จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 28 มกราคม 2554, 15:33
หัวเรื่อง: การปฎิรูปการศึกษาไทย จากคุณเวคิน
ถึง:
เรียนสื่อมวลชนทุกท่าน
Date: 2011/1/18
Subject: การปฎิรูปการศึกษาไทย
To: khonthaika1@gmail.com
สวัสดีครับคุณหมอกมลพรรณ
ผมเวคิน อริยะสุนทร เคยได้พบและคุยกับคุณหมอหลายครั้งแล้วครับ
พอดีเมื่อวานผมได้รับอีเมล์เกี่ยวกับการคัดค้านแอดมิดชั่นกลางครับ
ผมมีข้อเสนอแนะ และขอให้ความรู้จากประสพการณ์ของผมโดยตรงครับ
ผมต้องแนะนำตัวเองก่อนว่าผมได้จบการศึกษามาจากที่ไหนบ้างครับ
ประถมศึกษา - โรงเรียนคริสในประเทศไทย เรียนถึงป.4
ประถมศึกษาปีที่ 4 - มัถยมปลาย - โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย 2 แห่ง และมีช่วงนึงได้ไปศึกษาที่อเมริกาเป้นเวลา 2 ปี
ปริญญาตรี วิศวะ- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
ปริญญาโท วิทยาศาสตร์ - มหาวิทยาลัยอันดับ2 ของประเทศสวีเดน ด้านอวกาศวิทยาศาสตร์
ปริญญาโท การจัดการ - มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรนานาชาติ
ต้องขออภัยที่ต้องรบกวนคุณหมอให้ช่วยอ่าน เพื่อจะได้ปฎิรูปการศึกษาไทยของเราได้
อาจจะยาวไปนิด แต่เป็นข้อคิดที่กระทรวงการศึกษาของไทยควรจะต้องปรับปรุง
ผมได้มีโอกาศศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศไทย ได้มีการสอบเอนทรานซ์ในสมัยนั้น
ผมได้มีโอกาศศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศ อเมริกา
และยังได้มีมีโอกาศศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศยุโรป
ผมมีเพื่อนต่างชาติมากในขณะที่เรียนอยู่ และผมคิดว่าระบบการศึกษาของอเมริกาหรือจะยุโรปก้ดี จะแตกต่างจากของไทยอบ่างสิ้นเชิง
ซึ่งข้อแตกต่างนี้ ทำให้นักเรียน ครู และผู้สำเร็จการศึกษามานั้น มีคุณภาพและมีศักยภาพที่แท้จริง
ข้อแตกต่างที่ว่านั้นมันต้องเริ่มจากช่วงมัธยม การศึกษาในไทยนั้น จะบังคับให้เรียนแบ่งเป็น 2 สาย สายวิทย์และสายศิลป์
ซึ่งถ้าถามกันตรงๆ เด็กม.2 .ม.3 จะสามารถกำหนดได้อย่างไรว่าตัวเองต้องการเป็นอะไรในชีวิต ต้องการศึกษาอะไรในชีวิต
เด็กบางคนยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าตัวเองจะเรียนอะไร อยากทำงานอะไร แต่โดนบังคับให้เรียนสายวิทย์และสายศิลป์
ซึ่งคนเก่งก้อจะได้อยุ่สายวิทย์ คนไม่เก่งก้อยุ่สายศิลป์ มีเพียงไม่กี่คนที่เรียนเก่งและสามารถเลือกเองได้ แต่แล้วอย่างไร ถ้าเลือกไปแล้วไม่ชอบ
การเปลี่ยนสายการเรียนในกาศึกษาเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน บางโรงเรียนไม่ยอมให้เปลี่ยน
เด็กก้อจะไม่ได้เรียนในสิ่งที่ชอบ
การศึกษาในอเมริกาและในยุโรปบางประเทศ
แบ่งให้มีการศึกษาเป้น 3 ช่วง Elementary , Middle , and Highschool
ที่สำคัญที่สุดคือ มัธยมปลาย ซึ่งเรียน 4 ปี
แต่ในการเรียน 4 ปีนี้ ไม่มีการแบ่งว่าเป็นสายศิลป์หรือสายวิทย์
จะมีวิชาหลักให้นักเรียนต้องลงเรียน และมีจำนวนเครดิตที่ต้องเก็บให้ครบถึงจะเรียนจบได้ เหมือนในมหาวิทยาลัย
วิชาหลักที่ต้องเรียนมีดังนี้ ขอเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
Algebra, Geometry, Trigonometry, English1-4, Religions 1-4 or Moral and Ethics1-4, Biology, Chemistry, Secondary Language 1-2, Physical Education 1-4, World History, American History (their native history), Computer
นอกนั้นเป็นวิชาเลือก เช่นถ้าอยากลองเรียนบัญชี ก้ลงวิชาบัญชี
ถ้าชอบเลขก้เรียนเลขเพิ่ม Calculus, Advance Calculus
ถ้าชอบภาษาก้เรียนภาษาเพิ่มเช่น ปกติต้องเลือกภาษาที่นอกจากอังกฤษอยู่แล้ว ก้เลือก Japanese 1-2, แล้วต่อด้วย 3-4 หรือเรียนแล้วไม่ชอบก็เปลี่ยน เป็นฝรั่งเศส จีน ลาติน อื่นๆ
