ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศูนย์ตา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ชั้น7 อาคารบางกอกเมดิเพล็ก ถนนสุขุมวิท 42

  ศูนย์ตา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) 
(METTA INTERNATIONAL EYE CENTER)

ที่ตั้ง 
ชั้น7 อาคารบางกอกเมดิเพล็ก ถนนสุขุมวิท 42 
เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10250
โทรศัพท์ :  02-7122066 (Customer Service)
โทรสาร (Fax) : 02-7122077 

Hot Line :  087 994-4554
ปรึกษา Lasik : 084 801-1195 
E-mail : mettaeyecare@gmail.com 
Web site : www.mettaeyecare.org

ต้อกระจก







สาเหตุและอาการของต้อกระจก

PDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย : นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์

           การเกิดต้อกระจกต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่อาการผิดปกติในการมองเห็นจะ ปรากฏขึ้น โดยในระยะแรกๆ อาจจะเห็นเป็นจุด และขยายวงมากขึ้นจนเป็นทั้งแก้วตา ทำให้เลนส์แก้วตามีลักษณะขุ่นมัว และฝ้าฟาง ทำให้แสงไม่สามารถผ่านไปยังจอประสาทตาได้ตามปกติ จึงเกิดอาการตามัวมองเห็นสิ่งต่างๆได้ไม่ชัด

อาการของต้อกระจกนี้ ส่วนมากแล้วมักจะเป็นได้ทั้งสองข้าง โดยที่ข้างหนึ่งอาจเป็นเร็วกว่าอีกข้างหนึ่ง ขณะเดียวกันตาข้างหนึ่งก็อาจเป็นมากกว่าอีกข้างหนึ่ง เมื่ออายุมากขึ้น ความขุ่นมัวก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ตามปกติ ยิ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้ต้อสุกโดยไม่มีการรักษา จะทำให้เกิดการอักเสบ หรืออาจกลายเป็นต้อหิน และทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
          การเกิดต้อกระจกนี้ ยังพบได้ในเด็กแรกเกิดที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ลูกตา หรือถูกของมีคม นอกจากนี้โรคทางร่างกายของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคระบบประสาทบางชนิด การได้รับพิษจากสารเคมี จากยา หรือแสงกัมมันตภาพรังสี ก็สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้เช่นกัน

วิวัฒนาการการรักษาต้อกระจก

PDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย : นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์

          ที่ผ่านมาการรักษาต้อกระจกมีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น คือ การผ่าตัดเอาต้อกระจกออก การใช้ยาหยอดตา และการกินยาที่ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้อาการต้อกระจกหายได้ เพราะต้อกระจกเป็นการเปลี่ยนภายในแก้วตา ไม่ใช่เป็นเยื่อบางๆ หรือเนื้องอกหุ้มที่แก้วตา จึงไม่สามารถล้างออกหรือใช้เข็มเขี่ยออกได้

เมื่อผ่าตัดเอาต้อกระจกออกไปแล้วจะทำให้แสงสามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ เพียงแต่ผู้ป่วยจะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนคนปกติเนื่องจากไม่มีแก้ว ตา วิธีการหนึ่งที่จะช่วยผู้ป่วยมองเห็นได้อย่างชัดเจนและปลอดภัยหลังการผ่าตัด ก็คือ การใช้แว่นตาต้อกระจกที่ทำด้วยเลนส์นูน เพื่อทำการหักเหแสงแทนเลนส์แก้วตาธรรมชาติที่ถูกผ่าตัดออกไป
         แว่นตา ต้อกระจกที่ทำด้วยเลนส์นูนนี้มีราคาถูก แต่ก็มีข้อเสีย คือ จะทำให้ภาพที่มองเห็นใหญ่กว่าของจริง และถ้ามองด้านข้างก็จะมองเห็นได้ไม่ชัด สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดต้อกระจกข้างเดียว และตาอีกข้างหนึ่งยังดีอยู่จะใช้แว่นตาเพียงข้างเดียว เพราะถ้าใช้ 2 ตาพร้อมกันจะเกิดปัญหาในการมองเห็น คือ ทำให้เห็นภาพเป็น 2 ชั้น ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
          วิธีต่อมาที่พัฒนามาจากการใส่แว่นตา เลนส์นูนและวิธีเป็นที่นิยมทำกันมากตามโรงพยาบาลในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดแบบเย็บแผล โดยการใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งทำจากสารพวกพลาสติกแข็งที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกายเข้าไปเพื่อ ทำหน้าที่แทนแก้วตาธรรมชาติที่เกิดต้อกระจก เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่เข้าไปนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใส่แว่นตาที่ทำด้วย เลนส์นูนอีกต่อไป การใส่เลนส์แก้วตาเทียมนี้ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกรายที่ไม่มีข้อห้ามและผู้ป่วย ที่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะการใช้เลนส์แก้วตาเทียมเป็นวิธีการแก้ไขสายตายาวหลังการผ่าตัดต้อกระจก ได้ดีที่สุด ทั้งยังให้ความสะดวกสบายกว่ามาก เพราะเป็นการใส่แบบถาวรโดยไม่ต้องเปลี่ยนและไม่ต้องดูแลรักษา เพียงแต่ต้องระวังเรื่องแผลผ่าตัดสักระยะหนึ่ง ควรหมั่นเช็ดตาและหยอดตาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
           ส่วนในผู้ป่วย ที่สายตาสั้นมากๆ หรือพวกที่เคยผ่าตัดแบบไม่ใส่เลนส์เทียมไปแล้วข้างหนึ่ง ก็จะไม่ใส่เลนส์แก้วตาเทียมในอีกข้างหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้สายตาสามารถใส่แว่นตาได้ทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันวิวัฒนาการของการผ่าตัดต้อกระจกได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง คือ ได้พัฒนามาเป็นการผ่าตัดต้อกระจกโดยไม่ต้องเป็นแผล หรือที่เรียกว่า "เฟโคอีมัลซิฟิเคชั่น" การผ่าตัดต้อกระจกแบบใหม่นี้ เป็นการนำคลื่นเสียงความถี่สูงอัลตราซาวนด์มาใช้ในการสลายต้อกระจกแล้วดูด ออกมา จากนั้นจึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทน ในปัจจุบันวิธีการดังกล่าวเป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยยังไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไรนัก ทั้งนี้เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายของเครื่องมือซึ่งมีราคาแพง และความชำนาญของจักษุแพทย์ที่จะต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นกรณีพิเศษ แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาได้มีโรงพยาบาลหลายแห่งพยายามที่จะนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ แต่เพราะข้อจำกัดดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลยางแห่งต้องล้มเลิกไป เท่าที่ทราบว่ายังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมี 2-3 แห่ง ทั้งโรงพยาบาลของรัฐฯและเอกชน
          ในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วย วิธีใหม่นี้ แม้จะสูงกว่าการรักษาแบบเก่า แต่เนื่องจากผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลและไม่ต้องใช้ไหมเย็บแผล ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงได้ และเมื่อเทียบกันแล้ว ค่าใช้จ่ายในการรักษาแบบใหม่จึงสูงกว่าวิธีเก่าประมาณร้อยละ 30-40 ผู้ป่วยบางคนอาจสงสัยว่า การผ่าตัดจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งในความจริงแล้วการผ่าตัดต้อกระจกเป็นการผ่าตัดตาที่จักษุแพทย์ทำกัน อย่างคุ้นเคยมาก เหมือนกับการที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดไส้ติ่ง โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัดก็อาจมีได้แต่น้อย ที่ต้องระวังมากที่สุด ก็คือ เรื่องการติดเชื่อ ต้อหิน เลือดออกในลูกตา จอประสาทตาลอกหรือบวม ซึ่งไม่พบบ่อยนัก
          สิ่งหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการผ่าตัดเป็น เวลานาน คือ ถุงเยื่อหุ้มหลังเลนส์ขุ่น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามัวได้อีก แต่ในครั้งนี้จะไม่รักษาด้วยการผ่าตัด แต่จะใช้แสงเลเซอร์ยิงเจาะเยื่อหุ้มเลนส์ที่ขุ่น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลับมองเห็นได้อย่างชัดเจนโดยจะไม่มัวลงอีก
http://mettaeyecare.org/th/cataract/2010-08-24-05-55-20.html





วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Johann Pachelbel Canon in D Major fantastic version, classical music


อัปโหลดโดย เมื่อ 26 มิ.ย. 2007

Classical music, Johann Pachelbel - Canon in D Major from "London Symphony Orchestra Plays Great Classics"

Johann Pachelbel Canon or Kanon baroque christmas classical music song songs the London Symphony Orchestra

the "London Symphony Orchestra Play Great Classics"

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Qntal "Von Den Elben"

"Siddhartha" film[1972]

 

SUNDAY, MAY 29, 2011

"Siddhartha" film[1972]

a novel by Hermann Hesse



















When someone is seeking," said Siddartha,
"It happens quite easily that he only sees the thing that he is seeking;
that he is unable to find anything,
unable to absorb anything,
because he is only thinking of the thing he is seeking,
because he has a goal,
because he is obsessed with his goal.
Seeking means: to have a goal;
but finding means: to be free, to be receptive, to have no goal.
You, O worthy one, are perhaps indeed a seeker,
for in striving towards your goal,
you do not see many things that are under your nose."


— Hermann Hesse 


[thanks  for uploading the film onto YouTube]

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC (06 ก.พ. 55)



จาก: KSMECare Team <info@ksmecare.com>
วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555, 12:49
หัวเรื่อง: บทความ K SME Analysis เรื่อง การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่องเที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC (06 ก.พ. 55)
ถึง:  




เรียน สมาชิก K SME Care

การพัฒนาธุรกิจ Hospitality ในภาคบริการท่อง เที่ยว...เพื่อก้าวสู่ตลาดอาเซียน AEC

       การเปิดตลาด AEC ส่งผลให้ภาคบริการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มแข่งขันสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการคาดการณ์ของ องค์การการท่องเที่ยวโลก(UNWTO) ที่ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2563 ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคจะกลายเป็นจุดหมายยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก (มีสัดส่วนตลาดเป็น 1 ใน 4 ของตลาด ท่องเที่ยวทั่วโลก) จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจบริการจากต่างชาติ มุ่งขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาจำนวนมากนั้น อีกทั้ง ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนเอง ต่างเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวแห่งใหม่ รวมถึงปรับปรุงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ดังนั้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจบริการท่องเที่ยวของไทย (Hospitality) ควรเร่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยแสวงหาจุดยืนที่แตกต่าง จากการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างการให้บริการที่รายอื่นยังไม่สามารถตอบสนองได้ รวมถึงรักษาระดับมาตรฐานการให้บริการอย่างดีที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยวใน ปัจจุบันนิยมค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียง หากแต่จะเลือกสรรบริการที่มีเอกลักษณ์ สร้างความประทับใจ ด้วย ระดับราคาที่เหมาะสม รวมถึงชอบที่จะทดลองในสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการที่จะขยายส่วนแบ่งในตลาดบริการท่องเที่ยวของไทย ตลอดจนอาจก้าว เข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ในระยะต่อไป


คลิกที่นี่เพื่ออ่านทั้งหมด


กรณีต้องการสอบถามข้อมูล
E-mail: info@ksmecare.com


 

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"ชัยวัฒน์ สถาอานันท์" แนะมธ.อย่าหนีปัญหา จี้เปิด "พื้นที่ปลอดภัยสำหรับความเห็นต่าง" ให้สังคมไทย



"ชัยวัฒน์ สถาอานันท์" แนะมธ.อย่าหนีปัญหา จี้เปิด "พื้นที่ปลอดภัยสำหรับความเห็นต่าง" ให้สังคมไทย

วันที่ 03 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555   เวลา  21:00:00
มติชนออนไลน์

สัมภาษณ์ : พันธวิศย์ เทพจันทร์

 

วันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกตั้งคำถามเรื่อง เสรีภาพทุกตารางนิ้ว ?

 

ธรรมศาสตร์ หลีกเลี่ยงความรุนแรง จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ?

 

สังคมไทยจะก้าวข้ามความขัดแย้งไปได้อย่างไร ?

 

หรือ เราจะต้องเกิด 6 ตุลาคม 2519 ซ้ำรอย อีกครั้ง?

 

"มติชนออนไลน์" สนทนากับ "นักสันติวิธี" รุ่นใหญ่

 

"ชัยวัฒน์ สถาอานันท์" หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

 

................................

 

 

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรมีบทบาทอย่างไรในสภาวะทางสังคมที่มีความขัดแย้งสูงขึ้นและชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ


เรื่องใหญ่ก็คือตอนนี้สังคมไทยต้องการอะไร ความขัดแย้งทั้งหลายรูปแบบตั้งแต่ในภาคเหนือถึงภาคใต้ ปัญหาน้ำท่วม แม้แต่เรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112  ทั้งหมดเนื้อหาจะต่างกันก็จริงแต่มีประเด็นที่คล้ายกันอยู่ก็คือ มันมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่สังคมให้สำหรับความขัดแย้ง ถ้าพูดตามหลักทฤษฎีก็คือ เวลาความขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง นั่นก็เพราะพื้นที่ที่จะให้คนแสดงออกทางความคิดที่ต่างกันนั้นมีน้อยเกินไป เพราะฉะนั้นยิ่งเปิดพื้นที่ให้คนแสดงออกทางความคิดที่แตกต่างหลากหลายมากเท่าไรโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงจะลดลงมากเท่านั้น  
 

แต่เวลาที่คนรู้สึกถูกปิดกั้น ห้ามพูดถึงความรู้สึกในใจของตัวเอง ความรู้สึกคับข้องใจ ความโกรธ อาจถูกพัฒนาไปเป็นความรุนแรงได้  ด้วยเหตุนี้ในที่ต่าง ๆ  ทั่วโลกเวลาเกิดความรุนแรงมักจะจัดการกับปัญหานี้ด้วยหลักประชาธิปไตย เช่น เหตุการณ์วัยรุ่นคนหนึ่งยิงกราดเยาวชนในนอร์เวย์เพราะเรื่องความคิดเห็นต่างทางการเมือง  วิธีการต่อสู้ของเขาคือเอาหลักประชาธิปไตยใส่กลับเข้าไป  ใช้พื้นที่ประชาธิปไตยเพื่อเปิดกว้างสิ่งที่แต่ละคนเสนอความคิดเห็น ลดความเครียดและโอกาสที่จะเกิดความรุนแรง 
 

แต่การทำแค่นั้นในบริบทของสังคมไทยคงไม่พอแล้ว ผมคิดว่าสิ่งจำเป็นที่สังคมไทยต้องการในขณะนี้คือสิ่งที่ผมเรียกว่ามันต้องการพื้นที่ปลอดภัย

 

สำหรับความเห็นที่ต่างที่แท้จริง  ในสังคมการเมืองนั้นมีความเห็นที่หลากหลายและแตกต่างโดยปกติ แล้วความเห็นที่แตกต่างในระดับทั่วไปก็อยู่ในพื้นที่ปกติได้   แต่พอมีความเห็นที่ต่างในประเด็นที่แหลมคม อาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น คำถามคือสังคมควรเปิดพื้นที่ให้กับตัวแทนของคนที่มีประเด็นแหลมขนาดนั้นไหม มันก็ต่อสู้กันทางความคิด บางคนก็บอกไม่ควร บางคนก็บอกว่าควรในนามของสิทธิเสรีภาพ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่อยู่ในใจของแต่ละคนอาจปะทุไปเป็นความรุนแรงได้นั้น วันนี้สังคมไทยมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับ

