ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"

ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ร่วมลงนาม ยกเลิกกฎหมาย 3 ฉบับ มั่นคงภายใน - กฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: 100 ปี จาก "ปฏิวัติจีน" ของ (หมอ) ดร.ซุนยัตเซ็น ถึง "กบฏ ร.ศ.130" ของหมอเหล็งในสยาม (1911-2011 หรือ 2454- 2554)


 

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: 100 ปี จาก "ปฏิวัติจีน" ของ (หมอ) ดร.ซุนยัตเซ็น ถึง "กบฏ ร.ศ.130" ของหมอเหล็งในสยาม (1911-2011 หรือ 2454- 2554)

(หนึ่ง) เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าว "รำลึก 100 ปีปฏิวัติซินไห่ ปธน.จีน เรียกร้องรวมชาติจีน-ไต้หวัน" (http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37313

ดังรายละเอียดนี้ "ประธานาธิบดีจีน กล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสครบรอบ 100 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองจีน เป็นระบอบสาธารณรัฐ ชี้สองชาติจีน-ไต้หวัน ต้องยุติการเป็นปรปักษ์ เยียวยาความเจ็บปวดในอดีต และร่วมมือกัน พร้อมยกคำพูด "ซุนยัดเซ็น" การรวมชาติเป็นความหวังของชาวจีนทุกคน
 
พิธีรำลึกครบรอบ 100 ปีการปฏิวัติซินไห่ ที่ศาลามหาประชาชน กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ 9 ต.ค. 54 (ที่มา: สำนักข่าวซินหัว)
 
พิธีรำลึกครอบรอบ 100 ปี การปฏิวัติซินไห่ (ที่มา: cctvdrama22/youtube.com)
 
ข่าวพิธีรำลึกครบรอบ 100 ปีการปฏิวัติซินไห่ ทางสถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีน (ที่มา: TheChineseNews/Youtube)
 
ปักกิ่ง - สำนักข่าวซินหัว รายงานวันนี้ (9 ต.ค.) ว่า ที่ศาลามหาประชาชน กรุงปักกิ่ง ประธานาธิบดีหูจิ่นเทา แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันครบรอบ 100 ปี การปฏิวัติซินไห่ ปี 1911 (พ.ศ. 2454) โดยนายหูจิ่นเทา กล่าวว่า ความพยายามที่จะทำให้ความเห็นพื้นฐานร่วมทางการเมืองในการคัดค้าน "เอกราชของไต้หวัน" มีความจำเป็น และจะต้องชูฉันทามติ "1992"
 
"เรา ควรยุติการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างสองฟากฝั่ง เยียวยาความเจ็บปวดในอดีต และทำงานร่วมกันเพื่อการฟื้นฟูพลังอันยิ่งใหญ่ของชาติจีน" นายหูจิ่นเทากล่าว
 
นโยบายฟื้นฟูจีน (Rejuvenating China ) เป็นนโยบายสำคัญของ ดร.ซุนยัดเซ็น และผู้ร่วมการปฏิวัติในปี 1911 นี้
.........
 
ทั้งนี้ การปฏิวัติในปี 1911 เริ่มต้นในวันที่ 10 ตุลาคมปี 1911 เป็นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ และสิ้นสุดโดยทำให้การปกครองระบบจักรพรรดิกว่า2,000 ปีของจีนและราชวงศ์ชิง (1644-1911) ต้องยุติลง และทำให้จีนกลายเป็นรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งแรกของทวีปเอเชีย
  
ปาฐกถาในวันอาทิตย์ของนายหูจิ่นเทา เขาได้ยกคำพูดของ ดร.ซุนยัดเซ็นที่ว่า "การรวมชาติเป็นความหวังของชาวจีนทุกคน ถ้าการรวมชาติประสบผลสำเร็จ ประชาชนจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ถ้าไม่ ประชาชนก็จะได้รับผลกระทบ"
 
นายหูจิ่นเทา กล่าวด้วยว่า "การรวมชาติโดยสันติวิธี คือ วิธีรับใช้ผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนชาวจีนทุกคน รวมทั้งเพื่อนร่วมชาติที่ไต้หวัน" นายหูจิ่นเทากล่าว...."
 
