตลาดโพธิ์พระยา" อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ริมแม่น้ำท่าจีน ตั้งเมื่อพ.ศ.2468 เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้เป็นจุดสัญจรค้าขายกับตัวเมือง จึงเป็นจุดรวมของผู้คน ต่อมาเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่เสียหายอย่างหนัก 2 ครั้ง ปัจจุบันก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ และยังเป็นแหล่งชุมชนลิเกด้วย

"ตลาดศรีประจันต์" (บ้านเจ้าคุณฯ) อ.ศรีประจันต์ อายุกว่า 100 ปี เป็นอาคารไม้ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย ตลาดเก่าด้านฝั่งตะวันตกติดแม่น้ำสุพรรณ ตรงข้ามเป็นวัดบ้านกร่าง ของพระยอดขุนพลหรือพระขุนแผนวัดบ้านกร่าง และเป็นตลาดค้าส่งในอดีต

"ตลาดสามชุก" ห้องแถวไม้ริมแม่น้ำสุพรรณ เป็นย่านการค้าสำคัญแห่งหนึ่ง ชาวบ้านนำข้าวของมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน กับพ่อค้าชาวเรือที่ล่องเรือมาขายสินค้า จนการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น ตลาดสามชุกซบเซาลง ทำให้การคมนาคมทางน้ำหมดความสำคัญลง

"ตลาดท่าช้าง" มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี เช่นเดียวกันชุมชนตลาดเก่าหลายๆแห่ง เป็นตลาดใหญ่เหนือสุดริมแม่น้ำท่าจีน เป็นแหล่งศูนย์รวมการค้าที่เจริญรุ่งเรืองมาก กระทั่งวันที่ 20 ธ.ค.2501 ไฟไหม้จนวอดเกือบหมด บ้านเรือนกว่า 600 หลัง ถูกไฟทำลายความสวยงามจนหมด

ใน งานย้อนวันวานเมืองสุพรรณ จึงนำทั้ง 7 ตลาด มารวมกันที่วัดวรจันทร์และวัดพร้าว เพื่อให้รำลึกถึงบรรยากาศย้อนยุคแบบรวบรัด และสนุกสนาน


หน้า 28

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMGIzVXdOVEExTURNMU5BPT0=&sectionid=TURNeE9RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNeTB3TlE9PQ==

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น