 

ความคิดเห็นที่แหลมคมออกไป แต่การเปิดพื้นที่เพื่อให้พูดคุยในประเด็นที่แหลมคมอาจจะยังต่างกับการเปิดพื้นที่เพื่อให้มีกิจกรรมทางการเมืองในประเด็นที่แหลมคม
 

เหล่านี้ มธ. ควรทำหน้าที่แรกแต่ไม่จำเป็นต้องทำในหน้าที่อย่างหลัง หน้าที่ของมธ. คือเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับความเห็นที่แปลกใหม่ แตกต่าง หลากหลายในสังคม การทำอย่างนี้จะป้องกันไม่ให้ความเห็นเหล่านี้ถูกลับจนคมกระทั่งกลายเป็นความรุนแรง เพราะมันต้องมาต่อสู้กันในบริบทของมหาวิทยาลัย

 


-ทำไมต้องเป็นมหาวิทยาลัยในการรับหน้าที่ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่สังคม
 

ผมคิดว่าเพราะมหาวิทยาลัยมีกฎเกณฑ์ในตัวเอง มีกฎเกณฑ์ในการแลกเปลี่ยน มีกรอบของมหาวิทยาลัย มีปฏิบัติการทางวิวาทะของมหาวิทยาลัยคอยกำหนดอยู่  ในมหาวิทยาลัยมีมรรยาทบางอย่างอยู่ หลักในการตัดสินเรื่องของการแลกเปลี่ยนกันภายในมหาวิทยาลัยนั้น นอกเหนือจากความเข้าใจว่าเราเป็นนักวิชาการด้วยกัน พูดกันด้วยภาษาวิชาการแล้ว มันต้องมีหลักฐาน หลักการ เหตุผล ซึ่งต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการวิพากษ์วิจารณ์กัน ไม่ใช่ว่าคุณเข้ามาใน

มหาวิทยาลัยนั่งลงแล้วหยิบปืนหรือไม้หน้าสามขึ้นมาวาง หรือเข้ามาแล้วเผาหุ่นเผาฟาง ในมหาวิทยาลัยไม่ทำกันแบบนี้เพราะเป็นสถานที่ที่นั่งลงแล้วแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เขาจะไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงก็ได้ ไม่เป็นปัญหา ซึ่งมหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันอาจจะต้องทำสิ่งเหล่านี้ และตัวมันเองก็จะควบคุมไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น

 

-อธิการบดี มธ. บอกว่า อาจจะควบคุมความขัดแย้งไม่นำไปสู่ความรุนแรงไม่ได้
 

ผู้บริหารก็ตัดสินใจบนความคิดที่เขามีแต่มหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบต่อสังคมในความหมายนี้ด้วย ไม่อยากให้คำนึงว่าควบคุมได้หรือไม่  แต่ควรอธิบายว่า ตราบเท่าที่เป็นการแลกเปลี่ยนกันทางวิชาการ ไม่ว่าประเด็นจะแรงแค่ไหน เป็นเรื่องอะไรก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ทางการเมือง สองเรื่องนี้ต้องแยกออกจากกัน เพราะมหาวิทยาลัยอาจมีเหตุผลที่จะไม่อนุญาตให้มีการรณรงค์ทางการเมืองได้ แต่ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็มีพันธกิจที่จะต้องรักษาพื้นที่สำหรับบทสนทนาอันแหลมคม ทั้งในฐานะของมหาวิทยาลัยเองและความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองประเทศชาติ

 

 

-ทำไมต้องเป็น มธ.

 

มธ.มีหลายสิ่งที่สำคัญกับมัน อย่างแรกคือ หลักการซึ่งเป็นฐานของมธ. คนที่เดินเข้ามาในมธ. คนที่สูดลมหายใจของมธ. มักจะถูกบอกว่าอยู่ในนามของเสรีภาพ ความดีงาม ความถูกต้อง ความยุติธรรม สัญลักษณ์มันเป็นแบบนั้น มธ.เป็นแบบนั้นมาตั้งแต่ท่านผู้ประศาสน์การ อธิการบดียุคต่างๆ ก็พยายามจะทำให้เสรีภาพมีทุกตารางนิ้ว หรือแม้แต่ประชาคมธรรมศาสตร์เองก็เป็นแบบนี้ ดังนั้นมธ. ก็ควรเป็นตัวแทนยืนอยู่บนฐานของความถูกต้อง แล้วในหน้าประวัติศาสตร์ทุกครั้งที่มธ. ยืนแบบนั้นจะเกิดปัญหามาตลอด แต่มันก็ยังยืนต้านลมต้านฝนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสัญลักษณ์ ที่สอน ๆ กันมา ซึ่งผมคิดว่ามันจริงมากกว่าที่จะเป็นสัญลักษณ์ ทุกคนก็พยายามที่จะทำสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นมธ. จึงมีพันธกิจนี้มาตั้งแต่ก่อตั้ง แล้วถูกถ่ายทอดสะสมมาจากรุ่นสู่รุ่น จากประสบการณ์ทางการเมืองที่มี

บางประสบการณ์น่าสลด อันตราย อย่าง 6 ตุลาคม 2519  ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เพราะมธ. มีประสบการณ์แบบนั้น มธ.จึงมีพันธกิจที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย 
 

สมมติว่า ถ้าสังคมไม่มีใครยืนขึ้นแล้วบอกว่ามีพื้นที่ปลอดภัยให้สำหรับคนที่เห็นต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคมนะ  มีพื้นที่สำหรับคนที่คิดต่างไปเลยจากกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างกรณีปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  ปัญหาเหล่านี้จะไม่มีวันหมดไปหากไม่ให้พื้นที่ปลอดภัยให้เขาได้แสดงความคิดเห็นหรือพูดถึงปัญหาออกมา  สังคมจะแก้ปัญหาให้คนในสังคมได้อย่างไรหากคนในสังคมนั้นไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดถึงปัญหาของตัวเอง
 
-แล้ว มธ. เอง จะควบคุมความขัดแย้งไม่ให้นำสู่ความรุนแรงได้ไหม
 

ถ้าคิดจากพันธกิจของมธ. แล้ว คิดจากประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สังคมก็จะนึกว่า มธ. มีบทบาทที่จะนำความขัดแย้งระดับใหญ่ไปสู่ความรุนแรงเพียงอย่างเดียว  ถ้าหาก มธ. คิดว่า ประเด็นแหลมคมเหล่านั้นสำคัญแต่ไม่ควรให้คนกลุ่มหนึ่งมาใช้พื้นที่ของ มธ. ในการจัดเวทีเสวนา เหตุนี้ทำไม มธ. ไม่จัดเองเสียเลย ทำไมต้องให้นิติราษฎร์ 
 

ถ้ากลัวว่าจะคุมคนกลุ่มหนึ่งไม่ได้นั้น มธ. ก็ควรจะเป็นแม่งานเสียเอง  ประวัติศาสตร์ของเราก็เคยมี เช่น เมื่อ 6 พฤศจิกายน  2515 มีสัมมนาวิชาการครั้งใหญ่ที่ มธ.  ชื่อ "สังคมนิยมไทยในสังคมไทย" ความสำคัญของการสัมมนานั้น ข้อแรกสถาบันที่จัดสัมมนานี้คือสถาบันไทยคดีศึกษา มีท่านผู้หญิง พ.อ.หญิง ดร. นิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการ สถาบันไทยคดีศึกษาก่อตั้งโดยม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช ตอนนั้น มี ศ.ดร. สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นอธิการบดีมธ. คนเหล่านี้คงเห็นชัดว่าท่านมาจากไหน ภูมิหลังเป็นใคร สิ่งที่ท่านเป็นยืนอยู่กับหลักการด้านไหน  แล้วสิ่งที่ท่านเหล่านี้ทำก็คือให้จัดงานสัมมนาใหญ่ขนาดนี้ คนที่มาพูดในงานนั้นคือ ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช,  ดร. อัมมาร สยามวาลา, เสน่ห์ จามริก, เกษม ศิริสัมพันธ์ ซึ่งตอนนั้นทุกท่านเป็นผู้ใหญ่ทางการเมือง ต่างก็มีประเด็นของตัวเองและมีจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างกัน และพูดเรื่องสังคมนิยมในสังคมไทยตอนปลายปี 2515  แน่นอนบริบทสังคมไทยตอนนั้นคือการต่อต้านคอมมิวนิสต์และลัทธิสังคมนิยม
 