สอง) เมื่อไม่นานนี้ ดาราฮ่องกงดังคับโลก "เฉินหลง" (Jackie Chan) สร้างหนังยิ่งใหญ่ เรื่อง 
"1911 Revolution" เนื่องในโอกาส 100 ปี ปฏิวัติ "เก็กเหม็ง" ของจีน ลงทุนหลายร้อยล้าน เฉินหลงเล่นเป็นคนสนิทของ ดร.ซุนยัตเซ็น และก็เป็น รมต. กระทรวงทหารบก หนังเรื่องนี้ฉายทั่วโลก เปิดตัวเมื่อต้นเดือนตุลา 
 
ในหนังยิงกันทั้งเรื่อง ดูแล้วเหนื่อย แต่มันสสสส... กับประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ที่จบลงด้วย ฮองไทเฮา (พระพันปีหลวง องค์ที่เป็นต่อจากซูสีไทเฮา) ประกาศสละราชสมบัติ ในนาม Little Emperor: Puyi ดร.ซุนยัตเซ็น กลายเป็นประธาธิบดีคนแรก ก่อนที่จะถูก ยวนซีไข ทรยศ แล้วเมืองจีนก็ออกจาก "ยุคศักดินา" เข้า "ยุคขุนศึก" และ "สงครามกลางเมือง" ยาว ก่อนชัยชนะของเหมาเจ๋อตุง และการสร้างชาติใหม่  (http://www.mediaasia.com/1911/english/e_home.html)
 
สาม) ประวัติศาสตร์ปฏิวัติจีน 1911 (2454) มีปฏิสัมพันธ์กับ "ปฏิวัติสยาม" หรือ "กบฏ ร.ศ.130" (ค.ศ. 1912 พ.ศ.2454/55) อย่างน่าพิศวง เพียง  4  เดือน จากวันที่ 10 เดือนตุลา (ของปฏิวัติจีน) ถึงวันที่ 27 เดือนกุมภา (ของเหตุการณ์ในสยามประเทศไทย ซึ่งยังนับการขึ้นปีใหม่แบบเก่า คือ 1 เมษา ไม่ใช่ 1 มกรา) ก็มีการรวมตัวของบรรดาทหารหนุ่มรุ่นแรกเพื่อทำการปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใน "สยาม" และก็ตรงกับสมัยต้นรัชกาลที่ 6 (ครองราชย์มาได้เพียง 15 เดือน หลังจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 5 เมื่อ 23 ตุลา 2453/1910) 
 
"ผู้ก่อการ" ของ "ร.ศ. 130"  คือนายทหารหนุ่มจำนวนถึง 91 คน ถูกจับเสียก่อนลงมือปฏิบัติการณ์ 
-3 คน ถูกตัดสิน ประหารชีวิต (ลดโทษเป็นจำคุก) 
-20 คน จำคุกตลอดชีวิต 
-32 คน จำคุก 20  ปี
-6 คน จำคุก 15 ปี
-30 คน จำคุก 12 ปี  
 
หัวหน้า "กบฏ ร.ศ. 130" คือ นพ.ร.อ. เหล็ง ศรีจันทร์ (หรือหมอเหล็ง) กับ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ นายทหารหนุ่มมากๆ รุ่นนั้นส่วนใหญ่อายุ 20 ปี ต้นๆ การก่อการในสยามประเทศครั้งนั้น บ้างก็เรียก "กบฏหมอเหล็ง" (เพราะหัวหน้า เป็นหมอทหาร ชื่อเหล็ง) บ้างก็เรียก "กบฏเก็กเหม็ง" (เป็นคำยืมจากสำเนียงจีนแต้จิ๋ว) รายละเอียดดู http://politicalbase.in.th/index.php/กบฎ ร.ศ.130
 
ความพยายาม "ปฏิวัติประชาธิปไตย" ของสยาม จะมาสำเร็จใน "ระดับหนึ่ง" ก็อีก 20 ปีต่อมา คือ เมื่อ 24 มิถุนา 2475 (1932) โดย "คณะราษฎร"(อ่านว่า คะ-นะ-ราด-สะ-ดอน) แต่เส้นทางเดินของ "ประชาธิปไตยไทยสยาม" ก็ลดเลี้ยวเคี้ยวคด ถ้านับแต่ครั้งแรก คือ จาก ร.ศ.130 (พ.ศ.2454/55) ก็เกือบ 100 ปี มาแล้ว ต้องต่อสู้กันอีกหลายครั้งหลายคราว ไม่ว่าจะเป็น ตุลา/ตุลา (2516-2519 หรือ 1973-1976) หรือ พฤษภา/พฤษภา (2535-2553 หรือ 1992-2010) 
 
สี่) "อดีต ปัจจุบัน และอนาคต" ดูเหมือนจะอยู่ใน "กาลานุกรม" (time line) เดียวกัน
เมื่อถึงปีเดือนกุมภาหน้า ค.ศ.2012 หรือ พ.ศ.2555 ก็จะครบรอบ "กบฏ ร.ศ. 130" น่าที่เราจะต้องจัดการศึกษาวิจัย ประเมินเหตุและผลทางประวัติศาสตร์/การเมือง ของสยามประเทศไทยกันเสียทีว่า เรามาจากไหนกัน และ "เราจะไป (กัน) ทางไหน" ครับ Thailand-Siam: Quo Va Dis



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น