ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รัฐบาลตั้งวอร์รูมต้านคอร์รัปชั่น ร้องเรียนผ่านสายด่วน 1206

รัฐบาลตั้งวอร์รูมต้านคอร์รัปชั่น ร้องเรียนผ่านสายด่วน 1206

เขียนโดย สาธินีย์ วิสุทธาธรรม
วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2012 เวลา 19:54 น.


"นิวัฒน์ธำรง" แจงเตรียมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคราชการ พร้อมตั้งศูนย์ร้องเรียนครบวงจร ใช้งบประมาณกลางมอบหมายหน่วยงานรัฐเสนอโครงการปราบทุจริตในองค์กร





วันที่ 14 พฤษภาคม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม เรื่อง ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ว่า ที่ประชุมได้ระบุรายละเอียดในการจัดงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น" ขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ภายในงานประชุมจะเป็นการประกาศเจตนารมณ์ที่รัฐบาลต้องการจะป้องกัน และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการ ซึ่งผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมมีตั้งแต่ระดับอธิบดีกรม กองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยราชการ ตัวแทนผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและตัวแทนสมาคมต่างๆ ประมาณ 700 คน ทั้งนี้จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption War Room) ในการป้องกันและปราบปรามทุจริต โดยมีช่องทางให้ประชาชนสามารถร้องเรียนผ่านสายด่วน ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ผ่านเบอร์ 1206

"เมื่อทางเจ้าหน้าที่รับข้อมูลการร้องเรียน จะบันทึกข้อมูลและคำร้องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตรวจสอบ แก้ไข ปราบปรามและรายงานผลความคืบหน้าการปฏิบัติการให้ทราบ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์ปฏิบัติการที่ครบวงจร ทั้งทางโทรศัพท์ เฟสบุ๊ค อีเมล์ เอสเอ็มเอสและจดหมาย"

นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า นอกจากนี้ ภายในงานประชุมจะเชิญวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์มาร่วมแลกเปลี่ยน ได้แก่ 
1.ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา,
2.นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.),
3.ผู้เชี่ยวชาญการต่อต้านและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นจากสิงคโปร์
4.นายประมนต์ สุธีวงศ์ตัวแทนภาคเอกชน และประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น
5.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวต่อว่า มีการมอบหมายให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบกระบวนการทำงานภายในหน่วยงานของตนเองว่า มีกระบวนการหรือภารกิจใดที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นบ้าง หลังจากนั้น 1 เดือนให้แต่ละหน่วยงานนำเสนอโครงการ เหตุผลความจำเป็นและงบประมาณที่จะใช้ให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการ ซึ่งเคยมีตัวอย่างโครงการที่ทำสำเร็จมาแล้ว เช่น ระบบศุลกากร ระบบทะเบียนใบขับขี่และพาสปอร์ต

"ในส่วนงบประมาณการดำเนินโครงการ จะเป็นโครงการช่วยเหลือที่หน่วยงานราชการจะได้รับงบประมาณกลาง ซึ่งเป็นการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีความสุจริตและยุติธรรมในหน่วยงาน"

รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวด้วยว่า มีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จะช่วยให้การทุจริตคอร์รัปชั่นลดลงได้ ทั้งนี้ มีความตั้งใจจะเริ่มดำเนินการภายในหน่วยงานราชการให้สำเร็จก่อน จากนั้นจะขยายวงไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเชิญภาคเอกชนต่อไป โดยที่ตัวแทนภาคเอกชน 16 องค์กรที่ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว ได้มาหารือร่วมกันว่าจะทำงานร่วมกับภาครัฐ

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าโครงการติดตามการปรามปรามทุจริตในครั้งนี้ มุ่งเน้นเรื่องใดเป็นพิเศษหรือไม่ เช่น งบประมาณในโครงการน้ำท่วม รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปที่งบประมาณใด แต่จะพิจารณาทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น

http://www.thaireform.in.th/reform-the-news/item/7569.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น