ประเด็นที่สองก็คือบริบทของการสัมมนาที่พูดคือ เรื่องสงครามเวียดนาม พูดถึงความเสี่ยงของสังคมไทยที่ทฤษฎีโดมิโนกำลังแพร่กระจาย ซึ่งขณะนั้นการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์รุนแรงมาก และที่สำคัญคือบริบททางกฎหมายเพราะว่าประเทศไทยขณะนั้นอยู่ภายใต้ของพ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 2495  ซึ่งมาตรา 3 ได้นิยามคอมมิวนิสต์ไว้หลายข้อ ข้อหนึ่งคือให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือปัจจัยในการผลิตของเอกชนตกเป็นของรัฐ โดยมิได้มีการทดแทนค่าชดเชยโดยเป็นธรรม เพราะฉะนั้นใครมาพูดเรื่องสังคมใด ๆ ก็ตกเป็นคอมมิวนิสต์ทั้งนั้น ต่อมาก็มีคำอธิบายที่ใกล้ ๆ กันคือ สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์ แต่มธ. โดยสถาบัน โดยชื่อของคนเหล่านั้น โดยผู้บริหารเหล่านั้นก็จัดให้มีสัมมนาใหญ่ขึ้นที่มธ. ได้ ที่สำคัญที่สุดคือวันนั้นในหลวงเสด็จพระราชดำเนินมาฟังด้วยพระองค์เองจนจบและประชาชนที่สนใจก็มาจนเต็มไปหมด นี้เป็นมรดกเป็นประวัติศาสตร์ของมธ.  อย่างหนึ่งและเป็นทางออกอย่างหนึ่งที่มธ. ทำได้ในแง่ของวิชาการครับ ไม่ใช่ผลักออกไป

 


-ช่วงเวลานั้น มธ. ถูกกล่าวหาว่าเป็นมหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์ 
 

คนที่ไม่ชอบมีทั้งนั้นในสิ่งต่าง ๆ  แต่ความสำคัญคือผู้บริหารมหาวิทยาลัย  ผู้บริหารสถาบัน นักวิชาการของมธ. ก็มีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคม  ถึงแม้มีคนไม่ชอบแต่มธ. ก็ตัดสินใจสร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นผลดีในหลายลักษณะ นี่คือเป็นประเพณีของ มธ. ที่เคยทำกันมา 
 

คำถามที่โยนกลับไปว่าวันนี้ มธ.ควรทำสิ่งเหล่านั้นหรือไม่  ตั้งแต่ 2515 จนถึงปัจจุบันมธ.เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ผมคิดว่าพันธกิจของมธ. ประวัติศาสตร์ของ มธ.เอง  ปัญหาของสังคมไทยที่เผชิญอยู่ มธ. จะลอยตัวอยู่เหนือปัญหาอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะเอาตัวรอดอย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันก็เข้าใจว่ามันมีความเสี่ยงและบางเรื่องที่ต้องระวัง คนวิพากษ์วิจารณ์กันทั่ว สังคมก็แตกแยก ในท่ามกลางกระแสเหล่านี้มธ. จะช่วยเหลือสังคมด้วยวิธีการใดบ้าง รักษาความเป็นธรรมศาสตร์ และสอดคล้องกับประเพณีของมธ. ซึ่งได้ยกตัวอย่างไปแล้ว และคิดว่าเราน่าจะทำได้

 

-ถ้าพื้นที่ปลอดภัยทับซ้อนกับพื้นที่ที่ใช้เคลื่อนไหวทางการเมืองล่ะ


อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง และเป็นเรื่องจะเป็นที่จะทำยังไงให้เข้าใจความขัดแย้งที่มีอยู่ ทำยังไงถึงจะป้องกันมหาวิทยาลัยได้ ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิด 6 ตุลาคม 2519 ซ้ำขึ้นอีก แต่ในทางกลับกันถ้าไม่มีพื้นที่ปลอดภัยเลย สถานการณ์แบบ 6 ตุลานั้น หรือสถานการณ์ที่คนฆ่ากันด้วยความเกลียดชังก็อาจจะเกิดขึ้นได้ในที่อื่นๆ  ความรุนแรงที่เกิดในสังคมไทยไม่ว่าที่ไหนก็เสียใจทั้งนั้น เพราะฉะนั้น มธ.มีหน้าที่ไหมที่ต้องทำ มธ. สามารถทำได้ไหมนั้นเป็นคำถามที่มธ. ต้องถามตัวเอง ครับ


-ถ้าจะให้ออกแบบโมเดลการคุยเรื่องที่แหลมคมควรแบบไหนอย่างไร นอกจากให้มธ. เป็นแม่งาน

 

หนึ่งหลักการของการจัดงานประเภทแบบนี้ต้องอยู่บนฐานของต้องมีทุกฝ่าย การบอกว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยไม่ใช่เอาคนที่คิดเหมือนกันมานั่งแล้วพูดซ้ำ ๆ ซ้อน ๆ กันหรือไปในทางเดียวกัน แต่ต้องให้พื้นที่กับคนที่คิดต่างกันจริง  ๆ มานั่งด้วยแล้วคุยกัน สนทนากันบนพื้นที่ของมธ. ดังนั้นหลักการคือรวบความคิดที่แตกต่างจริง ๆ เข้ามาด้วยกัน  ซึ่งนั่นจะกลายเป็นแนวทางว่า มธ. ควรจะเชิญใครมาเป็นผู้บรรยาย
 

สองคือจะต้องตระหนักว่าขณะนี้มีสภาพของความขัดแย้งสูงในสังคมไทย เพราะฉะนั้นก็อาจจะต้องมีพื้นที่ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตจุคนเป็นแสน แล้วกฎเกณฑ์ของการเข้ามาใน มธ. ก็ต้องพูดกันให้ชัดถึงกฎเกณฑ์ว่า ยังมีความขัดแย้งที่อาจนำไปสู่รุนแรงอยู่  ในบางเรื่อง มธ.อาจจะไม่ต้องทำแบบนี้ แต่ในเรื่องที่แหลมคม บางคนเชื่อว่ามันสำคัญต่อชีวิตเขา มธ. ก็ต้องเคารพความรู้สึกถึงความสำคัญนั้น ในขณะเดียวกันเสรีภาพ ความเสมอภาค ก็สำคัญมากสำหรับคนอีกกลุ่มหนึ่งเหมือนกัน แล้วสังคมไทยก็เดินมาถึงจุดนี้แล้ว ดังนั้นก็ต้องคิดเวลาจะจัดงานแบบนี้

 

-พาดหัวข่าวในสื่อหนังสือพิมพ์ยุคปัจจุบันไม่ได้นำไปสู่การคุยกันด้วยสันติวิธีจะสะท้อนอย่างไร
 

มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจต่อกระบวนการสื่อสารมวลชนคือ วันนี้ไม่เหมือนเหตุการณ์ก่อน 6 ตุลาคม 2519 เพราะในตอนนั้นสื่อแบ่งออกเป็นข้างครึ่ง คือข้างหนึ่งก็ชัดเจนว่าอยู่ในระบบเผด็จการ ขณะที่อีกหลายสื่อก็เลือกที่จะเงียบเสีย แต่ปัจจุบันสื่อมีสองข้างชัดเจน 
 