ถ้าชอบเคมีก็เรียน Advanced Chemistry, Advanced Biology ชอบเรียนผ่าตัดก็เรียนวิชาที่เกี่ยวกับการผ่าตัดเพิ่ม
สรุปว่า นักเรียนสามารถเลือกชีวิตการเรียนรู้เองได้ อยากเรียนอะไรก็เลือกได้ ไม่ต้องมาแข่งขันกันตั้งแต่ม.3ว่าจะเข้าสายไหน
นักเรียนสามารถรุ้ได้ว่า ตัวเองอยากเรียนอะไร อยากจะเรียนด้านไหน ชอบอะไร ถนัดอะไร
แถมยังไม่ต้องมีการเรียนพิเศษกวดวิชาอะไรทั้งสิ้น ผมเป็นคนนึงที่เคยสมัครเรียนเพราะตามเพื่อน แต่ไปเรียนครั้งเดียวเลิก
ไม่ได้ความรู้เพิ่มเลย มีแต่การท่องจำ หาสูตรลัด ซึ่งไร้สาระมากต่อการเรียนรู้
แล้วกระทรวงการศึกษาจะมีการสอบวัดระดับความรู้นักเรียนในโรงเรียนทุกปี
ซึ่งเป็นข้อสอบส่วนกลางจากรัฐบาล นักเรียนทุกคนต้องสอบ สอบทุกวิชา
1. เพื่อวัดมาตรฐานการสอนในโรงเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนรู้ตัวเองว่า ความรู้ความสามารถในแต่ละด้านของตัวเองนั้นอยู่ในระดับไหน
ซึ่งการสอบตัวนี้ไม่มีผลต่อการคะแนนการเรียนหรือการสอบเข้ามหาวิทยาลัยใดๆ ทั้งสิ้น
การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ตามที่กล่าวมาข้างต้นให้ทราบแล้วนั้น นักเรียนจะสามารทรู้และเลือกเรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบได้
แต่สำหรับในเมืองไทยแล้ว ต่อให้เรียนมหาลัยเอกชลที่เลือกคณะได้ ตัวเองก้ยังไม่รุ้ว่าจะเรียนอะไรเลย
การสอบที่อเมริกามีข้อสอบกลางเรียกว่า SAT สมัยที่ผมเรียนเป็นข้อสอบกระดาษ แบ่งเป็น 2 ส่วน อังกฤษและเลข
คะแนนเต็มส่วนละ800 รวมเป็น 1600 ซึ่งจริง ๆแล้วเป็นเลขพื้นฐาน และเป้นอังกฤษพื้นฐานที่จะเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย
มีฟังอ่านเขียน
การสอบมีทุกเดือน สามารถสอบกี่ครั้งก้ได้ สามารถลองสอบได้ตั้งแต่เกรด10 หรือ ม.4.
จะสอบทุกเดือนจนเรียนจบก้ได้ เค้าไม่ส่งข้อมูลนี้ไปให้มหาวิทยาลัย นอกจากเราจะบอกให้ทางSAT ส่งคะแนนไป
คะแนนจะเก็บไว้ 2 ปี
แล้วทุกมหาวิทยาลัยเปิดรับโดยตรง ไม่มีสอบตรง แค่รับสมัครตรง
การสมัครเพียงแต่ใช้คะแนน SAT, GPA, และใบแนะนำจากครูที่สอนมาอย่างน้อย 2 ท่าน
ถ้าหากคิดว่าภาควิชาของมหาวิทยาลัยนั้นๆมีการแข่งขันสูง เราสามารถเลือกสอบข้อสอบพิเศษตามแต่รายวิชาได้ เรียกว่า SAT2
เช่นต้องการเรียนวิศวะที่ California University of Technology นักเรียนก้ข้อสอบวิชาที่คิดว่ามหาลัยนะจะพิจารานาเรามากขึ้น เช่นสอบวิชา Calculus, Physics, หรือวิชาอื่นๆ ที่ทำให้รู้ว่าเรามีความสามารถจริง
การไม่มีแอดมิชชั่นกลางนั้นดีมาก แต่มหาวิทยาลัยต้องเปิดเสรีแบบต่างประเทศ
การศึกษาต้องบูรณการเริ่มจากรากฐานไม่ใช่แค่อุดมศึกษา เพราะมันคือปลายเหตุแล้ว
แก้ปลายเหตุอย่างเดียว อีกไม่นานเกินรอ ประเทศไทยจะมีแต่คนจบปริญญาโทแต่ไม่มีความรู้ความสามารถในการแข่งขัน
เพราะว่าท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง
คุณหมอลองอ่านแล้วพิจารณาด้วยนะครับ ผมว่าถ้าเราผลักดันระบบนี้ได้ การศึกษาไทยจะก้าวหน้าวกว่านี้เยอะ
หนังสือที่ต่างประเทศเค้าใช้เรียนที่เรียนว่า TEXT BOOK พิมด้วยกระดาษอาร์ตมันปกแข็ง
เค้าเรียนกันได้เป็น 5-10 ปีกว่าจะเปลี่ยนหรือแก้ไข แล้วก้มีหลายสำนักให้แต่ละโรงเรียนเลือกซื้อ
แต่เนื้อหาจะใกล้เคียงกัน แตกต่างกันที่ราคาและ สีสันหน้าปก
ตั้งแต่ชั้นป.1-ม.6 ต่างประเทศใช้ Text book ที่ใช้ต่อจากรุ่นพี่ ไม่ต้องเสียตังค่าหนังสือ แถมใช้ได้นานหลายรุ่น
โรงเรียนไทยก้มีเหมือนกัน หนังสือสู่รุ่นน้อง แต่พิมด้วยกระดาษเปื่อยๆ สีน้ำตาล
ใช้ได้ปีเดียวแล้วก้ต้องทิ้ง สั่งซื้อใหม่
ต้องขอโทษด้วยครับที่การใช้ภาษาไทยของผมอาจจะไม่สุภาพหรือไม่ถูกต้อง
ผมเรียนจบภาษาไทยแค่ป.4 เองครับ
ขอบคุณมากครับ
ด้วยความนับถือ
เวคิน อริยะสุนทร