ประเด็นที่สองคือปัจจุบันแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นหลากหลายมากขึ้น แล้วคนในมหาวิทยาลัยก็รับข้อมูลเหล่านี้มาพอสมควร  ถ้ายังสนทนากันได้บนพื้นฐานของมิตรภาพได้นั้นก็เป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยควรทำ อีกอย่างของพื้นที่นี้คือมหาวิทยาลัยคงไม่ได้คิดกันว่าใครเป็นศัตรู มันก็คิดว่าประตูเปิดสำหรับการสนทนากันแม้จะเห็นต่างกันโดยเด็ดขาดก็ไม่เป็นไรสามารถคุยกันได้

 

-ในแง่หนึ่งกลุ่มนิติราษฎร์ก็พูดชัดเจนว่า สิ่งที่นิติราษฎร์ทำอยู่ในกรอบของสิทธิ เสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์เองก็ชัดเจนว่า เป็นรัฐราชอาณาจักร แต่ทำไมทุกครั้งกลุ่มคนที่ต่อต้านแนวคิดของนิติราษฎร์ต้องกล่าวหาว่า นิติราษฎร์กำลังล้มเจ้า 
 

คณะนิติราษฎร์มีประเด็นที่ค่อนข้างชัดเจนในหลาย ๆ เรื่อง แต่ปัญหาประการหนึ่งของนิติราษฎร์คือ ข้อเสนอของนิติราษฎร์มีหลายเรื่องอยู่ในหัวข้อเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่มันยังมีประเด็นอื่น ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การที่นิติราษฎร์นำเสนอหัวข้อหลากประเด็นปนกันอยู่นั้น มันก็จะออกมาเป็นหีบห่อ ดังนั้นนิติราษฎร์จึงถูกจัดวางในที่ต่าง ๆ ได้ง่าย 
 

โจทย์ของผมตอนนี้คือ สังคมไทยต้องการอะไรและเข้าใจเรื่องอะไร เพื่อหาคำตอบก็ต้องมีกระบวนการคิดริเริ่มคิด เช่น สังคมต้องการพูดถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มหาวิทยาลัยก็ควรแสดงบทบาทเชิญคนที่มาจากมุมต่าง ๆ แน่นอนว่าการจัดงานเสวนาลักษณะนี้ไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขหรือไม่แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่เป้าหมายคือการสร้างความเข้าใจให้แก่สังคม แล้วคนในหลายส่วนที่ต้องการจะทำบางสิ่งแก่สังคมนั้นก็ใช้เวทีนี้อธิบายสิ่งที่ตัวเองต้องการจะทำเพื่อสังคมภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัย แต่หลักสำคัญก็คือ ต้องเชิญบุคคลมาจากหลาย ๆ ฝั่ง หลาย ๆ ความคิดให้มาพูดกัน
 

ประเด็นสำคัญก็คือ ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับความเห็นที่แตกต่างในการพูดประเด็นที่มีความแหลมคม  ไม่ใช่จัดงานแล้วเชิญคนมาเพียงฝั่งเดียว แบบนี้มหาวิทยาลัยก็ถูกกล่าวหาว่าเลือกข้างได้ง่าย วิธีเชิญคนฝ่ายเดียวมาแสดงความเห็นเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ควรทำ

 

-ถ้ามีคนต้องการให้พื้นที่ปลอดภัยไม่ปลอดภัยล่ะ เช่นมีม็อบจัดตั้งหรือมวลชนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเข้ามาในงานเสวนา

 

แน่นอนว่ามันก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยก็ต้องประเมินว่าจะจัดเป็นเวีทีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ทั้งนี้ถ้ามหาวิทยาลัยเริ่มต้นว่า มันมีปัจจัยความเสี่ยงเยอะในการพูดประเด็นที่แหลมคมมหาวิทยาลัยก็ไม่จัดงานเสวนาในเรื่องนั้น 
 

แต่ถ้าพิจารณาบทบาทของ มธ. ตอนนี้ไม่อยากให้คณะนิติราษฎร์ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยจัด ทางออกของมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร  ผมคิดว่า ถ้าเป็นแบบนี้มหาวิทยาลัยก็เป็นคนจัดเองไปเสียเลย โดยเฉพาะในประเด็นที่สำคัญ บนฐานของความเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ปลอดภัยสามารถพูดได้ในเรื่องทางวิชาการ ไม่ใช่ไปปิดปากเขาเหมือนสิ่งที่มธ. กำลังทำอยู่

 

-บทบาทของมหาวิทยาลัยคือต้องตอบโจทย์ของสังคมให้ได้ว่าสังคมต้องการอะไร

 

ใช่ มหาวิทยาลัยต้องตอบคำถามนี้ แน่นอนว่าคนจำนวนหนึ่งมาถึงแล้วจะบอกว่า สังคมต้องการความปรองดอง สังคมต้องการความสงบ  แต่ความปรองดองที่ไปกดทับความขัดแย้งนั้นมันไม่เคยเป็นความปรองดองที่แท้จริง ความปรองดองมันอยู่บนฐานของการยอมรับความจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสังคม แล้วนำความจริงเหล่านั้นมาวางอยู่บนเวทีซึ่งมีอารยะแล้วแลกเปลี่ยนกัน แล้วต้องพยายามทำความเข้าใจคนซึ่งคิดต่างจากเราโดนสิ้นเชิงว่าเขาคิดอย่างไรทั้งสองฝ่าย

 

-ความขัดแย้งในสังคมซ่อนอะไรไว้
 

ความขัดแย้งในสังคมตอนนี้ซ่อนอะไรอยู่หลายอย่าง ปัญหาของสังคมไทยตอนนี้มันยากและซับซ้อนเพราะความขัดแย้งมันฝังลึกมากกว่าหนึ่งชั้น เวลานี้คนในสังคมไทยขัดกันแล้ว ตั้งแต่เรื่องของรูปแบบของระบอบการปกครองที่พึงประสงค์ พวกหนึ่งก็ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องการรัฐบาลที่มีเสียงในสภาจำนวนมาก จะได้บริหารประเทศได้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด อีกพวกหนึ่งก็ต้องการองค์กรบางอย่างคอยทำหน้าที่ควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเพราะการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม รูปแบบของรัฐบาลก็เถียงกัน

 

ยังไม่รวมถึงการถกเถียงกันระหว่างกลุ่มคนที่เชื่อว่าการเลือกตั้งคือคำตอบในระบอบประชาธิปไตย อีกพวกหนึ่งเชื่อว่า การเลือกตั้งเป็นปัญหา ไว้ใจการเลือกตั้งไม่ได้เพราะว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียง ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า คนในสังคมหลายส่วนเชื่อว่า คำตอบใหญ่ของการเมืองไทยเรื่องผู้ครองอำนาจรัฐจำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบที่สังคมไทยต้องการเสียทีเดียว ยังมีคนไม่พอใจอีกเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีคนมาเลือกตั้งมากมาย แต่คนที่เลือกอาจจะพอใจระบอบนี้ บางพวกอาจจะมาเลือกโดยไม่ได้พอใจระบอบบนี้ก็ได้
 

กลุ่มแนวคิดทั้งสองอย่างนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือ ตอนนี้พอเวลามีคนมาถกเถียงกันเรื่องนี้ก็จะมีการถามกันว่า คุณเป็นคนไทยรึเปล่า จุดนี้คือความขัดแย้งของจินตนาการความเป็นชาติไทย พอถึงจุดนี้มันเป็นปัญหาใหญ่มาก  สังคมต้องมาตั้งคำถามกันว่าจะนิยามความเป็นไทยอย่างไร แต่ปัญหาคือเราไปตัดสินคนที่คิดไม่เหมือนเราว่า ไม่ใช่คนไทย ปัญหานี้เองก็จะนำไปสู่อดีตที่เราเคยเผชิญมาเช่น การจับคนที่เห็นต่างเป็นกลุ่มคนชั่วร้าย เป็นปีศาจ เสร็จแล้วก็ใช้ความเกลียดชังมาตัดสิน
 

แต่ในบริบทของมหาวิทยาลัยเวลาที่ใครสักคนเข้ามาถกเถียงกัน ไม่มีใครเขามากล่าวหาว่า เราเป็นปีศาจชั่วร้าย อย่างมากก็บอกกันในแง่ว่า ฉลาดหรือโง่   แต่ไม่มีใครในมหาวิทยาลัยมาบอกว่า เราเป็นปิศาจร้ายต้องกำจัดออกไป มีแต่มาเถียงกันตามหลักการและเหตุผล นี่คือการทำงานของมหาวิทยาลัยต้องเป็นแบบนี้ต่างหาก

 

-ทำไมเวลามีการถกเถียงกัน คนในสังคมบางส่วนจะใช้จินตนาการในการฟาดฟันกันมากกว่าใช้เหตุผลในการถกเถียงกัน มันจะสายไปหรือไม่ถ้าสังคมไทยยังใช้

 

จินตนาการของความเป็นไทยมาถามกันว่า คุณเป็นคนไทยรึเปล่า   ความมั่นคงของสังคมไทยคล้ายกับความพยายามที่จะพ่อแม่จะสร้างบ้านให้ลูก ๆ อยู่ด้วยกันโดยที่รู้ว่าคนในบ้านมีความคิดมีอัตลักษณ์ต่างกัน มีลูกสาว ลูกชายซึ่งก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แต่งตัวก็ต่างกัน สิ่งที่สนใจก็ต่างกัน แต่จะอยู่ในบ้านนั้นได้ก็ต้องสร้างพื้นที่ให้พวกเขา มีห้องส่วนตัวสำหรับลูกชายและลูกสาวแยกจากกัน แต่ถ้าหัวหน้าครอบครัวไปบังคับพวกเขาต้องอยู่ห้องเดียวกัน ต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น เจ้าบ้านคงบังคับตัวเขาได้ แต่บังคับใจพวกเขาไม่ได้ แล้วใจมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่เขาจะรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านหลังนี้หรือไม่ 
 

นี่คือปัญหาตั้งแต่เมืองหลวงไปจนถึงปัตตานีก็เป็นปัญหาลักษณะนี้ทั้งสิ้น แต่ที่สังคมทำกันอยู่นั้นคือหัวหน้าครอบครัวลูก ๆ ของตัวเองว่า ถ้าไม่พอใจก็ออกไปสร้างบ้านอยู่เป็นของตัวเองสิ แล้วการพูดในลักษณะแบบนี้จะทำให้พวกเขาไม่อยากอยู่ในบ้านหลังอีกต่อไป พวกเขาก็จะทำลายบ้านเพื่อจะได้สร้างหลังใหม่

 

ประเด็นคือ เราจะทำอย่างไรให้คนไม่ทำลายบ้านตัวเอง เราก็ต้องมีพื้นที่ให้พวกเขา เราอยู่ในบ้านเดียวกันมันก็เป็นเรื่องปกติที่ต้องทะเลาะกัน แต่พอทะเลาะกันแล้วแต่ละคนต้องมีพื้นที่เป็นของตัวเองเพื่อหลีกหนีไปนั่งอยู่คนเดียว ดูทีวีฟังวิทยุ พักใจระงับอารมณ์สักพักหนึ่ง เราต้องสร้างบ้านแบบนี้ บ้านใหญ่ที่มีหลาย ๆ ห้องสำหรับคนที่มีความหลากหลาย แต่ก็ต้องมีห้องรวมเช่น ห้องอาหารมากินข้าวพร้อมกันเป็นมรรยาทตามสมควร  ถ้ามีเวลาทะเลาะกันก็สามารถแยกย้ายไปอยู่ในห้องส่วนตัวของตัวเอง ไปนั่งระบายความในใจเขียนไดอารี่ จดบันทึก แสดงความคิดเห็นของตัวเอง

 

 

-แต่ในแง่หนึ่ง สังคมไทยก็เป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจมานาน การกระจายอำนาจ สร้างพื้นที่ส่วนตัวสำหรับความแตกต่างจะเป็นไปได้อย่างนั้นหรือ
 

รัฐไทยไม่ได้เป็นรัฐรวมศูนย์มานานอย่างที่ใคร ๆ คิด ระยะรวมศูนย์ของไทยมันสั้นมาก ในทางกลับกันรัฐไทยรวมศูนย์มา ร้อยกว่าปีเท่านั้น แล้วพอรวมได้ไม่นานก็เกิดปัญหาอย่างที่เห็นอยู่ในสังคม ตอนนี้การเมืองไทยก็กระจัดกระจายอำนาจกันเต็มไปหมด  ยกตัวอย่างง่าย ๆ มีข่าวว่า ในคุกบางแห่งถึงขนาดที่ผู้คุมนักโทษซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ก็ยังกลัวนักโทษบางคนที่มีฐานอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ  ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐไม่ได้มีอำนาจรวมศูนย์อย่างที่ใครคิด

 

-วิเคราะห์ได้ไหมว่า ถ้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังไม่ยอมแสดงบทบาทความเป็น "พื้นที่ปลอดภัย" สังคมจะเผชิญกับอะไร
 

มหาวิทยาลัยมีบทบาทที่จะต้องทำบางสิ่งอยู่แล้ว แต่มหาวิทยาลัยจะเลือกทำบทบาทอะไรนั้นก็ต้องดูว่า การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยอยู่บนฐานของอะไร  แต่ในแง่หนึ่งเราพอรู้ว่าปัจจัยอะไรที่จะนำความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรง ตรงส่วนนี้มหาวิทยาลัยมีประสบการณ์เป็นอย่างดี สังคมไทยเองก็มีประสบการณ์ พอจะมีความรู้อยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น เวลาความขัดแย้งมันกลายเป็นความรุนแรง เหตุผลประการหนึ่งที่นำไปสู่จุดนั้นก็คือ เราลากความขัดแย้งยาวเกินไป สถาบันการเมืองที่เคยอุ้มชูสังคมมันจึงอ่อนกำลังลง พออ่อนกำลังไปถึงจุดหนึ่งก็ไม่มีอะไรไปคัดค้านความขัดแย้งไว้ได้ สุดท้ายก็นำไปสู่ความรุนแรง
 

สังคมรู้ว่าเมื่อสังคมมีความขัดแย้งทางการเมืองนั้นเวลาถกเถียงกันกับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ต่อสู้กับอำนาจรัฐ  อำนาจทุนหรืออำนาจอะไรก็แล้วแต่นั้น ในแต่ละกลุ่มก็จะมีโทนสามเสียง คือ โทนเสียงกลาง ๆ และโทนเสียงตกขอบรุนแรงทั้งสองฝั่ง เวลาที่ความขัดแย้งจะไปสู่ความรุนแรงในสังคมการเมืองนั้นก็คือ เมื่อเสียงข้างน้อยหรือเสียงรุนแรงตกขอบทั้งสองฝั่งกลายเป็นเสียงที่ดังกว่าเสียงโทนกลาง ๆ  ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง พอเป็นแบบนั้นก็จะนำไปสู่ความรุนแรง

 

สังคมรู้ต่อไปว่า ในสังคมการเมืองถ้ามีการใส่ยาพิษให้สังคมเยอะ ๆ  สาดโคลนป้ายสีกัน ยาพิษที่เรียกว่า ความเกลียด สังคมก็เตรียมนับวันที่จะเกิดความรุนแรงได้เลยถ้าคนในสังคมยังช่วยกันใส่ยาพิษให้กับอีกฝ่าย สาปแช่ง เห็นว่าอีกฝ่ายไม่ใช่มนุษย์ เป็นปีศาจ ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกันได้ เหล่านี้คือ ยาพิษทั้งนั้น 
 

สังคมมีความรู้ มีประสบการณ์ มีหลักวิชาการว่าอะไรที่เป็นปัจจัยจะนำไปสู่ความรุนแรง ด้วยเหตุนี้คนในสังคมถ้าต้องการให้ความขัดแย้งไม่นำไปสู่ความรุนแรง เราก็ต้องป้องกันปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาเกิดขึ้นในสังคม  ไม่มีใครคาดคะเนอนาคตได้แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลักการ มีประสบการณ์ มีวิชาความรู้ในตัวมันเองที่สะสมกันมาตามประวัติศาสตร์ทางการเมือง ประชาคมธรรมศาสตร์หลายคนก็พอรู้ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ความขัดแย้งนำไปความรุนแรง เพราะฉะนั้นทำไมมหาวิทยาลัยไม่อาศัยจุดแข็งในส่วนนี้เป็นฐานในการตัดสินว่า มหาวิทยาลัยควรจะทำอย่างไรกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ตัดสินใจเพื่อสังคมไทยเอง ทั้งต่อเพื่ออนาคตทางการเมืองและทั้งต่อการรักษาสถานะของมธ. เอง

ในฐานะสถาบันวิชาการที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมตลอดมา

 

-เมื่อดูบริบท ณ ตอนนี้ของสังคมไทย เหตุใดเสียงโทนกลางจึงเงียบหรือไม่เคยกลายเป็นเสียงกระแสหลักในสังคมไทยเลย
 

บางเรื่องเสียงที่เป็นโทนกลางก็ยังเยอะอยู่  แต่ว่าในเรื่องของความขัดแย้งที่สังคมเผชิญอยู่ ถ้ายิ่งไปปิดกั้น มันก็จะเหลือแต่เสียงสุดโต่งที่ร้องแรกออกมา แล้วก็จะกลายเป็นเสียงกระแสหลักไปในที่สุด

 

-ความขัดแย้งที่สังคมไทยกำลังเผชิญมันกำลังสะท้อนอะไรให้คนในสังคมไทยรู้
 

คำถามนี้ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของอ.ปรีดี พนมยงค์เกี่ยวกับความเป็นอนิจจังของสังคม แต่ผมจะพูดในบริบทว่า ความเป็นจริงก็คือความเปลี่ยนแปลง สังคมไทยกำลังเปลี่ยนด้วยพลังซึ่งต่อสู้ขัดแย้งกันอย่างแรงในหลาย ๆ ที่  ในความเปลี่ยนแปลงมันทำให้เกิดสองอย่างคือ ความกังวล สิ่งนี้ทำให้หลายส่วนในสังคมกังวลว่า สังคมไทยจะเปลี่ยนจริงหรือไม่ แล้วจะเปลี่ยนไปอย่างไร เกิดความไม่ไว้วางใจ แล้วส่วนที่สองที่ร้ายกว่านั้นก็คือ คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีกำลังบางอย่างก็อาจจะมีความกลัวสูง แล้วความกลัวที่เป็นอันตรายที่สุดคือ ความกลัวที่นำตัวเองไปสู่จุดที่เชื่อว่า ตัวเองสามารถหยุดเวลาไว้ได้ 

 

 

-สุดท้ายทำอย่างไรให้คนมีกำลัง มีอำนาจทางการเมืองไว้ใจในคนที่เชื่อในความเปลี่ยนแปลง
 

ตอนนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ยาก ความไว้ใจไม่ใช่สิ่งที่อยู่ดี ๆ จะเกิดขึ้นได้ การสร้างความไว้ใจ การเรียกร้องให้คนไว้ใจเหมือนกับการเรียกร้องให้คนก้าวเท้าออกไปผจญภัย ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเที่ยว เราไปในที่ ๆ เราไม่รู้จัก พอเราไปถึงเราต้องไว้ใจหลายสิ่งมากมาย ต้องไว้ใจคนขับแท็กซี่ว่า ไม่โกงมิเตอร์  ไว้ใจโรงแรมว่า ได้ห้องที่จองไว้ ต้องไว้ใจไกด์ว่าจะไม่พาหลงทาง ทั้งหมดนี้คือความไว้ใจ มันจำเป็นในเวลาที่เราจะออกเดินทางไปสู่การผจญภัยครั้งใหม่ ตัวอย่างนี้สะท้อนสังคมไทยขณะนี้อยู่ในช่วงเวลาของทางแพร่งแล้วจะเลือกว่า จะออกไปสู่การผจญภัยครั้งใหม่หรือจะอยู่ที่ห้องเดิม ๆ  แน่นอนการเดินออกไปผจญภัยต้องการความไว้ใจ แต่ต้องรู้ว่าคุณลักษณะอย่างหนึ่งของความไว้ใจคือ มันต้องมีความเสี่ยงก่อน

 

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องดีๆ (อ่านให้ได้นะค่ะ ดีจริงๆ)




จาก: Kittiya Sophonphokai <kittiya@ombudsman.go.th>
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555, 13:04
หัวเรื่อง:  เรื่องดีๆ (อ่านให้ได้นะค่ะ ดีจริงๆ)
ถึง:


 

 

 

เรื่องดีๆ เรื่องนี้ได้รับ Forward mail มาจากสมาชิกเครือข่ายฯ ท่านหนึ่ง เจี๊ยบอ่านแล้วจึงส่งต่อมาให้ค่ะ

หากสมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังความไม่เป็นธรรมทุกท่านได้อ่าน ท่านก็จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินต้องการให้เกิดขึน กรุณาส่งต่อความดีที่ท่านมีไปยังคนที่อยู่ตรงหน้าต่อๆ ไปนะค่ะ

รักค่ะ

 

กิตติยา(เจี๊ยบ) โสภณโภไคย

นักวิชาการอาวุโสระดับสูง

สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

'  0 2141 9277, 08 5151 6298   7 0 2143 8373

* kittiya@ombudsman.go.th or

     sophon_kit@hotmail.com

 

 

 

  

 

 


  


 

 

 

 

 

 







ต้นแอปเปิ้ล กับ เด็กน้อย (จริยธรรม : กตัญญูกตเวทิตา)



จาก: Kittiya Sophonphokai <kittiya@ombudsman.go.th>
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2555, 11:13
หัวเรื่อง:  ต้นแอปเปิ้ล กับ เด็กน้อย (จริยธรรม : กตัญญูกตเวทิตา)
ถึง:


เรียน สมาชิกเครือข่ายเฝ้าระวังความไม่เป็นธรรมและผู้ที่เกี่ยวข้องที่รักทุกท่าน

 

เนื่องจากช่วงนี้ เจี๊ยบยังไม่ได้คิด Create หรือเขียนโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรมที่เจ็งๆ ขึ้นมา เจี๊ยบจึงขอเก็บเกี่ยวจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) จากโลกสังคม Online  ที่ได้รับส่งต่อ ( Forward mail) มาจากเพื่อนๆทางไฟเบอร์ (Fiber) ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว เจี๊ยบเห็นว่า ดี ก็จะส่งต่อให้กับทุกท่านมาเนืองๆ อีกทั้ง บางเรื่องที่ส่งมาหลายๆท่านก็อาจจะเคยอ่านแล้ว โดยไม่ได้พูดคุยกับทุกท่านเลย แต่วันนี้ พอจะมีเวลาเลยถือโอกาสคุยยาวหน่อย :O)

 

ครั้งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "จริยธรรมแรกที่เราทุกคนต้องมีและเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา" ด้วยการ "การลงมือปฏิบัติกับคนที่อยู่ตรงหน้าและโดยทันที" (วลีเด็ดนี้ เจี๊ยบได้มาจากอาจารย์พลอากาศตรีนายแพทย์บุญเลิศ จุลเกียรติและอาจารย์ทันตแพทย์หญิงศรีใบตอง บุญประดับ) คือ การกตัญญูกตเวทิตาต่อพ่อแม่ รวมไปถึงผู้มีพระคุณทุกคนที่เลี้ยงดูเรามา (กรณีกำพร้าพ่อและแม่หรือพ่อแม่ไม่ได้เลี้ยงดูเรา) ซึ่งจะด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบของพวกเราทั้งต่อการงานและครอบครัวในปัจจุบัน ที่อาจจะทำให้เราบางคนได้หลงลืมไปบ้าง หรือมัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่งกันอยู่

ขอรบกวนท่านลองอ่านเรื่อง "ต้นแอปเปิ้ลกับเด็กน้อย" นี้ดู จะทำให้ท่านคิดถึงคนๆ นั้น และหากยังไม่สายเกินไป ท่านก็ลงมือทำกันซะวันนี้เถอะค่ะ แล้วความเสียใจกับคำว่า "หากวันนั้นเรา.......ก็คงจะไม่........." ก็จะไม่เกิดขึ้นกับท่าน และไม่เฉพาะกับการกตัญญูกตเวทิตากับพ่อแม่/บุพการีเท่านั้น แต่เป็นการกระทำดีทุกอย่างกับคนที่เรารักทุกคน นั่นคือ "การลงมือทำทันทีกับทั้งคนที่อยู่ตรงหน้าโดยเฉพาะกับคนที่เรารักทุกคน" (ขอเน้น!! อย่ามัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่งนะค่ะ)

 

ป.ล. เจี๊ยบต้องขอโทษด้วยนะค่ะกับการเขียน/พูดทับศัพท์ไทยปนอังกฤษบางคำ เนื่องจากอังกฤษสั้นๆ 2-3 คำ จะให้ความหมายที่เข้าใจง่ายและลึกซึ้งมากกว่า การใช้ภาษาไทยที่แปลมาแล้ว 2-3 คำ โดยไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม

 

ด้วยรักและระลึกถึงทุกท่านเสมอค่ะ

 

กิตติยา(เจี๊ยบ) โสภณโภไคย

นักวิชาการอาวุโสระดับสูง

สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

'  08 5151 6298, 0 2141 9277  7 0 2143 8373

* kittiya@ombudsman.go.th or

     sophon_kit@hotmail.com

 

 
Sent from my iPad

 

Subject: ต้นแอปเปิ้ล กับ เด็กน้อย

 

 

 

 

 

 

ต้นแอปเปิ้ล กับ เด็กน้อย
นานมาแล้วมีต้นแอปเปิ้ลใหญ่อยู่ต้นนึง
และก็มีเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คนนึง
ชอบเข้ามาอยู่ใกล้ๆและเล่นรอบๆต้นไม้นี้ทุกๆวัน
เขาปีนขึ้นไปบนยอดของต้นไม้ และก็กินผลแอปเปิ้ล

และก็นอนหลับไปภายใต้ร่มเงาของต้นแอปเปิ้ล
เขารักต้นไม้ และต้นไม้ก็รักเขา
เวลาผ่านไป เด็กน้อยโตขึ้น และเขาไม่มาวิ่งเล่นรอบๆต้นไม้ทุกวันอีกแล้ว
วันหนึ่ง เด็กน้อย กลับมาหาต้นไม้ เด็กน้อยดูเศร้า
' มาหาฉัน และมาเล่นกับฉันเหรอ ' ต้นไม้ถาม
' ฉันไม่ใช่เด็กเล็กๆแล้วนะ ฉันไม่อยากเล่นรอบๆต้นไม้อีกแล้ว
ฉันต้องการของเล่น ฉันอยากได้เงินไปซื้อของเล่น ' เด็กน้อยตอบ
' ฉันไม่มีเงินจะให้ .... เก็บลูกแอปเปิ้ลของฉันไปขายสิ
เพื่อเอาเงินไปซื้อของเล่น ' ต้นไม้ตอบ

เด็กน้อยตื่นเต้นมาก เขาเก็บลูกแอปเปิ้ลไปหมด และจากไปอย่างมีความสุข
หลังจากเขาเก็บแอปเปิลไปหมดแล้ว เขาไม่กลับมาหาต้นไม้อีกเลย
ต้นไม้ดูเศร้า ....
วันหนึ่ง เด็กน้อยกลับมา เขาดูโตขึ้น
ต้นไม้รู้สึกตื่นเต้นมาก
' มาหาฉัน และมาเล่นกับฉันเหรอ ' ต้นไม้ถาม
' ฉันไม่มีเวลามาเล่นหรอก ฉันมีครอบครัวแล้ว
ฉันต้องทำงานเพื่อครอบครัวของฉันเอง
เราต้องการบ้าน ช่วยฉันได้ไหม '

' ฉันไม่มีบ้านจะให้ แต่ ... ตัดกิ่งก้านของฉันไปสิ .... เอาไปสร้างบ้าน '
ดังนั้นเด็กน้อยตัดกิ่งก้านทั้งหมดของต้นไม้ไป และจากไปอย่างมีความสุข
อีกครั้งที่ต้นไม้ถูกทิ้งให้เดียวดาย และเศร้า ....
วันหนึ่งในฤดูร้อน เด็กน้อยกลับมา ต้นไม้ดีใจมาก
' มาหาฉัน และมาเล่นกับฉันเหรอ ' ต้นไม้ถาม
' เปล่า ฉันรู้สึกผิดหวังกับชีวิต และเริ่มแก่ขึ้น
ฉันอยากแล่นเรือไปพักผ่อนไกลๆ ให้เรือฉันได้ไหม '
' ใช้ลำต้นของฉันได้ เอาไปสร้างเรือ เพื่อเธอจะได้เล่นเรือไปและมีความสุข '
ต้นไม้ตอบ

ดังนั้น เด็กน้อยตัดลำต้นของต้นไม้ไปสร้างเรือ
เขาล่องเรือไป และไม่เคยกลับมาอีกเลย
หลายปีผ่านไป ในที่สุดเด็กน้อยกลับมา
คราวนี้เขาดูแก่ลงไปมาก

' ฉันเสียใจ ฉันไม่เหลืออะไรจะให้อีกแล้ว
ไม่มีผลแอปเปิ้ลให้ ... ฉันไม่มีลำต้นให้ปีนอีกแล้ว '

' ฉันไม่มีฟันจะกินแล้ว
ฉันปีนไม่ไหว และฉันก็แก่แล้ว ' เด็กน้อยตอบ

' ฉันไม่มีอะไรเหลือให้อีกแล้ว สิ่งเดียวที่เหลือ มีเพียงรากที่กำลังจะตาย '
' ตอนนี้ฉันไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แค่อยากได้ที่พักพิง ฉันเหนื่อยมาหลายปีแล้ว '
' รากของต้นไม้แก่ๆ จะเป็นที่พักพิงของหนูได้
...... มาสิ นั่งลงข้างๆฉัน ... หลับให้สบาย ...'
เด็กน้อยนั่งลงข้างๆ ต้นไม้ดีใจ ยิ้ม ... และน้ำตาไหล ........

นี่เป็นเรื่องสำหรับทุกๆคน ต้นไม้ในเรื่องคือพ่อแม่
เมื่อเราเป็นเด็กตัวเล็กๆ เรารักที่จะเล่นกับพ่อกับแม่ ...
เมื่อเราโตขึ้น เราทอดทิ้งพ่อ และแม่ และกลับมาหาท่าน
เมื่อเราต้องการบางสิ่งบางอย่าง หรือเมื่อเรามีปัญหา
ไม่ว่าอย่างไร ... พ่อ และแม่ของเราก็จะอยู่และให้ทุกสิ่งอย่างที่ท่านทำได้
หวังเพียงเรามีความสุข

คุณอาจจะคิดว่า ' เด็กน้อย ' ในเรื่องโหดร้าย
แต่นั่นคือความจริงที่สะท้อนให้เห็นว่าพวกเราทำกับผู้มีพระคุณอย่างไร ?
........ แล้วต้นไม้ของคุณล่ะ ....... เด็กน้อย .....???